ครั้งแรก! "วาฬบรูด้าแม่จ๊ะเอ๋" โชว์งานวิทยาศาสตร์ 9-19 พ.ย.

Logo Thai PBS
ครั้งแรก! "วาฬบรูด้าแม่จ๊ะเอ๋" โชว์งานวิทยาศาสตร์ 9-19 พ.ย.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
โชว์ “วาฬบรูด้าแม่จะ๊เอ๋” ผ่านโครงการดูกสมบูรณ์ที่สุดในไทย ความยาว 11 เมตร หลังวิจัยเพื่อต่อจิ๊กซอว์แล้วเสร็จ เพื่อให้คนรู้จักสัตว์สงวนตัวล่าสุดของไทย พร้อมโชว์ครั้งแรกในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งขาติ 2564 ที่เมืองทองธานีวันที่ 9-19 พ.ย.นี้

วันนี้ (8 พ.ย.2564) นายชลวิทย์ ทองเจริญชัยกิจ นักวิชาการ 6 สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า ในมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทค โนโลยีแห่งขาติ 2564 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-19 พ.ย.นี้ อพวช.เน้นนิทรรศการโคร่งร่างสร้างเรื่องหรือ SKeleton โดยต้องการให้เด็กๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงกระดูกของจริงที่นำมาจัดแสดง

ความโดดเด่น คืองานวิจัยซากวาฬบรูด้าแม่จ๊ะเอ๋ ที่ตายเมื่อปี 2563 โดยทีมวิจัยต้องใช้เวลากว่า 1 ปีในการทำวิจัยโครงกระดูก 11 เมตร เพื่อศึกษาถึงร่องรอยโรค และทำชิ้่นส่วนกระดูกกว่า 120 ชิ้นมาประกอบเป็นโครงที่สมบูรณ์ที่สุดในไทย

เรียนจากกระดูกวาฬไร้ชีวิต-สู่วาฬในทะเลที่มีเพียง 60 ตัว

นายชลวิทย์ กล่าวว่า สิ่งที่ต้องการสื่อสารเรียนรู้ผ่านโครงการดูกวาฬบรูด้าแม่จ๊ะเอ๋ เพราะต้องการให้เด็กๆ และคนทั่วไปทำความรู้จักวาฬบรูด้าทะเลไทยที่มีเพียง 60 กว่าตัว และเพิ่งขึ้นบญชีสัตว์สงวนตัวล่าสุดใน พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เพราะหากบ้านของวาฬบรูด้า ถูกทำลายก็จะทำร้ายสัตว์ทะเลทางอ้อม

การเข้ามาชมนิทรรศการไม่ใช่แค่จะเห็นแต่โครงวาฬบรูด้า แต่ยังมีการเรื่องเล่าของแม่จะเอ๋ในตอนที่มีชีวิตโดยใช้มือถือสแกน QR Code เป็นตัวละคร AR วาฬบรูด้าในอิริยาบถต่างๆ เนื่องจากวาฬแต่ละตัวที่มีการตั้งชื่อจะมีอัตลักษณ์ เช่น แม่จะเอ๋ จะชอบขึ้นมางับปลา และมีรอยแหว่งในตำแหน่งครีบวาฬ 

โครงร่างอาจารย์ใหญ่-ตัวแทนชีวิตมนุษย์

นอกจากนี้วาฬบรูด้าแล้ว ยังมีโครงร่างอาจารย์ใหญ่จากโรงพยาบาลศิริราช 2 โครงร่าง จะบ่งชี้ว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง อายุ รวมทั้งจะเป็นตัวแทนบ่งชี้สุขภาพตอนที่เสียชีวิต เพราะจะเห็นรอยโรคบางโรคที่ปรากฏในกระดูกได้ เช่น ข้อเข่าเสื่อม ออฟฟิศซินโดรม

นอกจากนี้ยังมีนส่วนกระดูกสัตว์ที่โดดเด่น เช่น กระดูกคอยีราฟที่ยาวที่สุด และชิ้นส่วนกระดูกต้นขาไดโนเสาร์ซอโรพอดที่ใหญ่ และขุดพบที่ประเทศไทยนำมาจัดแสดง โดยมีจุดให้ผู้เข้าชมได้เทียบความสูงกับโครงกระดูกที่มีความสูง 1-2 เมตรอย่างใกล้ชิด

 

ไม่เพียงแต่ซากโครงกระดูกแต่งานครั้งนี้ ยังมีการนำเสนอกระดูกสัตว์ที่ยังมีชีวิต เช่น ปลาที่มีตัวใสจนเห็นกระดูก 2 ชนิดคือปลากั้งพระร่วงและปลาแป้นแก้ว  รวมทั้งฟันเลื่อยของปลาฉนาก ซากฉลาม เป็นต้น

 

 

สำหรับการเข้าชมนิทรรศการภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ทำให้ต้องจัดรอบเพื่อลดความแออัดเป็น 3 เวลาคือ 09.00-12.00 น. เวลา 12.00-15.00 น.และเงลา 15.30-19.00 น. ซึ่งวันธรรมดารองรับจองได้ 7,500 คน และวันเสาร์-อาทิตย์ 5,000 คน รวมทั้งจะใช้รูปแบบ Virtual Science จากทางบ้านได้ด้วย ทั้งนี้วันที่ 10 พ.ย.นี้มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะมาเปิดงาน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง