สภาฯ ฉลุย 400 เสียงผ่านร่าง "กฎหมายสมรสเท่าเทียม"

การเมือง
27 มี.ค. 67
14:37
1,248
Logo Thai PBS
สภาฯ ฉลุย 400 เสียงผ่านร่าง "กฎหมายสมรสเท่าเทียม"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สภาฯ ผ่านฉลุยร่าง "กฎหมายสมรสเท่าเทียม" มติ 400 เสียง ปิดทางเพิ่มคำว่า "บุพการีลำดับแรก" ชงพิจารณาต่อใน สว. ขณะที่โซเชียลเคลื่อนไหวพากันติด #สมรสเท่าเทียม

วันนี้ (26 มี.ค.2567) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แพ่งและพาณิชย์ หรือ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ภายหลังใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง ได้มีมติโหวตเห็นชอบ 400 ไม่เห็นด้วย 10 งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนน 3

ทั้งนี้ในการพิจารณากฎหมาย มีกรรมาธิการอภิปรายสงวนความเห็น โดยเฉพาะเสียงข้างน้อย จากพรรคก้าวไกล และภาคประชาชนที่มีความเห็นเพิ่มมาตราเกี่ยวกับกรณีบุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดามารดา หรือบุพการีลำดับแรก รวมถึงการอุปการะเลี้ยงดูให้เติบโต อำนาจปกครองบุตร 

อ่าน : เส้นทาง 22 ปี สู่ "สมรสเท่าเทียม" อีกขั้นสู่ความเท่าเทียม

นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร กรรมาธิการเสียงข้างมาก ชี้แจงว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และเรื่องบุพการีลำดับแรก ยังไม่มีผลศึกษาผลกระทบอย่างเป็นทางการมารองรับ จึงกังวลว่ายังไม่ได้รับฟังความคิด เห็นจากทุกภาคส่วนตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และกระทบต่อกระบวนการตรากฎหมายฉบับนี้อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญทำให้กฎหมายตกไปทั้งฉบับ

สมรสเท่าเทียม

สมรสเท่าเทียม

สมรสเท่าเทียม

ปิดทาง เพิ่มคำว่า "บุพการีลำดับแรก"

อีกทั้ง "บุพการีลำดับแรก" เป็นคำใหม่ยังไม่มีในระบบกฎหมายไทย ยังไม่มีนิยามถ้อยคำในกฎหมายไทย อาจเกิดปัญหาในการตีความว่าเป็นใคร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกฎหมายทั้งประเทศ ที่เกี่ยวกับบิดามารดาหากเพิ่มเติมถ้อยคำลงไปก็จะต้องกระทบกับกฎหมายที่มีอยู่ทั้งหมดในประเทศไทย เชื่อว่าน่าจะมีอยู่มากกว่าหลาย 100 ฉบับ ซึ่งเป็นผลกระทบที่รุนแรงพอสมควร 

อ่านข่าว จับตา สภาฯ ถกร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม วาระ 2 - 3

พร้อมแนะแนวทางออกว่าสามารถแก้ไขได้ โดยไปติดตามแก้ไขในกฎหมายที่จำเป็นแก้ไขเพื่อรองรับสิทธิ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะกฎหมายการรับบุตรบุญธรรม กฎหมายการแก้ไขกฎหมายการคุ้มครองเด็ก ที่อาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์

สำหรับสาระสำคัญกฎหมายฉบับนี้ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมมี 68 มาตรา เช่น กำหนดให้บุคคล 2 คน ไม่ว่าเพศใดหมั้นหรือสมรสกันได้ ให้การหมั้นจะทำได้เมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์แล้ว, เพิ่มเหตุเรียกค่าทดแทนเหตุฟ้องหย่าให้ครอบคลุมเมื่อฝ่ายหนึ่งไปมีสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนปรับแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับกฎหมายฉบับนี้เมื่อมีผลบังคับใช้ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 47 ฉบับ

สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม

สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม

สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม

อ่านข่าว ทำไมต้อง "สมรสเท่าเทียม" หนึ่งเสียงสะท้อนขอสิทธิ "คนเท่ากัน"

โซเชียลขานรับหนุน-ค้าน

ขณะที่โซเชียลเคลื่อนไหวพากับติด #สมรสเท่าเทียม จนติดอันดับ 1 ในแอปพลิเคชัน X โดยพรรคก้าวไกล โพสต์ภาพคะแนนโหวตในสภา#สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว!! ที่ประชุมสภาฯ โหวตผ่านวาระ 3 ด้วยคะแนนท่วมท้น เห็นด้วย 399(+1) ไม่เห็นด้วย 10 งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนน 3

อ่าน : สภาฯ รับหลักการ "สมรสเท่าเทียม" ทั้ง 4 ฉบับ

ห่วงขัดต่อหลักศาสนา

นายซูการ์โน มะทา เลขาธิการพรรคประชาชาติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดยะลา เขต 2 พรรคประชาชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุส่วนหนึ่งว่า ขอยืนหยัดจุดยืนทางการเมืองของผมและพรรคประชาชาติ ผมและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ ขอชี้แจงให้ผู้ที่ให้การสนับสนุนพวกเรา และพรรคประชาชาติว่า "จุดยืนทางเมือง" ของพวกเราคือ ไม่เห็นด้วย ตั้งแต่วาระที่ 1 คือ ไม่รับหลักการของร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ…

เพราะเราเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ กระทบกับวิถีชีวิตของคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม เพราะกฎหมายฉบับนี้ขัดกับหลักการของศาสนาอิสลาม และขัดแย้งกับคำสอนของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ) ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน อันเป็นธรรมนูญชีวิตของพวกเรา

ดังนั้นวันนี้ผม และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ ก็ยังคงนั่งอยู่ในห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร แต่พวกเรามีมติของพวกเราว่า "พวกเราจะไม่ขอเป็นองค์ประชุมของกฎหมายฉบับนี้ทุกมาตรา และจะไม่ลงมติในวาระที่ 2 ทุกมาตรา แต่พวกเราจะลงมติในวาระที่ 3 คือ ไม่เห็นด้วย

สมรสเท่าเทียม’ ผ่านสภาฯ แล้ว ขั้นต่อไปส่ง สว. พิจารณา

สมรสเท่าเทียม’ ผ่านสภาฯ แล้ว ขั้นต่อไปส่ง สว. พิจารณา

สมรสเท่าเทียม’ ผ่านสภาฯ แล้ว ขั้นต่อไปส่ง สว. พิจารณา

อ่านข่าวอื่น ๆ

ครั้งแรกในไทย! ชวนคู่รัก "LGBTQ+ "บันทึกจดแจ้ง" วันวาเลนไทน์

อัดฉีด 2.5 หมื่นล้าน "ค่าป่วยการ อสม." เดือนละ 2,000 เบิกจ่าย พ.ค.นี้

ล้งจีน บุกเมืองจันทบุรี ชิงตลาดส่งออกผู้บริโภค "ทุเรียน" ไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง