วิเคราะห์ปูมหลังเหตุ "กราดยิงหนองบัวลำภู"

อาชญากรรม
7 ต.ค. 65
06:31
11,370
Logo Thai PBS
วิเคราะห์ปูมหลังเหตุ "กราดยิงหนองบัวลำภู"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไทยพีบีเอสออนไลน์สัมภาษณ์ รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล นักอาชญาวิทยา ถอดปูมเหตุอดีตตำรวจกราดยิงหนองบัวลำภู

วันที่ 6 ต.ค2565 รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดีและประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยา มหาวิทยาลัยรังสิต ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ เกี่ยวกับเหตุการณ์กราดยิงที่ จ.หนองบัวลำภู มีผู้เสียชีวิต 37 คน ว่า ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้สูญเสีย ซึ่งไม่คิดว่าจะเกิดเหตุลักษณะนี้ขึ้นอีกในสังคมไทย หลังจากเหตุการณ์กราดยิงโคราช เมื่อปี 2563 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 31 คน

เหตุการณ์นี้คงไม่ใช่เหตุการณ์สุดท้าย ดังนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่าถึงเวลาสังคมไทยต้องถอดบทเรียน โดนเฉพาะเรื่องการครอบครองอาวุธปืน ปัญหายาเสพติด รวมทั้งเรียนรู้การรับมือ หากมีเสียงปืนต้องเรียนรู้การเอาตัวรอด วิ่ง ซ่อน สู้

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ตัวผู้ก่อเหตุ เคยเป็นอดีตตำรวจที่ถูกไล่ออกจากราชการ ทำให้เชี่ยวชาญใช้อาวุธปืน ประกอบกับมีการใช้สารเสพติด จนถูกดำเนินการทั้งทางวินัยและทางอาญา

จากข่าวที่ระบุว่าใช้ตั้งแต่มัธยม อาจทำให้มีผลต่อระบบสมองโดยตรง ส่งผลต่อความคิดและการตัดสินใจ ในส่วนนี้สามารถตรวจพิสูจน์จากเลือดของผู้ก่อเหตุได้

ประกอบกับความเครียดจากการถูกไล่ออกจากงาน อาจทำให้เกิดความคับแค้นที่เหมือนระเบิดเวลา แต่ยังต้องศึกษาและสืบสวนเชิงลึก ว่าอะไรที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดการคับแค้นถึงขั้นก่อเหตุกับผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง และในศูนย์เด็กเล็กที่ไม่เกี่ยวกับสายงาน

จากข้อมูลที่มีการรายงานจากสื่อ พบว่า ผู้ก่อเหตุมีพฤติกรรมที่เป็นสัญญาณ เช่น ยิงปืนขึ้นฟ้า ก้าวร้าว ไม่เคารพผู้บังคับบัญชา พัวพันยาเสพติด รวมทั้งมีปัญหาครอบครัว จุดนี้เป็นสัญญาณที่แสดงถึงปูมหลังได้บางส่วน

ความเครียดจากการถูกไล่ออกจากงาน เสพยาเสพติด แต่อะไรที่เป็นตัวระเบิดทำให้เขามาก่อเหตุรุนแรงเช่นนี้ ต้องวิเคราะห์หาเหตุให้ชัดเจน

การเลือกก่อเหตุในศูนย์เด็กเล็ก

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าวว่า กรณีเด็กเป็นกลุ่มเปราะบาง โอกาสต่อสู้ยาก ประกอบการใช้สารเสพติดร่วมด้วยก่อนก่อเหตุ และเป็นสถานที่ที่เขาเคยมารู้ทางหนีทีไล่ดี

ส่วนการที่ไม่เลือกก่อเหตุในสถานีตำรวจที่เคยทำงาน หรือหน่วยราชการ เพราะรู้ว่าเจ้าหน้าที่ก็มีอาวุธ โอกาสถูกตอบโต้เป็นไปได้สูง และเคสนี้อาจจะไม่คิดถึงขั้นฆ่าตัวตาย เพราะมีการเผารถตัวเอง โดยทั่วไปเพื่อทำลายหลักฐานลายนิ้วมือเลือด

ข้อสังเกตเรื่องการครอบครองอาวุธปืน

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าวว่า จากนี้ไปควรต้องสแกนคนที่ครอบครองอาวุธปืน โดยเฉพาะข้าราชการอาจต้องมีการตรวจสุขภาพจิต ประวัติการก่ออาชญากรรม หมายความว่าต้องตรวจสุขภาพจิตก่อนได้รับใบอนุญาตครอบครองอาวุธปืน

ส่วนปืนที่ใช้ก่อเหตุเป็นปืนส่วนตัว หลังจากออกจากราชการ แต่เรื่องการหาซื้อกระสุนปืนที่หาซื้อตั้งแต่รับราชการหรือไม่ ควรต้องทบทวนการจำกัดการซื้อกระสุนปืน จึงเป็นช่องว่างที่ถูกนำไปใช้ก่อเหตุ ซึ่งในญี่ปุ่น การที่คนจะครอบครองและซื้อกระสุนปืน จะมาซื้อเพิ่มต้องนำปลอกที่ใช้แล้วมาด้วย ถึงจะได้กระสุนใหม่ไป

ส่วนความแตกต่างจากเหตุกราดยิงโคราช เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นข้าราชการทหาร และใช้อาวุธปืนราชการที่ชิงมาจากคลังอาวุธ ส่วนกรณีหนองบัวลำภู เป็นอดีตข้าราชการตำรวจ

ความเหมือนกันคือเป็นข้าราชการที่ฝึกฝนการใช้อาวุธปืน แต่ความต่างคือเป็นข้าราชการที่ถูกไล่ออกเพราะยาเสพติด ประเด็นนี้ต้องถอดบทเรียนเรื่องการครอบครองอาวุธปืน กระสุนปืน แบบถูกกฎหมาย และการไล่ออกจากราชการเพราะยาเสพติดแล้วจบ ควรต้องติดตามต่อ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อดีต ตร.กราดยิงหนองบัวลำภู ฆ่าลูก-ภรรยา ก่อนยิงตัวตาย

ผบ.ตร.คาดผู้ก่อเหตุเสพยา-เครียด-หลอน กราดยิงหนองบัวลำภู

หน.สำนักงานปลัด อบต.เล่าเหตุการณ์ก่อนเกิดเหตุ "กราดยิงหนองบัวลำภู"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง