นักวิชาการวิเคราะห์ท่าที "พล.อ.ประยุทธ์" ตัดสินใจ ปมวาระ 8 ปี

การเมือง
24 ส.ค. 65
09:54
864
Logo Thai PBS
 นักวิชาการวิเคราะห์ท่าที "พล.อ.ประยุทธ์" ตัดสินใจ ปมวาระ 8 ปี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิชาการมองแนวทาง "พล.อ.ประยุทธ์" ตัดสินใจ ปมวาระ 8 ปี ระบุ หากเลือกแนวทางยุบสภาฯอาจช่วยยืดระยะการดำรงตำแหน่งนายกฯต่อไปได้ ขณะที่ฝ่ายค้านมองว่าอาจเปิดสุญญากาศทางการเมืองทำนายกฯ อยู่ยาวได้

รศ.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผอ.หลักสูตรการเมือง และยุทธศาสตร์การพัฒนา (นิด้า) ให้สัมภาษณ์ รายการมุมการเมือง (วันที่ 23 ส.ค.65) ถึงกรณีการครบวาระ 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยระบุว่า การตัดสินใจของ พล.อ.ประยุทธ์ จะมีความก้ำกึ่ง ระหว่างการยุบสภาฯ และรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

เนื่องจากการยุบสภาฯ จะมีความชัดเจนตามรัฐธรรมนูญว่า เมื่อนายกฯ ยุบสภาฯ ยังคงทำหน้าที่รักษาการจนกว่าจะมี ครม.ชุดใหม่ ซึ่งเป็นการตอบสนองในการอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้อย่างชอบธรรม และเป็นเรื่องปกติของระบบรัฐสภา ซึ่งจะสามารถปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ ประสงค์ เช่น การจัดการประชุมเอเปก ซึ่งมีความเป็นไปได้

การยุบสภาฯในขณะนี้ จะมีความยุ่งยากนิดนึงคือ อาจมีการท้วงติงจากฝ่ายค้านมากพอสมควร โดยจะมีโดยจะมีความกังวลว่า หากมีการยุบสภาช่วงนี้ จะมี 2 ปม คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และ การออกพระราชกำหนดเลือกตั้ง หากยุบสภาฯ ก่อนที่กฎหมายจะจบครบทุกกระบวนการ อาจจะทำให้เกิดภาวะสุญญากาศทางการเมืองได้

หากยุบสภาฯ ก่อนที่กฎหมายจะจบครบทุกกระบวนการ อาจจะทำให้เกิดภาวะสุญญากาศทางการเมืองได้ เพราะไม่มีกฎหมายเลือกตั้ง และการออกเป็น พ.ร.ก.กำหนด ก็ไม่ได้ ตามสายตาของฝ่ายค้าน เพราะศักดิ์จะสูงกว่า พ.ร.บ.ธรรมดา

โดย พ.ร.ก.บรรทัดฐานจะออกมาแทน พ.ร.บ. แต่ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ถือเป็นกฎหมายพิเศษ อาจจะเกิดข้อกังขาขึ้นมา ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝ่ายค้านกังวล เพราะเมื่อเลือกตั้งไม่ได้ก็จะทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ต่อไปอย่างยาวนาน ในการรักษาการ

รศ.พิชาย ยังมองว่า ถ้ามองในแง่มุมมองของ พล.อ.ประยุทธ์ ก็อาจจะดีโดยจะสามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้ ซึ่งความกังวลของฝ่ายค้านนี้อาจจะมีได้ แต่กระบวนการทางการเมืองจะหาทางออกได้ และการตีความ จำกัด พ.ร.บ.จะออกมาในลักษณะเพื่อทดแทน

พระราชบัญญัตินั้นจำกัด เฉพาะพระราชบัญญัติอย่างเดียวโดยไม่กินความถึง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญด้วย อาจจะเป็นการตีความที่คับแคบเกินไป เพราะเป็นพระราชบัญญัติเช่นกัน

ขณะที่ การรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พล.อ.ประยุทธ์ ก็แสดงท่าทีอยู่ตลอดเวลาว่า จะรอฟังคำตัดสิน โดยตนเองจะไมเข้าไปยุ่งหรือเกี่ยวข้อง ซึ่งเมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาจะเกิด 2 ปม คือ 1.หากศาลฯ รับ อย่างช้า ศาลจะพิจารณาว่าจะรับหรือไม่รับ ซึ่งคาดว่าจะรับ

และเมื่อรับแล้วจะเร่งรีบพิจารณาโดยทันทีเพื่อไม่ให้เกิดความคลุมเครือ หรือ ควรจะให้ พล.อ.ประยุทธ์ ยุติการปฏิบัติหน้าที่ก่อน ที่จะมีคำวินิจฉัยเสร็จสิ้นหรือให้ พล.อ.ประยุทธ์ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

ทั้งนี้ ทั้ง 2 แนวทาง ศาลฯ เคยดำเนินการทั้ง 2 แนวคือ กรณีของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กรณีสถานภาพ ส.ส.ก็ให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่เลย ขณะที่ กรณีนายดอน ปรมัตถ์วินัย ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยกรณีของ พล.อ.ประยุทธ์ ก็จะออกใน 2 แนวทางนี้

คาดว่าการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจะมีโอกาสสูงกว่าการยุติปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งการสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปก็จะมีการวิพากษ์วิจารณ์ โดยที่พรรคฝ่ายค้านก็เตรียมที่จะฟ้องละเมิด มาตรา 157 ต่อไป

ขณะที่เมื่อศาลฯ รับและตัดสินให้ดำรงตำแหน่งต่อไปได้ ก็จะหมดปัญหาสำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ แต่ก็อาจจะเกิดการชุมนุมต่อต้าน และการดำรงตำแหน่งต่อไปไม่ชอบธรรมโดยจะมีการวิพากษ์วิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญและ พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดวิกฤตทางการเมือง

รศ.พิชาย กล่าวต่อว่า กรณีนี้เป็นไปตามที่ กรธ.วิเคราะห์ไว้เป็นรากฐานของการกำหนดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ว่าไม่ควรให้นายกฯ ดำรงตำแหน่งเกิน 8 ปี เพราะเป็นการผูกขาดอำนาจ

โดยการดำรงตำแหน่ง 8 ปี ควรที่จะนับตามสภาพความเป็นจริงจึงจะสามารถตัดสินได้ว่าการดำรงตำแหน่งนั้นนานพอที่จะผูกขาดอำนาจได้หรือไม่ โดยนัยก็ควรจะนับตั้งแต่ปี 2557 เพราะตามความเป็นจริง

หากศาลฯตัดสินให้ พล.อ.ประยุทธ์ ยุติปฏิบัติหน้าที่จะเป็นผลเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ โดยตรง แต่กระบวนการทางรัฐสภาจะยังดำเนินการต่อไปได้ เช่น การหานายกฯใหม่ รวมถึง การตั้งนายกรักษาการ

อย่างไรก็ตาม รศ.พิชายระบุว่า การยุบสภาฯ ของไทย อย่าไปยึดติดกับต่างประเทศ กรณีการยุบสภาฯ เมื่อได้เปรียบทางการเมืองจะเป็นของต่างประเทศ แต่ของไทยนั้นการยุบสภาฯ มีเหตุผลหลากหลายมาก จนไม่สามารถกำหนดว่าอะไรเป็นแบบแผนที่ชัดเจน เช่น

กรณีนายบรรหาร ศิลปะอาชา ที่ยุบสภาฯ เพราะเกิดจากแรงกดดันของลูกน้องท่าน กรณีอภิปรายไม่ไว้วางใจ กรณีนายชวน หลีกภัย ที่ยุบสภาฯเพื่อให้ไปปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญใหม่

กรณีนายทักษิณ ชินวัตร และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการยุบสภาฯ เพราะเกิดแรงกดดันทางการเมือง โดยใช้รัฐสภาเป็นแนวทางแก้ปัญหาทางการเมือง แม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะสุดท้ายนำไปสู่การรัฐประหาร

ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี 2554 เกิดจากข้อเรียกร้องของ นปช.เรียกร้องให้ยุบสภาฯเพื่อให้เกิดการคืนอำนาจและคุณอภิสิทธิ์รับปากว่า จะยุบสภาฯ เพื่อลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนอกสภาฯ

การยุบสภาฯ ของไทย หากดูบริบทของสังคมไทย จะเกิดจากความขัดแย้งในสภาฯเป็นหลัก ถ้านายกฯถูกกดดันก็จะยุบสภาฯเพื่อหนีปัญหา กรณีนี้ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะยุบสภาฯ ประเมินว่าต้องการที่จะหนีปัญหาที่จะทำให้ตนเองต้องหลุดพ้นอำนาจฉับพลัน เพราะการยุบสภาฯจะทำให้ตนเองมีอำนาจต่อไปอีกระยะหนึ่ง

ทั้งนี้การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะยุบสภาฯนั้นไม่ได้ยุบสภาฯเพื่อหวังการเลือกตั้งครั้งต่อไป เนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ ไม่มีพรรคการเมือง แม้ว่าพรรคพลังประชารัฐจะสนับสนุนแต่ พรรคพลังประชารัฐ ก็มีหัวหน้าพรรคของตนเอง การยุบสภาฯถ้าจะเกิดขึ้นจะเกิดเพื่อแก้ไขปัญหาส่วนตัว

รศ.พิชาย กล่าวว่า หากศาลฯมีคำสั่งให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ มุมมองทางรัฐศาสตร์ มองว่า นายกฯ ขาดความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งแล้ว

เพราะฉะนั้นการรักษาการนายกฯต่อไปเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมและอาจนำไปสู่ปัญหาทางการเมือง โดยพื้นฐานนายกฯรักษาการ ตามมารยาททางการเมือง ทำได้ตามที่ กกต.กำหนดไว้ และต้องทำปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ ซึ่งหากทำเกินกว่าก็จะมีผลต่อความชอบธรรม

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

รอลุ้น! เริ่ม 10 โมง ศาลรัฐธรรมนูญชี้ชะตา "8 ปีประยุทธ์" 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง