"โตโน่" ถึงนครพนม ยันเดินหน้าว่ายข้ามโขง แจงปมใช้อุโมงค์น้ำ

Logo Thai PBS
"โตโน่" ถึงนครพนม ยันเดินหน้าว่ายข้ามโขง แจงปมใช้อุโมงค์น้ำ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"โตโน่" แจงดรามา ยันเดินหน้าว่ายข้ามโขง 22 ต.ค.นี้ ขอบคุณทุกเสียงที่ห่วงใย มั่นใจฟิตร่างกาย ชาวเน็ตจับโป๊ะ โพสต์จุฬาฯ หลังโผล่แจงราคาค่าใช้อุโมงค์ว่ายน้ำ หลังถูกตั้งคำถามในสื่อสังคมออนไลน์

กรณีนักร้องนักแสดงหนุ่ม ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ หรือโตโน่ เตรียมว่ายน้ำข้ามโขงในวันที่ 22 ต.ค.นี้ เพื่อระดมทุนบริจาคเพื่อซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ ให้กับโรงพยาบาลนครพนม และโรงพยาบาลแขวงคำม่วน ประเทศลาว ระยะทาง 15 กิโลเมตร ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์วงกว้างทั้งที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย

ล่าสุดวันนี้ (19 ต.ค.2565) โลกออนไลน์ยังตั้งคำถามเกี่ยวกับการเข้าใช้อุโมงค์น้ำ ของคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าสามารถเข้ามาทดสอบได้หรือไม่ ทั้งที่นิสิตเรียนอยู่ไม่เคยได้ใช้ เพราะราคาสูง

กระทั่งในเวลาต่อมา เพจเฟซบุ๊ก CU Sports Science Alumni ออกมา ระบุข้อความพร้อมแนบรูปภาพค่าบริการการใช้โปรแกรมใช้งานอุโมงค์น้ำ ว่า

เรื่องราวเกี่ยวกับอุโมงค์น้ำ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาฯ มีออกรายการมาตั้งแต่ปี 2560 แล้วอุโมงค์น้ำ “Swimming Flume” นวัตกรรมกีฬาที่ช่วยเสริมสร้างความฟิตให้กับร่างกาย

ภาพ: เฟซบุ๊ก CU Sports Science Alumni

ภาพ: เฟซบุ๊ก CU Sports Science Alumni

ภาพ: เฟซบุ๊ก CU Sports Science Alumni

 

https://youtu.be/57uX5iiRswM ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีนิสิตเข้าใจงานเพื่อการศึกษา วิจัย ทดสอบ ทดลองมาโดยตลอด และยังเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอก ทัพนักกีฬาไทย เข้าใช้งานได้ โดยมีค่าใช้จ่าย

ข้อมูลเอกสารระบุว่า ราคาบุคลากร อยู่ที่ 1,900 บาทต่อชั่วโมงแรก ส่วนบุคคลภายนอก จุฬาฯ 2,000 บาทต่อชั่วโมงแรก

ส่วนภาครัฐ 2,100 บาทต่อชั่วโมงแรก และภาครัฐวิสาหกิจ 2,200 บาทต่อชั่วโมงแรก ส่วนภาคเอกชน 2,300 บาทต่อชั่วโมงแรก

อ่านข่าวเพิ่ม เปิดใจ "โตโน่" ดรามาว่ายน้ำข้ามโขง "ผมถนัดแบบนี้ขอลงมือทำ"

ภาพ: เพจเก็บรักษ์

ภาพ: เพจเก็บรักษ์

ภาพ: เพจเก็บรักษ์

เคลียร์ปมขอใช้อุโมงค์น้ำ-โตโน่ ถึงนครพนมแล้ว 

ประเด็นดังกล่าวสืบเนื่องจากที่ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ทวีตข้อความระบุว่า อยากพูดในฐานะคนที่เรียนคณะนั้น คณะที่ให้ โตโน่ ไปใช้บริการอุโมงค์น้ำ และวัดค่าปอดก่อนนางจะว่าย อาจารย์ที่คณะบอกว่า

ตั้งแต่ปี 1 อุโมงค์น้ำแพง ไม่ค่อยเปิดใช้ แต่เรางงมากว่า นิสิตเขาไปไม่ได้เรียนรู้อะไรกับอุโมงค์น้ำนี้เลยไม่เคยเปิดให้นิสิตดู แต่ โตโน่ เข้าไปใล้ไม่เสียเงิน

อย่างไรก็ตาม ต่อมาเวลา 16.41 น.เพจดังกล่าวระบุอีกครั้ง ตอบคำถามผู้ที่เข้ามาแสดงความเห็นต่อโพสต์เกี่ยวกับอุโมงค์น้ำ คือโพสต์เกี่ยวกับว่าที่คณะมีอุโมงค์น้ำ ประโยชน์มีอย่างไร และการเข้าใช้ ต้องทำเรื่องอย่างไร มีวิธีการอย่างไร

ต่อมา มีผู้เข้าใจผิด คิดว่าเป็นการชี้แจงเรื่องที่เกี่ยวกับที่ประเด็น และทางเพจมองว่า หากไปเกี่ยวข้องกับทางคณะ ก็อยากให้เป็นทางคณะออกมาชี้แจงเองจะดีกว่า

ภาพ: เพจเก็บรักษ์

ภาพ: เพจเก็บรักษ์

ภาพ: เพจเก็บรักษ์

โตโน่ ยันร่างกายพร้อม-ขอบคุณทุกเสียงที่ห่วง

ขณะที่โตโน่ โพสต์คลิปหลังเดินทางไปถึง จ.นครพนม เพื่อเตรียมตัวว่ายน้ำข้ามโขงในวันที่ 22 ต.ค.นี้ ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก เก็บรักษ์ว่า ถึงแล้วนครพนม ทีมงานมาลงเช็กจุดว่าย แต่มีคนไม่ยอมลง อีก 3 วัน พบกันที่ลานพญาศรีสัตตนาคราช นครพนม ซึ่งโตโน่ ไม่ได้ลงจากรถมาเช็กจุดว่ายน้ำกับทีมงาน โดยระบุในคลิปสั้นๆว่า

อยากเห็นวันจริงเลย

ทีมงานก็แจ้งว่ามีชาวบ้านมารอให้กำลังใจอยู่ด้วย ยอมรับว่าตื่นเต้นมาก พร้อมทั้งให้สัมภาษณ์ว่ามีความพร้อม 100% ฟิตร่างกายเพื่อภารกิจนี้มาอย่างเต็มที่

นอกจากนี้ยังเดินทางไปที่ชมรมนกเป็ดน้ำโขงนครพนม ร่วมกิจกรรมเก็บขยะรักษาสิ่งแวดล้อม และลงเรือดูร่องน้ำ ที่จะว่ายน้ำทำกิจกรรมในวันที่ 22 ต.ค.นี้  

ส่วนกระแสดรามารื่องไปใช้อุโมงค์น้ำ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาฯ  โตโน่ ขอบคุณที่มีความเป็นห่วง ไม่กังวลเรื่องความปลอดภัยใดๆ ทั้งสิ้น เพราะทีมงานทุกคนเซฟ และเตรียมพร้อมเป็นอย่างดี

ไม่รู้สึกกังวล ถึงแม้จะมีผลกระทบต่อจิตใจบ้าง เชื่อว่าการทำความดีครั้งนี้ จะผ่านพ้นไปด้วยความตั้งใจดี ทำสำเร็จได้ ถึงจะมีดรามาต่างๆ ก็จะเดินหน้าว่ายน้ำตามกำหนดการเดิม

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง