ผู้โดยสารโปรดทราบ! กรุณารัด "เข็มขัดที่นั่ง" ทุกครั้งเมื่อโดยสารเครื่องบิน

ไลฟ์สไตล์
22 พ.ค. 67
15:48
822
Logo Thai PBS
ผู้โดยสารโปรดทราบ! กรุณารัด "เข็มขัดที่นั่ง" ทุกครั้งเมื่อโดยสารเครื่องบิน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ตามสถิติการบินช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยที่สุดคือ ช่วงเครื่องขึ้นและลง และบางครั้งอาจะเกิดอุบัติเหตุรุนแรงได้หากบินผ่านเขตสภาพอากาศแปรปรวน การรัด "เข็มขัดที่นั่ง" ตลอดเวลาที่โดยสารเครื่องบิน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้โดยสารควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแอร์โฮสเตส
ผู้โดยสารโปรดทราบ ขณะนี้เรากำลังบินผ่านเขตสภาพอากาศแปรปรวน กรุณานั่งประจำที่ รัดเข็มขัดที่นั่ง และงดใช้ห้องน้ำ จนกว่าสัญญาณแจ้งรัดเข็มขัดจะดับลง
Ladies and gentlemen, We are passing trough the area of turbulence. Please remain seated, fasten your seat belt and refrain from using lavatory until the seat belt sign goes off. 

เสียงประกาศที่ผู้โดยสารหลายคนมักฟังผ่านหู หรือหลายคนอาจไม่ได้ให้ความสนใจเพราะไม่คิดว่า สายรัดผ้าที่มีความกว้างประมาณ 1.5-2 นิ้ว จะสามารถรักษาความปลอดภัยในการโดยสารเครื่องบินได้ 

การรัดเข็มขัดที่นั่งจะมาพร้อมกับ "สัญญาณแจ้งรัดเข็มขัดที่นั่ง" ไฟที่จะสว่างขึ้นพร้อมกับเสียง ตึ๊ง! ตั้งแต่เครื่องบินเริ่มถอยจนถึงเครื่องบิน บินขึ้นไปถึงระดับปลอดภัย อีกรอบขณะที่เครื่องกำลังเริ่มลดระดับลงไปจนถึงเครื่องจอดสนิท เหล่านี้คือสถานการณ์ปกติ

แต่อีกสถานการณ์หนึ่งคือ ถ้าเครื่องบินบินผ่านเขตสภาพอากาศแปรปรวน เครื่องโยกหนัก ๆ นักบินจะเปิดสัญญาณไฟแจ้งรัดเข็มขัดขึ้นมา เพื่อเป็นการแจ้งให้ผู้โดยสารต้องนั่งอยู่กับที่และรัดเข็มขัด 

อ่านข่าว :

โฆษก ตร.ชี้สอบสวนเหตุ "สิงคโปร์แอร์ไลน์" เป็นหน้าที่หน่วยงานกลาง

นักวิชาการชี้ "ภาวะโลกร้อน" ส่งผลเครื่องบินตกหลุมอากาศถี่ขึ้น

ทำไมต้องรัด ?

ก็เหมือนเวลาขับรถหรือนั่งรถโดยสาร "อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา" ไม่ว่าจะมาจากตัวเครื่องบินเป็นเอง หรือ ปัจจัยภายนอกเครื่องบิน ลมแรง ๆ เอย ฝนตกเอย ลูกเห็บเอย นกบินเข้าเครื่องเอง ล้วนแล้วแต่สามารถสร้างอันตรายให้แก่เครื่องและลามมาถึงตัวผู้โดยสารแทบทั้งสิ้น

สิ่งที่จะป้องกันอันตรายให้ผู้โดยสารได้ คือ "เข็มขัดที่นั่ง" ถ้าเข็มขัดนิรภัยบนรถป้องกันคนนั่งรถอย่างไร การรัดเข็มขัดที่นั่งบนเครื่องบินก็ป้องกันคุณแบบนั้น

ยกตัวอย่าง เช่น สามารถป้องกันตัวผู้โดยสารลอยตัวจากที่นั่ง หัวไปชนเพดานเครื่อง เมื่อเกิดอาการเครื่องโยกแรงๆ เวลาผ่านเขตสภาพอากาศแปรปรวน หรือช่วยรั้งตัวเราไม่ให้ไปชนเก้าอี้ด้านหน้า เวลาเครื่องแลนด์ดิ้ง

เข็มขัดที่นั่ง คือปราการด่านแรกที่จะช่วยป้องกันอันตรายรอบด้านที่อาจจะเกิดขึ้นในการเดินสารเครื่องบิน

อ่านข่าว :

สิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ321 ถึงสิงคโปร์แล้ว 79 คนบาดเจ็บยังพักรักษา กทม.

เปิดภาพความเสียหายเที่ยวบิน SQ321 ตกหลุมอากาศ

วิธีการรัดเข็มขัดที่นั่งให้ปลอดภัย

  1. ทุกครั้งที่รัดเข็มขัดที่นั่ง ให้ดึงสายให้กระชับ พอดีกับตำแหน่งบริเวณสะโพกหรือใต้พุง
  2. หากเดินทางระยะไกล มีผ้าห่ม ให้รัดเข็มขัดที่นั่งทับผ้าห่มด้านนอกด้วย เพื่อไม่ให้ผ้าห่มเป็นสิ่งกีดขวางหากเกิดกรณีฉุกเฉินใด ๆ และให้พนักงานต้อนรับเห็นและไม่เข้าไปรบกวน แจ้งให้รัดเข็มขัดที่นั่ง
  3. รัดเข็มขัดที่นั่งทุกครั้งเมื่อนั่งอยู่กับที่
  4. หากเป็นคนรูปร่างใหญ่ และไม่สามารถรัดเข็มขัดที่นั่งความยาวตามปกติได้ ให้แจ้งพนักงานต้อนรับ เพื่อขอรับ "Extension seat belt"
  5. ผู้โดยสารที่เดินทางพร้อมเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ จะต้องอุ้มเด็กไว้บนตักและรัดเข็มขัดที่นั่งสำหรับเด็ก ให้แจ้งพนักงานต้อนรับเพื่อขอรับ "Infant seat belt"
  6. รีบกลับไปนั่งที่และรัดเข็มขัดที่นั่งทุกครั้ง เมื่อสัญญาณแจ้งรัดเข็มขัดดังขึ้น 
  7. ให้สังเกตสัญญาณแจ้งรัดเข็มขัด เพราะบางกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน พนักงานต้อนรับอาจไม่สามารถทำประกาศแจ้งเตือนได้ในทันที
  8. อุปกรณ์ทุกอย่างบนเครื่องบินมีไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินทั้งสิ้น ไม่ควรนำออกจากเครื่องบินโดยเด็ดขาด 

การฝ่าฝืนคำเตือนหรือรบกวนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานต้อนรับ ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ 2558 ระบุไว้ว่า ผู้อยู่ในอากาศยานในระหว่างการบินผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของ ผู้ควบคุมอากาศยานหรือเจ้าหน้าที่ประจําอากาศยานซึ่งสั่งในนามผู้ควบคุมอากาศยาน ที่เป็นคําสั่งเพื่อ รักษากฎ ระเบียบ และความเรียบร้อยในอากาศยาน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

รู้หมือไร่ : สำหรับผู้ปกครองที่ไม่ยอมให้บุตรหลานที่อายุมากกว่า 2 ขวบ รัดเข็มขัดที่นั่งบนที่นั่งของเด็กเอง เวลาสัญญาณแจ้งรัดเข็มขัดสว่างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่วงเครื่องขึ้น เครื่องลง หรือช่วงที่บินผ่านเขตสภาพอากาศแปรปรวน หากเกิดอันตรายใด ๆ ประกันบริษัท อาจพิจารณาที่จะปฏิเสธจ่ายค่าคุ้มครอง เพราะถือว่าผู้โดยสารเลือกที่จะยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลในปกครองเอง 

อ่านข่าว :

แถลง "สิงคโปร์แอร์ไลน์" ลงจอดฉุกเฉินสุวรรณภูมิ ตาย 1 คน

"หลุมอากาศ" อันตรายมองไม่เห็น ผู้โดยสารโปรดรัดเข็มขัดทุกที่นั่ง

ระทึก! เที่ยวบิน SQ321 ลงฉุกเฉินสุวรรณภูมิตาย 1 เจ็บ 30

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง