หนักแค่ไหน? เทียบสถิติฝน 3 พายุพัดเข้าไทย "โนอึล-เตี้ยนหมู่-โนรู"

ภัยพิบัติ
26 ก.ย. 65
19:35
7,676
Logo Thai PBS
หนักแค่ไหน? เทียบสถิติฝน 3 พายุพัดเข้าไทย "โนอึล-เตี้ยนหมู่-โนรู"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิชาการ สทนช.วิเคราะห์สถิติฝนตกจาก "พายุโนรู" ที่จะเข้าไทยทางภาคอีสาน แบบจำลองชี้อาจมีฝนตกหนัก 200 มม. แต่ยังไม่เท่าฝนจากโนอึล ที่มีฝนตกสูงถึง 400 มม. ส่วนเตี้ยนหมู่ 300 มม.

ถ้าเทียบพายุโนรู กับพายุที่เคยเข้าไทยเมื่อปี 2563-2564 พบว่าปริมาณฝนน้อยกว่า แต่สิ่งที่น่ากังวลคือสถานการณ์ในลุ่มน้ำชี-ลุ่มน้ำมูล ที่อยู่ในขั้นวิกฤต

ข้อมูลจาก GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เผยแพร่ภาพดาวเทียมฮิมาวาริ 8 ของญี่ปุ่น วันที่ 26 ก.ย.นี้ 2565 พบว่าพายุโนรู ที่กำลังเคลื่อนตัวจากฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ มีทิศทางเคลื่อนที่ไปทางตะวันตกด้วยความเร็วลมประมาณ 150–170 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีแนวโน้มทวีกำลังมากขึ้น ก่อนจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามเช้าวันที่ 28 ก.ย.นี้ จากนั้นจะเคลื่อนผ่านประเทศลาว เข้าสู่ประเทศไทยวันที่ 29 ก.ย.นี้ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อ่านข่าวเพิ่ม เปิดเส้นทาง "ไต้ฝุ่นโนรู" พายุลูกแรกถึงอีสาน 29 ก.ย.นี้

ชี้ริมน้ำมูล-น้ำชีเสี่ยงได้รับผลกระทบ

นายสมควร ต้นจาน ผอ.กองตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการว่า หลังพายุโนรู สลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศกำลังแรง ภายใน 30 ก.ย.นี้ มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยริมน้ำมูล-ริมน้ำชี ในภาคอีสาน ซึ่งจะได้รับผลกระทบมากที่สุด

สภาพแวดล้อมสถานการณ์น้ำในภาคอีสาน ที่จะได้รับผลกระทบ ตั้งแต่อุบลราช ธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ชัยภูมิ นครราชสีมา ซึ่งเป็นช่วงวันที่ 29 ก.ย.นี้และวันที่ 30 ก.ย.จะเข้ามาตอนกลางของไทย 

อ่านข่าวเพิ่ม เช็กจังหวัดฝนตกหนัก "พายุโนรู" กระทบ 28 ก.ย.-1 ต.ค.นี้

นักวิชาการชี้ผลกระทบ "โนรู" ไม่ยืดเยื้อ

นายธรรมพงศ์ เนาวบุตร ผอ.กลุ่มวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์น้ำ สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ยอมรับว่า กังวลกับอิทธิพลของพายุโนรู เพราะมีลักษณะคลายกับพายุเตี้ยนหมู่ ที่เคยเข้าไทยเมื่อปี 2564 แต่เชื่อว่าสถานการณ์จะไม่ยืดเยื้อ

กังวลพายุโนรู แต่คาดหวังว่าจะผ่านไทย และผ่านทางเมียนมาได้เร็ว ถ้าสลายตัวในไทย จะไม่เหมือนกับเตี้ยนหมู่ทำให้มีระดับน้ำขึ้นเขื่อนป่าสัก 1,300 ล้านลบ.ม.และพอเกิดการสลายตัวในไทยแล้วเกิดร่องมรสุมแช่ทำให้การรับมือยาก แต่โนรู จะน้ำหลากระยะสั้นๆ แต่ต้องเร่งระบายน้ำ

เทียบสถิติฝน 3 พายุพัดเข้าไทย

ข้อสังเกต สนทช. พายุโนรู มีเส้นทางคล้ายกับพายุโนอึลและพายุเตี้ยนหมู่ที่เข้าไทยเมื่อปี 63-64 โดยมีเส้นทางเดียวกัน และส่งผลกระทบต่อภาคอีสานตอนล่าง

สังเกตปริมาณน้ำฝน พายุโนอึล มีฝน 407 มิลลิเมตร ส่วนเตี้ยนหมู่ 300 มิลลิเมตร ขณะที่พายุโนรู คาดการณ์จากแบบจำลองมีปริมาณฝน 200 มิลลิเมตร

 

แม้ว่าจะมีปริะมาณฝนน้อยกว่า แต่น่ากังวล เพราะปริมาณลำน้ำชี-ลำน้ำมูล และลำน้ำสาขาวิกฤต น้ำสูงล้นตลิ่ง เพราะน้ำในแม่น้ำโขงสูง และอาจต้องรับมือกับมวลน้ำจากลาวเพิ่มเติมด้วย 

ข้อมูลมูลจากดาวเทียม COSMO-Skymed-2 พบน้ำท่วมขังบางส่วนของพื้นที่ 4 จังหวัดแถบลุ่มน้ำชี-มูลทั้งสิ้น 54,889 ไร่ ประกอบด้วย อุบลราชธานี 38,999 ไร่ ศรีสะเกษ 10,458 ไร่ อำนาจเจริญ 3,201 ไร่ และยโสธร 2,241 ไร่ นาข้าวเสียหาย 27,283 ไร่

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตั้งวอร์รูมเฝ้าระวังไต้ฝุ่น “โนรู” รับมือผลกระทบพายุเข้าไทย

  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง