ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จักตำแหน่งลูกเรือ "วิศวกรการบิน" มีหน้าที่อะไรบ้างในอดีต


Logo Thai PBS
แชร์

รู้จักตำแหน่งลูกเรือ "วิศวกรการบิน" มีหน้าที่อะไรบ้างในอดีต

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1217

รู้จักตำแหน่งลูกเรือ "วิศวกรการบิน" มีหน้าที่อะไรบ้างในอดีต
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ในยุคเมื่อการบินพาณิชย์เป็นเรื่องใหม่นั้น เครื่องบินโดยสารพาณิชย์ทุกลำไม่ได้มีนักบินเพียงแค่ 2 คน แต่มีตำแหน่งผู้ช่วยการบินอื่น ๆ อีกมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ “วิศวกรการบิน” หรือ “Flight Engineer” ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในลูกเรือที่สำคัญในการบินพาณิชย์ในสมัยนั้น

ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าหน้าที่ของวิศวกรการบินคืออะไรในอดีต แล้วเหตุใดในปัจจุบันตำแหน่งวิศวกรการบินในฐานะลูกเรือจึงหายไป

ภาพห้องนักบินเครื่องบินสมัยเก่าซึ่งมีที่นั่งสำหรับวิศวกรการบินพร้อมแผงควบคุม

ในยุคเริ่มแรกของการบินพาณิชย์นั้น เครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ถือเป็นชิ้นงานวิศวกรรมมหึมาที่ประกอบไปด้วยระบบควบคุมมากมาย สวิตช์ไฟฟ้าและเข็มวัดค่าต่าง ๆ อีกนับร้อย ที่เป็นเช่นนั้นเป็นเพราะว่าในอดีต เรายังไม่มีเทคโนโลยีแสดงผลดิจิทัล ดังนั้นการแสดงข้อมูล การควบคุมต่าง ๆ จะต้องทำโดยระบบแอนะล็อกเท่านั้น

ดังนั้น เครื่องบินขนาดใหญ่ 4 เครื่องยนต์ในสมัยก่อน เช่น Boeing 707 และ DC-8 จึงมีระบบควบคุมจำนวนมาก ทำให้ต้องมีลูกเรืออีกคนมาช่วยในด้านการบิน ตำแหน่งนั้นเรียกว่า “วิศวกรการบิน” ซึ่งมักจะนั่งอยู่ข้างหลังนักบิน

ภาพวิศวกรการบินเครื่องบินรบสงครามโลกขณะกำลังควบคุมแผงควบคุม

หน้าที่ของวิศวกรการบินนั้นไม่ใช่การช่วยนักบินบังคับเครื่องบิน แต่เป็นการดูแลระบบต่าง ๆ ของเครื่องบินซึ่งมีความซับซ้อนสูงมาก หากเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นกับระบบ วิศวกรการบินจะเป็นผู้รับผิดชอบในการพยายามแก้ไขปัญหาขณะที่นักบินที่เหลืออีกสองคนให้ความสำคัญกับการบินและการนำทางเป็นหลัก ไม่เช่นนั้นแล้ว ภาระของนักบินจะเพิ่มขึ้นสูงมากหากไม่มีวิศวกรการบินมาช่วยดูแลเครื่องบิน

ภาพห้องนักบิน Boeing 737 ซึ่งไม่มีตำแหน่งวิศวกรนักบินอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม ในยุคการบินสมัยใหม่นั้น ระบบหลายอย่างถูกทำให้เป็นระบบอัตโนมัติแล้ว นอกจากนี้การแสดงผลทุกอย่างก็ถูกรวมศูนย์ให้สามารถแสดงได้บนจอแสดงผลหน้านักบินเพียงจอเดียว ทำให้นอกจากความซับซ้อนในการควบคุมจะลดลงแล้ว ข้อมูลที่นักบินจะต้องคอยแปลผลนั้นก็น้อยลงไปด้วยเช่นกัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่ามีเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลและสรุปข้อมูลให้นักบินได้ ต่างจากในอดีตที่วิศวกรการบินจะต้องอ่านค่าแต่ละค่าเอง จากนั้นจึงแปลผลออกมาว่าตอนนี้สถานะของเครื่องบินเป็นอย่างไร

ภาพจอระบบ ECAM บนเครื่องบิน Airbus ใช้ในการแสดงผลข้อมูลเครื่องยนต์

 

ยกตัวอย่างเช่น ระบบ EICAS (Engine-indicating and Crew-Alerting System) ในเครื่องบิน Boeing หรือ ระบบ ECAM (Electronic Centralised Aircraft Monitor) ในเครื่องบิน Airbus ซึ่งเป็นระบบแสดงผลข้อมูลของเครื่องยนต์ในเครื่องบินสมัยใหม่นั้น ในอดีต ระบบเหล่านี้เทียบเท่ากับวิศวกรการบินคนหนึ่งและแผงควบคุมทั้งแผงของวิศวกรบิน ขณะที่ในปัจจุบัน ทุกอย่างถูกรวบรวมอยู่ในเพียงจอเดียวเท่านั้น

ในปัจจุบัน ความจำเป็นของลูกเรือในห้องนักบินคนที่สาม อย่างวิศวกรการบินจึงมีน้อยลง เป็นเหตุให้ตำแหน่งดังกล่าวหายไปในที่สุดเมื่อระบบอัตโนมัติมาแทนที่หน้าที่ของวิศวกรการบินทั้งหมด

เรียบเรียงโดย โชติทิวัตถ์ จิตต์ประสงค์


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

วิศวกรการบินFlight Engineerเครื่องบินเทคโนโลยีTechnologyนวัตกรรมInnovationThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Innovation Tech World
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด