ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ทำไมผู้หญิงนอนมากกว่า แต่คุณภาพการนอนกลับแย่กว่าผู้ชาย ?


Lifestyle

15 มิ.ย. 67

อธิเจต มงคลโสฬศ

Logo Thai PBS
แชร์

ทำไมผู้หญิงนอนมากกว่า แต่คุณภาพการนอนกลับแย่กว่าผู้ชาย ?

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1286

ทำไมผู้หญิงนอนมากกว่า แต่คุณภาพการนอนกลับแย่กว่าผู้ชาย ?
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

รู้หรือไม่ ? ผู้หญิงมีคุณภาพการนอนแย่กว่าผู้ชาย แม้จะหลับได้เร็วกว่า นอนนานกว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น Thai pbs ชวนไปสำรวจดูเหตุผลผ่านงานวิจัยจาก University of Southampton ที่เปิดเผยแง่มุมการทำงานของร่างกายที่แตกต่างกัน และจะช่วยให้คุณเข้าใจสุขภาพของตัวเองมากขึ้น

การนอนมีปัญหาเพราะนาฬิกาชีวิตผู้หญิงเดินเร็วกว่า

การศึกษาค้นพบผู้หญิงมีนาฬิกาชีวภาพที่เดินเร็วกว่าผู้ชาย ทำให้แม้ผู้หญิงจะเข้านอนพร้อมกับผู้ชาย แต่ร่างกายก็จะเหมือนเข้านอนช้า การทำงานของเมลาโทนิน (Melatonin) หรือที่รู้จักกันว่าเป็นฮอร์โมนแห่งการนอนหลับจะมีการหลั่งมาเร็วกว่า ส่งผลให้เกิดการนอนผิดเวลา ซึ่งแม้จะเป็นเวลาไม่นานมาก แต่เมื่อสะสมทุกวัน ๆ ติดต่อกัน ก็ทำให้เกิดปัญหาการนอนต่อเนื่องเรื้อรังได้

นอนเร็วกว่า หลับลึกเร็วกว่า แต่กลับรู้สึกนอนแย่กว่า

เมื่อนาฬกาชีวภาพของผู้หญิงเดินเร็วกว่า ส่งผลให้เวลาเข้านอนของหญิงควรจะเร็วกว่าเวลาจริง การนอนเกินเวลาจึงทำให้ผู้หญิงนอนด้วยความเหนื่อยล้า หลับไปได้เร็วกว่า ต้องนอนนานกว่า แต่คุณภาพการนอนกลับไม่ดีนัก

การนอนหลับที่มีคุณภาพคือการนอนให้ครบวงจร (sleep circle) โดยจะมีช่วงการนอน 2 ช่วงด้วยกัน คือช่วงหลับธรรมดา (NREM Sleep หรือ Non – Repid Eye Movemant Sleep) ที่ดวงตาจะไม่ขยับ กับช่วงหลับลึก (REM Sleep หรือ Rapid Eye Movement Sleep) ที่ดวงตาจะขยับอย่างรวดเร็ว 

การเก็บข้อมูลการนอนเทียบกันระหว่างกลุ่มตัวอย่าง พบว่าผู้หญิงมีช่วงเวลาการนอนแบบ NREM Sleep นานกว่าผู้ชาย ขณะที่นอนในช่วง REM Sleep ที่น้อยกว่า แต่กลับพบการทำงานของสมองเยอะกว่า ทำให้หลับฝันได้ง่ายกว่าผู้ชาย และยังใช้เวลาการนอนนานกว่า

ทว่า การนอนด้วยความเหนื่อยล้า ทั้งยังมีการใช้พลังงานระหว่างนอนมากกว่า การศึกษาพบว่า ผู้หญิงมีการให้คะแนนคุณภาพการนอนของตัวเองน้อยกว่าผู้ชาย

ผู้หญิงกับผู้ชายมีธรรมชาติการนอนที่แตกต่างกัน

วงจรโรคนอนผิดปกติต่อเนื่อง

ความชุกของโรคที่เกี่ยวกับการนอนผิดปกติ รวมถึงอาการอื่น ๆ ที่ส่งผลถึงการนอน เช่น อาการนอนไม่หลับ (insomnia) อาการวิตกกังวล (Anxiety) และอาการซึมเศร้า (Depression) เกิดในกลุ่มผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า สาเหตุของเรื่องนี้ยังไม่แน่ชัด

ขณะที่ยังพบอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome) ในผู้หญิงสูงกว่าผู้ชายราว 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นโรคทางระบบประสาทที่เกี่ยวกับข้องกับการนอน

ผลที่ตามมาคือวงจรการนอนไม่หลับ ที่เมื่อมีอาการเหล่านี้เกิดในกลุ่มผู้หญิง ก็ทำให้เกิดการนอนไม่หลับ หรือหลับแต่คุณภาพการนอนไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น

ไลฟ์สไตล์ที่รบกวนการนอนหลับ

การใช้ชีวิตของผู้หญิงโดยส่วนใหญ่ จะมีส่วนที่ต้องรับผิดชอบงานบ้าน งานเรือน ทั้งทำความสะอาด การจัดแจงสิ่งต่าง ๆ ภายในบ้านไปจนถึงการเลี้ยงลูก วัฒนธรรมการใช้ชีวิตของผู้หญิงในลักษณะนี้นำไปสู่การนอนไม่เป็นเวลา การตื่นกลางดึกเพื่อจัดการกับลูก ๆ หรือช่วยเหลือสมาชิกคนอื่น ๆ ภายในบ้าน ไลฟ์สไตล์ของผู้หญิงลักษณะนี้ในหลายประเทศทั่วโลก จึงส่งผลต่อการนอนได้มากกว่าผู้ชาย

การศึกษานี้ยังคงเป็นก้าวหนึ่งเพื่อเข้าใจกลไกการนอนหลับที่แตกต่างกันระหว่างชาย – หญิง ท้ายที่สุดอาจนำไปสู่การปรับพฤติกรรมการนอนให้สอดคล้องกับร่างกายของตัวเอง ผู้หญิงอาจเลือกเข้านอนก่อน และตื่นก่อนผู้ชาย หรือปรับการใช้ชีวิตเพื่อช่วยเหลือกันและกัน ให้การนอนหลับของทั้งผู้หญิงและผู้ชายดีขึ้น

อ้างอิง
Why do women sleep worse than men?
Research uncovers differences between men and women in sleep, circadian rhythms and metabolism
Gender-based differences in sleep discovered in new study
Sex differences in sleep, circadian rhythms, and metabolism: Implications for precision medicine

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
นอนอย่างเข้าใจ...แก้ “นอนไม่หลับ” อย่างได้ผล
รู้ทันกันได้ : วัยรุ่นกับการนอนหลับ สู่การมีสุขภาพสมองที่ดี
ปรับก่อนป่วย : ท่าบริหารง่าย ๆ ก่อนนอนช่วยให้หลับสบาย
คนสู้โรค : การนอนหลับกับสุขภาพ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

นอนไม่หลับนอนคุณภาพการนอนปัญหาการนอนแก้ปัญหาการนอน
อธิเจต มงคลโสฬศ
ผู้เขียน: อธิเจต มงคลโสฬศ

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล ไทยพีบีเอส สนใจเนื้อหาด้านสุขภาพจิต สาธารณสุข และความยั่งยืน รวมถึงประเด็นทันกระแสที่มีแง่มุมน่าสนใจซ่อนอยู่

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด