ความคืบหน้าการขยายผลลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมในพื้นที่บ้านดีลัง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ซึ่งเดิมพบจุดแรกที่หมู่ 4 ในพื้นที่ 4 ไร่มีนายสุเทพ ขวัญตา เป็นเจ้าของที่ดินและอยู่ระหว่างให้เข้ามารับทราบข้อกล่าวหา
วันนี้ (21 ก.ย.2564) นายนรภัทร สุดประเสริฐ ผอ.สำนักงานสิ่งแวคล้อมภาคที่ 7 (สระบุรี) กล่าวว่า จากการขยายผลการสอบสวนโดยหน่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่ 7 พร้อมด้วยทสจ.ลพบุรี สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรี เทศบาลตำบลเขาพระยาเดินธง กำนันตำบลพัฒนานิคม และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 เข้าร่วมตรวจสอบ
ผลการตรวจสอบพบว่า นายสุเทพ ขวัญตา ได้นำกากอุตสาหกรรมจากบ่อดิน โฉนดเลขที่ 29907 ต.ดีลัง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ นำเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ไปตรวจสอบเมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา
โดยการเข้าตรวจสอบครั้งนี้ ทำให้พบว่ามีการนำถังใส่กากของเสียมากองเก็บไว้ในบริเวณบ้านเลขที่ 207/1 ต.พัฒนานิคม และมีการล้างถังบรรจุ กากอุตสาหกรรมทำให้กากตะกอนไหลลงลำรางสาธารณะ

ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ
ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ
ชี้น้ำไหลลงแหล่งน้ำสาธารณะ-แจ้งความเพิ่ม
โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรี ได้ทำการเก็บตัวอย่างกากอุตสาหกรรมไปตรวจสอบ และหน่วยพิทักษ์สิ่งเวดล้อมที่ ได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำประปาบาดาล น้ำในลำรางสาธารณะและน้ำในห้วยปู ไปตรวจสอบการปนเปื้อนของกากอุดสาหกรรมในสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้เทศบาลตำบลเขาพระยาเดินธง ได้อายัดกากอุตสาหกรรมและรถแบคโฮตามพ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 และแจ้งให้นายสุเทพ ขวัญตา ทำการปีดลำรางสาธารณะในส่วนของดันน้ำ และปลายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำฝนไหลชะล้างกากอุตสาหกรรมลงหัวยปู
ทั้งนี้หลังการตรวจสอบสำนักงานอุดสาหกรรมจังหวัดลพบุรี ได้ลงบันทึกประจำวันกับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจกูธรพัฒนานิคมแล้ว
อ่านข่าวเพิ่ม แจ้งความ 5 กม.เอาผิดลอบทิ้งกากของเสียบ้านดีลัง จ.ลพบุรี

ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ
ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ
สำหรับกากของเสียอันตรายที่พบในพื้นที่บ้านดีลัง จ.ลพบุรี เมื่อวานนี้ (20 ก.ย.) นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า จากการตรวจสอบพื้นที่พบถังบรรจุกากของเสียและร่องรอยการเปิดฝาถังและบีบอัดเพื่อนำไปจำหน่าย โดยเป็นถังเหล็กขนาด 200 ลิตร 360 ถัง และถังพลาสติกขนาด 200 ลิตร 40 ถัง รวมปริมาตรของเสียประมาณ 80,000 ลิตร
นอกจากนี้ยังพบฉลากแสดงข้อมูลบ่งชี้ชนิดของสารเคมีต่างๆ เช่น โทลูอีน ,เมทิลเอทิลคีโตน,บิวทิล อะซิเตท และสี ซึ่งบ่งชี้เป็นอันตรายมีพิษกัดกร่อน และไวไฟ ซึ่งสอดคล้องกับจากการสุ่มเก็บตัวอย่างกากของเสีย 7 ตัวอย่าง พบว่า มีค่า pH ระหว่าง 7-13 ค่าไอระเหยสารอินทรีย์ระเหยง่าย ระหว่าง 0-838 ppm ทั้งนี้ สันนิษฐานได้ว่าของเสียดังกล่าวเป็นของเสียจากการประกอบกิจการโรงงาน อาทิ ตัวทำละลาย สี กาว และต้องเร่งฟื้นฟูพื้นที่เพื่อป้องกันการปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำใต้ดิน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
พบ "ขยะพิษลพบุรี" เป็นกลุ่มสารก่อมะเร็ง-ห่วงปนเปื้อนใต้ดิน
แกะรอยเอกชนลอบทิ้งถังสารเคมีอันตราย 300 ถัง
ห้ามย้าย! ถังเคมีลอบทิ้งบ้านดีลัง เกษตรกรห่วงผักเปื้อนสารพิษ