พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2568 ถือเป็นพระราชพิธีซึ่งกระทำขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและส่งเสริมบำรุงขวัญเกษตรกร เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก โดยกำหนดจัดขึ้นในราวเดือน 6 ของทุกปี หรือเดือน พ.ค.ที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณี ให้จัดขึ้นในเวลานั้นอันถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นฤดูกาลแห่งการทำนา
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปี 2568 ประกอบด้วย 2 พิธีสำคัญ คือ พระราชพิธีพืชมงคล (พิธีทางสงฆ์) จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม 2568 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และถือเป็น "วันเกษตรกร" ด้วยวันถัดมา พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) เป็นพิธีพราหมณ์ จัดในวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2568 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

ภาพจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ภาพจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปีนี้ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนา คือ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ น.ส.ธิรดา วงษ์กุดเลาะ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร และ น.ส.วราภรณ์ วิลัยมาตย์ เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน กรมวิชาการเกษตร
ส่วน "เทพีคู่หาบเงิน" ได้แก่ น.ส.ฉันทิสา อารีเสวต นายสัตวแพทย์ชำนาญการ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และ น.ส.อภิชญา ฟูแสง นักวิชาการตรวจสอบบัญชีปฏิบัติการ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

ภาพจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ภาพจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ผู้เชิญเครื่องอิสริยยศ จำนวน 4 ราย คู่เคียงในกระบวนแห่อิสริยยศพระยาแรกนา จำนวน 16 ราย และพระโคแรกนา ได้แก่ พระโคพอ และพระโคเพียง พระโคสำรอง ได้แก่ พระโคเพิ่ม และพระโคพูล
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันที่ 9 พ.ค.68
- เวลา 07.19 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาแรกนาขึ้นรถยนต์หลวงที่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามออกจากพระบรมมหาราชวัง ไปยังมณฑลพิธีท้องสนามหลวง แล้วเดินขบวนอิสริยายศแห่ไปส่งที่โรงพิธีพราหมณ์ จุดธูปเทียนถวายสักการะเทวรูปสำคัญแล้ว พระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบผ้านุ่งแต่งกายไว้พร้อม
- เวลา 08.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังพลับพลาที่ประทับ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
- ฤกษ์พิธีไถหว่าน ระหว่างเวลา 08.09 - 09.09 น.

ภาพจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ภาพจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- จากนั้น พระยาแรกนา จะได้ยาตราพร้อมเทพีออกจากโรงพิธีพราหมณ์ มีราชบัณฑิตและพราหมณ์ นำผ่านพลับพลาหน้าพระที่นั่ง
- พระยาแรกนาเข้าเฝ้า ทูลละอองธุลีพระบาทถวายบังคมแล้วไปยังลานแรกนา เจ้าพนักงานจูงพระโค เทียมแอก พระยาแรกนาเจิม พระโคและคันไถ จับหางไถแล้วไถดะ ไปโดยทักษิณาวรรต 3 รอบ ไถแปร 3 รอบ พร้อมหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว
- พนักงานประโคมฆ้องชัย เครื่องดุริยางค์ แล้วไถกลบอีก 3 รอบ เพื่อกลบเมล็ดพันธุ์ข้าวลงในดิน เสร็จแล้วพนักงานปลดพระโคออกจากแอก พระยาแรกนาและเทพี กลับไปยังโรงพิธีพราหมณ์ พราหมณ์เสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ตั้งเลี้ยงพระโค เมื่อพระโคกินของสิ่งใด โหรหลวงจะได้ถวายคำพยากรณ์
- เสร็จแล้วจะได้เบิกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ตัวแทนสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ตัวแทนสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดินสาขาต่าง ๆ เข้ารับพระราชทานโล่เกียรติคุณ
- หลังจากนั้นจะได้แห่พระยาแรกนาเป็นกระบวนอิสริยยศออกจาก โรงพิธีพราหมณ์ พระยาแรกนากราบถวายบังคม แล้วเข้ากระบวนไปขึ้นรถยนต์หลวงพร้อมด้วยเทพี ไปรอเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่แปลงนาทดลอง ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง ออกจากพลับพลาพิธี ไปยังแปลงนาทดลองในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา พระยาแรกนาเข้ากราบถวายบังคม พระยาแรกนาและเทพีนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปหว่านในแปลงนาทดลองโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อปลูกไว้ใช้ในพระราชพิธี ฯ ในปีต่อไป
- เมื่อพระยาแรกนาหว่านข้าวเสร็จแล้ว เข้าไปกราบถวายบังคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นอันเสร็จพระราชพิธี
7 พันธุ์ข้าว ในพระราชพิธีพืชมงคล 2568
ในปี 2568 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าว ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำ "พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน" ในแปลงนาทดลอง สวนจิตรลดา และแปลงนาขยายผลฤดูทำนาปี 2567 ซึ่งเป็นผลผลิตข้าวเปลือกจากข้าวนาสวนพันธุ์หลัก 7 พันธุ์ ดังนี้
พันธุ์ข้าวนาสวน จำนวน 5 พันธุ์
- ขาวดอกมะลิ 105
- กข 79
- กข 85
- กข 99 (หอมคลองหลวง 72)
- กขจ 1 (วังทอง 72)
พันธุ์ข้าวเหนียว จำนวน 2 พันธุ์
- กข 6
- กข 24 (สกลนคร 72)

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2024
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2024
สำหรับรายละเอียดพันธุ์ข้าวที่นำเข้าในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2568 และบรรจุซองแจกจ่ายประชาชน ดังนี้
- ขาวดอกมะลิ 105 - จำนวนบรรจุซองแจกจ่าย (กิโลกรัม) 1,030
- กข79 - จำนวนบรรจุซองแจกจ่าย (กิโลกรัม) 420
- กข85 - จำนวนบรรจุซองแจกจ่าย (กิโลกรัม) 200
- กข99 - (หอมคลองหลวง 72) จำนวนบรรจุซองแจกจ่าย (กิโลกรัม) 300
- กข6 จำนวนบรรจุซองแจกจ่าย (กิโลกรัม) 440
- กข24 (สกลนคร 72) จำนวนบรรจุซองแจกจ่าย (กิโลกรัม) 200
เมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกที่นำเข้าในพระราชพิธีมีน้ำหนักรวมทั้งสิ้น 4,880 กิโลกรัม และจัดเป็น "พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน" บรรจุในซองพลาสติกแจกจ่ายให้บรรดาพสกนิกร ประชาชนผู้สนใจ และชาวนาทั่วประเทศรับไปเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลในการประกอบอาชีพการเกษตรตามประเพณีนิยม เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์สืบไป
รู้จัก 7 พันธุ์ข้าว ในพระราชพิธีพืชมงคล 2568
1. พันธุ์ข้าว ขาวดอกมะลิ 105
ประวัติพันธุ์ ได้มาโดยนายสุนทร สีหะเนิน เจ้าพนักงานข้าว รวบรวมจาก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ. 2493 - 2494 จำนวน 199 รวง แล้วนำไป คัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection) และปลูกเปรียบเทียบ พันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรงแล้วปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ท้องถิ่น ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจนได้สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 4-2-105
ลักษณะเด่น ขาวดอกมะลิ 105
- ทนแล้งได้ดีพอสมควร
- เมล็ดข้าวสารใส แกร่ง คุณภาพการสีดี
- คุณภาพการหุงต้มดี อ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอม
- ทนต่อสภาพดินเปรี้ยว และดินเค็ม
2. พันธุ์ข้าว กข 79
ประวัติพันธุ์ กข79 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง PSL00034-37-3-1-3 ต้านทานต่อโรคไหม้เป็น พันธุ์แม่ กับ PSBRc20 ต้านทานต่อโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นพันธุ์พ่อ ในฤดูนาปรัง 2550 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทปลูกคัดเลือกแบบสืบตระกูลชั่วที่ 2 ถึง 6
ทั้งฤดูนาปรัง และฤดูนาปี ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2551 ถึง ฤดูนาปรัง 2553 ที่ศูนย์วิจัย
ข้าวชัยนาท จนได้สายพันธุ์ CNT07018-26-1-1-1 และปลูกศึกษาพันธุ์ในฤดูนาปี
2553 ฤดูนาปรัง 2554 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี
ฤดูนาปรัง 2555 -ฤดูนาปี 2560 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกชัยนาท ลพบุรี แพร่ เชียงใหม่ และเชียงราย วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและทางเคมี รวมทั้งทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ
ลักษณะเด่น คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี เป็นข้าวเจ้า เมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีมาก สามารถผลิตเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1 ได้
3. พันธุ์ข้าว กข 85
ประวัติพันธุ์ ได้จากการผสมพันธุ์3 ทางระหว่าง ลูกผสมชั่วที่ 1 ของ PSBRc10 กับ CNT96028-21-1-PSL-1-1 นำไปผสมกับ LPHR303-PSL-30-4-2
ลักษณะเด่น กข 85 ให้ผลผลิตสูงถึง 1,173 กิโลกรัมต่อไร่ ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคไหม้ดีกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 และ กข47 ทนทานต่อสภาพอากาศเย็นคุณภาพเมล็ดทางกายภาพดีเป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีมาก สามารถผลิตข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1 ได้
4. พันธุ์ข้าว กข 99 (หอมคลองหลวง 72)
ประวัติพันธุ์ ข้าวสายพันธุ์ CCS12009-KLG-18-1-1-3-1 ข้าวหอม พื้นนุ่ม ไม่ไวต่อช่วงแสง ได้จากการผสมพันธุ์ ระหว่างพันธุ์ IRB41 (พันธุ์แม่) กับพันธุ์ชัยนาท 1 (พันธุ์พ่อ)
ลักษณะเด่น เป็นข้าวเจ้าหอมพื้นนุ่ม ไม่ไวต่อช่วงแสง ศักยภาพการให้ผลผลิต 957 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยให้ ผลผลิตเฉลี่ย 780 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ปทุมธานี 1 คิดเป็น
13 เปอร์เซ็นต์ เมื่อปลูกในสภาพแปลง เกษตรกร, ข้าวสุกมีกลิ่นหอม เนื้อสัมผัสค่อนข้างเหนียวและนุ่ม, - คุณภาพการสีดีมาก สามารถผลิตเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1 ได้
5. พันธุ์ข้าว กขจ 1 (วังทอง 72)
ประวัติพันธุ์ CRI12026-6-9-PSL-4-1-1-1 ได้จากการผสมเดี่ยว ระหว่างสายพันธุ์ข้าว PSL95037-25-1-2-PAN-1 กับพันธุ์ Shubu
ลักษณะเด่น มีศักยภาพการให้ผลผลิตสูงถึง 953 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 755 กิโลกรัมต่อไร, ต้านทานต่อโรคไหม้ได้ดีกว่าพันธุ์ พันธุ์ ก.วก.1 และ ก.วก.2, เป็นข้าวเจ้าจาปอนิกาที่มีคุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี ท้องไข่น้อยกว่าพันธุ์ก.วก. 1 และ ก.วก.2 คุณภาพการสีดีมาก คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี
6. พันธุ์ข้าว กข 6
ประวัติพันธุ์ ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสี
แกมมาปริมาณ 20 กิโลแรด (Rad) อาบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105
แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนและสถานีทดลองข้าวพิมาย
จากการคัดเลือกได้ข้าวเหนียวหลายสายพันธุ์ในข้าวชั่วที่ 2 นำไปปลูกคัดเลือก
จนอยู่ตัวได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ สายพันธุ์ KDML105´65-G2U-68-254
นับว่าเป็นข้าวพันธุ์ดีพันธุ์แรกของประเทศไทย ที่ค้นคว้าได้โดยใช้วิธีชักนำพันธุ์พืช
ให้เปลี่ยนกรรมพันธุ์โดยใช้รังส
ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตสูงและทนแล้งดีกว่าพันธุ์เหนียวสันป่าตอง, คุณภาพการหุงต้มดี มีกลิ่นหอม, ลำต้นแข็งปานกลาง, ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล, คุณภาพการสีดี
7. พันธุ์ข้าว กข24 (สกลนคร 72)
ประวัติพันธุ์ ข้าวเหนียวสายพันธุ์ RGDU10017-1-MAS-49-4-1-NKI-1-3-1-2 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวเหนียว สายพันธุ์ RGDU07585-7-MAS35-4 ซึ่งลำต้นเตี้ย เป็นพันธุ์แม่ กับข้าวเหนียวสายพันธุ์ RGDU07123-12-22-5 ซึ่งลำต้นสูง คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี มีความต้านทานต่อโรคไหม้เป็นพันธุ์พ่อ
ลักษณะเด่น เป็นข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสงที่มีลำต้นเตี้ย ต้านทานการหักล้มดีกว่าพันธุ์ กข6 และ กข18, ต้านทานต่อโรคไหม้ในระยะกล้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2568 จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2568 โดยผู้ที่ประสงค์รับเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน สามารถลงทะเบียนออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ https://rice.moac.go.th/ หรือแสกนคิวอาร์โค้ด ได้ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2568
อ้างอิงข้อมูล : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อ่านข่าว : กกร.หั่น GDP ไทยเหลือ 2-2.2 % ผลพวงภาษีทรัมป์-เศรษฐกิจโลกไม่ฟื้น
พบปลาน้ำกก-น้ำโขง เป็นตุ่ม หวั่นสารพิษทำลายระบบนิเวศปลา จ.เชียงราย