วิเคราะห์ "ส่วนสูง" ปัจจัยทางพันธุกรรมมีผลต่อการสร้างนักกรีฑา

กีฬา
28 เม.ย. 56
14:27
1,305
Logo Thai PBS
วิเคราะห์ "ส่วนสูง" ปัจจัยทางพันธุกรรมมีผลต่อการสร้างนักกรีฑา

ปัญหาที่สำคัญในการสร้างนักกรีฑาระยะสั้นของไทยคือส่วนสูง ซึ่งมีปัจจัยทางกรรมพันธุ์เป็นสิ่งสำคัญเปลี่ยนแปลงได้ยาก ขณะที่ไทยเหมาะสำหรับการสร้างนักวิ่งระยะกลางและระยะไกลเพราะมีข้อเสียเปรียบน้อยที่สุด

ก่อนหน้านี้เมื่อ 20 ปีที่แล้วนักวิ่งระยะสั้นมักจะมีร่างกายที่ไม่ใหญ่โตมากนัก แต่ปัจจุบันการแข่งขันในระยะนี้มักจะเห็นแต่นักวิ่งที่ตัวสูงใหญ่ กล้ามเนื้อแข็งแรงอย่าง ยูเซน โบลท์ และ อาซาฟา พาวว์ ซึ่งลักษณะทางพันธุกรรมของชาวแอฟริกันหรือยุโรปมีความสูงใหญ่เป็นทุนเดิมอยู่แล้วเมื่อได้รับอาหารที่ดี บวกกับวิทยาศาสตร์ด้านกีฬาทำให้นักกีฬาเหล่านี้สูงมากขึ้นได้ แต่ด้วยลักษณะทางพันธุกรรมของคนไทยไม่สามารถสร้างนักกรีฑาระยะสั้นให้มีความสูงถึง 180 ซึ่งเป็นส่วนสูงที่เหมาะสมกับนักวิ่งระยะนี้ได้

เห็นได้ชัดว่าพันธุกรรมมีผลต่อนักกรีฑาอย่างมากโอลิมปิก 2012 ที่ลอนดอนกรีฑามีชิงชัยทั้งหมด 47 เหรียญทอง นักกีฬาที่คว้าเหรียญทองจากระยะสั้นประกอบไปด้วยนักวิ่งจากจาไมก้า 4 เหรียญทอง ,สหรัฐอเมริกา 4 เหรียญทอง, นอกจากนั้นคือโดมินิกัน,เกรเนด้า,ออสเตรเลียและรัสเซีย คว้าไปประเทศละ 1 เหรียญทอง ที่น่าสนใจคือ นักกีฬาทั้งหมดล้วนมีเชื้อสายคนผิวสียกเว้นเพียงแค่ออสเตรเลียและรัสเซียเท่านั้นที่ไม่ใช่นักวิ่งผิวสี

ขณะที่ระยะไกลจำนวน 11 เหรียญทอง เอธิโอเปียกวาดไป 3 เหรียญทอง รัสเซีย 3 เหรียญทอง,อังกฤษ 2 เหรียญทอง, นอกนั้นเคนย่า,จีน และอูกันด้า คว้าไปประเทศละ 1 เหรียญทองซึ่งก็มีนักกรีฑาเพียง 2 ชาติที่ไม่ใช่ผิวสีคือจีนกับรัสเซีย

กระบวนการเฟ้นหานักกรีฑาของไทยไม่สามารถพบนักกีฬาได้ขณะที่อายุยังน้อยส่วนใหญ่มักจะพบเมื่ออายุเลยช่วงของการพัฒนาไปแล้ว หากจะสร้างนักกรีฑาระยะสั้นโอกาสที่ดีที่สุดคือการค้นพบนักกีฬาเมื่ออายุไม่เกิน 15 ปีซึ่งเป็นไปได้ยาก ลักษณะทางพันธุกรรมของคนไทยจึงเหมาะกับการวิ่งในระยะกลาง และ ไกล โดยระยะไกลไทยเสียเปรียบคู่ต่อสู้น้อยกว่าระยะอื่น ขณะที่ระยะกลางนักกีฬาส่วนใหญ่กลับไม่สนใจเพราะไม่โดดเด่น เราจึงไม่เคยมีนักกรีฑาระยะกลางที่โดดเด่น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง