ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เร่งผลักดัน กม.ห้ามผู้ปกครองตีลูก ชี้ความรุนแรงทำเด็กเสี่ยงพฤติกรรมก้าวร้าว

สังคม
13 พ.ย. 66
18:27
3,229
Logo Thai PBS
เร่งผลักดัน กม.ห้ามผู้ปกครองตีลูก ชี้ความรุนแรงทำเด็กเสี่ยงพฤติกรรมก้าวร้าว
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เครือข่ายสิทธิเด็ก เร่งผลักดันแก้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ทุบตีไม่ทำร้ายร่างกายและวาจาต่อลูกในทุกรูปแบบ ผู้ที่ทำงานด้านสิทธิเด็ก ระบุว่า การกระทำความรุนแรงกับเด็กทำให้เด็กมีความเสี่ยงพฤติกรรมก้าวร้าวและเข้าสู่วังวนการใช้ความรุนแรงในอนาคต

“ตีเด็ก” เสี่ยงพฤติกรรมก้าวร้าว-ติดยาเสพติดในวัยรุ่น

นายสรรสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ อดีตกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า สาเหตุที่ต้องปรับแก้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ (2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน เสนอปรับแก้คือ ต้องไม่ทุบตี ไม่ทำร้ายร่างกาย และวาจาต่อลูกในทุกรูปแบบ เพราะทำให้เด็กมีความเสี่ยงพฤติกรรมก้าวร้าว ขาดความยั้งคิด ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ มีความเครียดว่าจะถูกกระทำความรุนแรงซ้ำ

อ่านข่าว "หัด"ระบาดหนักในเด็ก เร่งรับวัคซีนพื้นฐาน สร้างภูมิคุ้มกันโรค 

รวมทั้งมีแนวโน้มเสี่ยงติดยาเสพติดและใช้ความรุนแรงในอนาคต พร้อมกับอ้างข้อมูลกุมารแพทย์ จากสหรัฐอเมริกา ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กที่ถูกใช้ความรุนแรง นอกจากจะมีปัญหาสุขภาพจิตแล้ว ยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพร่างกายเด็กด้วย ทำให้เกิดโรคความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ

ก่อนหน้านี้ กฎหมาย ปี 2548 มีระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ห้ามการเฆี่ยนตี ทำร้ายเด็ก มีโทษอาญา แต่ที่ผ่านมาก็ยังมีการตีเด็ก แต่ก็ไม่มีการฟ้องร้อง ส่วนใหญ่มองว่าเป็นการทำโดยเป็นจารีตประเพณี แม้จะมีการรณรงค์ต่อต้าน ก็ไม่มีผลในทางปฏิบัติ 

“ความรุนแรง” พฤติกรรมส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น

พญ.ปริชวัน จันทร์ศิริ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า เมื่อถูกกระทำความรุนแรงในวัยเด็ก แม้ว่าเวลาผ่านไปเด็กโตขึ้นแต่เหตุการณ์นั้นยังอยู่ในความทรงจำ ส่วนสาเหตุที่ผู้ใหญ่ทำร้ายร่างกายเด็กเพราะเข้าใจพฤติกรรมของเด็กผิดไป ต้องการปลดปล่อยอารมณ์และเพิ่มความรู้สึกมีอำนาจของผู้ใหญ่ และเห็นว่าเมื่อตีเด็กจะทำให้เด็กหยุดพฤติกรรมนั้นเพราะความกลัว ซึ่งผู้ใหญ่เข้าใจผิดว่าวิธีการทำร้ายร่างกายนั้นได้ผล รวมทั้งผลวิจัยหลายชิ้นที่ผ่านมาไม่มีมีหลักฐานการลงโทษทางกายที่จะทำให้เด็กเป็นคนดี แต่พบว่าเด็กมีความกลัวจึงหยุดพฤติกรรมนั้น

การทำร้ายร่างกายเด็กจะส่งต่อปัญหาทางอารมณ์จากรุ่นสู่รุ่น ต้องแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด คือ สนับสนุนความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว เพื่อลดความเครียดต่อเด็ก


ดันกฎหมาย “ห้ามตีลูก” เข้า ครม.

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ระบุว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิม มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ (2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน ที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคือ ทำโทษบุตรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนได้ตามสมควร ทั้งนี้ ต้องไม่ใช้วิธีเฆี่ยนตี ทำร้ายร่างกาย จิตใจ หรือวิธีการอื่นในทำนองเดียวกัน ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ซึ่งจะใช้เวลา 15 วัน และตามกระบวนการจะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน เมื่อกฎหมายสมบูรณ์แล้ว คาดว่า 1 เดือน จะเสนอคณะรัฐมนตรี จากนั้น ครม.จะส่งให้กับคณะกรรมกฤษฎีกาพิจารณาอีกครั้ง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

“กัญจนา” เยี่ยมเด็ก 3 ขวบถูกทำร้ายสาหัส   

คดีเด็กและเยาวชน กระบวนการยุติธรรมทางอาญา 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง