ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ผู้ประกันตน ม.33" เช็กเงื่อนไข รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน เหตุถูกเลิกจ้าง

สังคม
09:27
194
"ผู้ประกันตน ม.33" เช็กเงื่อนไข รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน เหตุถูกเลิกจ้าง
อ่านให้ฟัง
04:55อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เช็กเงื่อนไข "ผู้ประกันตน ม.33" รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน สูงสุด 9,000 บาทต่อเดือน ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่สิ้นสุดการจ้างงาน

เช็กเงื่อนไขลงทะเบียน "ว่างงาน" ประกันสังคมมาตรา 33 หลังราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศกฎกระทรวงแรงงานฉบับใหม่ว่าด้วยหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว โดยกฎกระทรวงฉบับนี้ได้ปรับเพิ่มอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนให้สูงขึ้น เพื่อบรรเทาภาระของผู้ประกันตน และให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน

สาระสำคัญของกฎกระทรวงแรงงานฉบับใหม่นี้ คือ ให้ลูกจ้างประกันสังคมได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานจากการเลิกจ้าง เพิ่มขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 60 จากเดิมร้อยละ 50 ส่งผลให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนสูงสุดไม่เกินเดือนละ 9,000 บาท จากเดิมสูงสุดเดือนละ 7,500 บาท โดยในระยะเวลา 180 วัน (6 เดือน) จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 54,000 บาท จากเดิมที่จะได้รับสูงสุด 45,000 บาท

เงื่อนไขลงทะเบียนว่างงาน-เลิกจ้าง เพื่อรับเงินชดเชย

สำหรับวิธีลงทะเบียนว่างงาน-เลิกจ้าง เพื่อรับเงินชดเชยจากประกันสังคม ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ลาออก หรือถูกเลิกจ้าง สามารถลงทะเบียนผู้ว่างงานผ่านเว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th ภายใน 30 วัน นับจากวันที่สิ้นสุดการจ้างงาน โดยแบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้

1. กรณีถูกเลิกจ้าง จะได้เงินช่วยเดือนละ 60% ของเงินเดือนเฉลี่ย อย่างเช่น ถ้าเคยได้เงินเดือน 10,000 บาท ก็จะได้เดือนละ 6,000 บาท โดยจะจ่ายให้ไม่เกิน 6 เดือนใน 1 ปี (รวมกันไม่เกิน 180 วัน)

2. กรณีลาออกเอง หรือหมดสัญญาจ้าง จะได้ 30% ของเงินเดือนเฉลี่ย เช่น ถ้าเคยได้เงินเดือน 10,000 บาท จะได้เดือนละ 3,000 บาท และจะจ่ายให้ไม่เกิน 3 เดือนใน 1 ปี (รวมกันไม่เกิน 90 วัน)

3. ในส่วนของคนที่ว่างงานหลายครั้งในปีเดียว เช่น ถูกเลิกจ้าง 1 รอบ แล้วต่อมาก็ถูกเลิกจ้างอีกหรือลาออกอีกครั้ง สามารถขอรับสิทธิได้ทุกรอบ แต่เงินรวมที่ได้รับในปีนั้น จะได้ไม่เกิน 180 วัน สำหรับกรณีเลิกจ้าง และไม่เกิน 90 วันสำหรับกรณีลาออก สำหรับเงื่อนไขการขอรับสิทธิ มีดังนี้

1) ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในช่วง 15 เดือนก่อนว่างงาน

2) ว่างงานต่อเนื่อง อย่างน้อย 8 วัน

3) ต้องลงทะเบียนผู้ว่างงานผ่านเว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th ภายใน 30 วันหลังออกจากงาน

4) รายงานตัวผ่านระบบออนไลน์เดือนละ 1 ครั้ง จนกว่าจะมีงานทำ

5) พร้อมทำงานและไม่ปฏิเสธการฝึกอาชีพที่จัดหาให้

6) ไม่ถูกเลิกจ้างเพราะความผิดร้ายแรง เช่น ทุจริต ละทิ้งหน้าที่ ฯลฯ

7) ไม่ได้รับสิทธิซ้ำในกรณีชราภาพ ทั้งนี้ เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอรับสิทธิ ประกอบด้วย 1.แบบคำขอ สปส. 2-01/7 2. หนังสือรับรองออกจากงาน หรือ สปส.6-09 (ถ้าไม่มีสามารถขึ้นทะเบียนได้) 3.สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร (เฉพาะธนาคารที่กำหนด) และ 4.หนังสือคำสั่งเลิกจ้าง (ถ้ามี)

ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มีสิทธิ สามารถยื่นขอรับเงินผ่านระบบออนไลน์ และสามารถขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th หรือยื่นแบบฟอร์มที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในกระทรวงสาธารณสุข)

กรณีเงินทดแทนว่างงาน ไม่สามารถขอย้อนหลังได้ ต้องยื่นขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันหลังลาออกหรือถูกเลิกจ้าง หากลาออกหรือถูกเลิกจ้างหลายครั้งในปีเดียว จะนับรวมวันรับเงินสูงสุดไม่เกินที่กำหนด (90 วันสำหรับลาออก / 180 วันสำหรับเลิกจ้าง) โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนประกันสังคม 1506 ซึ่งให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

อ่านข่าว : สภาพอากาศวันนี้ ทั่วไทยมีฝนฟ้าคะนอง ตกหนักบางแห่ง

ทีมไทยแลนด์ นัดถกสหรัฐฯ ยื่นข้อเสนอ 0% สินค้าหลายหมื่นรายการ

อิสราเอลโจมตีตึกกลาโหมในดามัสกัส เสียชีวิต 3 เจ็บ 34 คน