สถานการณ์น้ำท่วม เริ่มเพิ่มระดับเข้าสู่ภาคกลาง โดยเฉพาะปริมาณที่ไหลเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา มีความกังวลว่าหากปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นจนเข้าสู่ภาวะวิกฤต จะรับมืออย่างไร ?
Thai PBS รวบรวมเรื่องน่ารู้ อาทิ พื้นที่นอก – ในคันกั้นน้ำคืออะไร ? เมื่อได้ยินข่าวระดับแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น สถานที่ไหนควรต้องระวังบ้าง ? และมีวิธีรับมือหากเกิดน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างไร ?
นอก-ในคันกั้นน้ำคืออะไร ? ที่ไหนต้องระวังบ้าง ?
ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีมาตรการป้องกันน้ำท่วม และหนึ่งในนั้นคือการสร้างคันกั้นน้ำ โดยเฉพาะคันกั้นน้ำล้อมรอบแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อป้องกันน้ำท่วมในช่วงเวลาน้ำหลาก
โดย “ด้านใน” คันกั้นน้ำ จะถือเป็นส่วนที่ได้รับการป้องกันจากน้ำท่วม ขณะที่ “นอกคันกั้นน้ำ” เป็นส่วนที่มักจะอยู่ติดริมแม่น้ำมาก ๆ มีลักษณะเป็นพื้นที่ต่ำ ทำให้ไม่สามารถสร้างคันกั้นน้ำได้ จึงมีการสร้างคันกั้นน้ำออกมา โดยคันกั้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยามีทั้งแบบสร้างขึ้น และเสริมจากแนวกั้นธรรมชาติอยู่ตลอดฝั่งแม่น้ำ
อย่างไรก็ตาม เมื่อแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มมีปริมาณน้ำสูงขึ้น พื้นที่เฝ้าระวังจะมีทั้งพื้นที่ที่แม่น้ำไหลผ่าน และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบข้างเคียง โดยรวมทั้งหมด 10 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ รวมถึงกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ยังมีพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบเพิ่มเติมอย่าง สมุทรสาคร สระบุรีและนครปฐม
พื้นที่ “นอกคันกั้นน้ำ” ในกรุงเทพฯ มีที่ไหนต้องระวังบ้าง ?
พื้นที่เฝ้าระวังเมื่อแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสูงในกรุงเทพฯ เนื่องจากอยู่นอกคันกั้นน้ำ รวมถึงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วม 16 ชุมชน ดังต่อไปนี้
เขตดุสิต
- ซอยสีคาม (ซอยสามเสน 19 ช่วงปลาย) จำนวน 3 ครัวเรือน
- ราชผาทับทิมร่วมใจ (เชิงสะพานกรุงธน) จำนวน 30 ครัวเรือน
- ปลายซอยมิตตาคาม (ซอยสามเสน 13 ช่วงปลาย) จำนวน 85 ครัวเรือน
- เทวราชกุญชร จำนวน 78 ครัวเรือน
เขตพระนคร
- ท่าวัง จำนวน 16 ครัวเรือน
- ท่าเตียน จำนวน 12 ครัวเรือน
เขตสัมพันธวงศ์
- วัดปทุมคงคา (ท่าน้ำสวัสดี) จำนวน 12 ครัวเรือน
- ตลาดน้อย จำนวน 1 ครัวเรือน
เขตบางคอแหลม
- มาตานุสรณ์ จำนวน 13 ครัวเรือน
- หลัง รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ จำนวน 22 ครัวเรือน
- วัดอินทร์บรรจง จำนวน 20 ครัวเรือน
- วัดบางโคล่นอก จำนวน 56 ครัวเรือน
เขตยานนาวา
- โรงสี ถนนพระราม 3 จำนวน 330 ครัวเรือน
เขตบางกอกน้อย
- ดุสิต นิมิตรใหม่ จำนวน 16 ครัวเรือน
เขตคลองสาน
- เจริญนคร ซอย 29/2 จำนวน 37 ครัวเรือน
- ช่างนาค-สะพานยาว จำนวน 2 ครัวเรือน
พื้นที่ “นอกคันกั้นน้ำ” เขตปริมณฑล (นนทบุรี – ปทุมธานี - สมุทรสาคร) มีที่ไหนบ้าง ?
จังหวัด นนทบุรี มีชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำ หากเกิดน้ำท่วมแม่น้ำเจ้าพระยาจะส่งผลกระทบต่อบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำกับผู้อาศัยอยู่ในชุมชน 30 จุดด้วยกัน ได้แก่
1. ชุมชนบริเวณวัดค้างคาว ม.4 ต.บางไผ่
2. ชุมชนริมน้ำท่าอิฐ ม.8 ต.ท่าอิฐ
3. ชุมชนบริเวณมัสยิดท่าอิฐ ม.10 ต.ท่าอิฐ
4. ชุมชนคลองบางภูมิ ม.5 ฝั่ง ต.คลองพระอุดม
5. ชุมชนบริเวณวัดไทรม้าเหนือ ต.ไทรม้า
6. ชุมชนบริเวณวัดไทรม้าใต้ ต.ไทรม้า
7. ชุมชนวัดเฉลิมพระเกียรติ ต.บางศรีเมือง
8. ชุมชนวัดอมฤต ต.บางไผ่
9. ชุมชนบริเวณเกาะเกร็ด ต.เกาะเกร็ด
10. ชุมชนบริเวณวัดแคนอก ต.บางกระสอ
11. ชุมชนวัดศาลารี ต.บางไผ่
12. ชุมชนวัดค้างคาว ม.4 ต.บางไผ่
13. ชุมชนบริเวณวัดโพธิ์ทองบน ต.บ้านใหม่
14. ชุมชนบริเวณวัดสลักเหนือ ต.บ้านใหม่
15. ชุมชนวัดแจ้งศิริสัมพันธ์ ต.ท่าทราย
16. ชุมชนบริเวณ หลัง รพ.พระนั่งเกล้า ต.บางกระสอ
17. ชุมชนบริเวณท่าน้ำนนทบุรี ต.สวนใหญ่
18. ชุมชนบริเวณหมู่บ้านเทพประทาน ต.บางกรวย
19. ชุมชนบริเวณวัดกู้ ต.บางพูด
20. ชุมชนบริเวณวัดบ่อ ต.ปากเกร็ด
21.ชุมชนบริเวณวัดสนามเหนือ ต.ปากเกร็ด
22.ชุมชนวัดกลางเกร็ด ต.บางตลาด
23.ชุมชนวัดแสงสิริธรรม ต.ท่าอิฐ
24.ชุมชนริมน้ำท่าอิฐ ม.4, ม.5, ม.6 และ ม.7 ต.ท่าอิฐ
25.ชุมชนวัดตำหนักใต้ ต.ท่าทราย
26.ชุมชนบริเวณวัดท่าบางสีทอง ต.วัดชลอ
27.ชุมชนบริเวณวัดชลอ ต.วัดชลอ
28.ชุมชนบริเวณวัดเกตุประยงค์เล็ก ต.วัดชลอ
29.ชุมชนบริเวณวัดพิกุลทอง ต.วัดชลอ
30.ชุมชนวัดใหญ่สว่างอารมณ์ ต.อ้อมเกร็ด
จังหวัด ปทุมธานี พื้นที่อีกฝั่งตรงข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยากับจังหวัด นนทบุรี มีพื้นที่เฝ้าระวังนอกคันกั้นน้ำอยู่เช่นกัน โดยประชาชนสามารถตรวจดูระดับน้ำผ่านกล่องวงจรปิดได้ที่ลิงก์นี้ http://101.109.253.60:8999/ ในส่วนของพื้นที่เสี่ยงนอกคันกั้นน้ำจะอยู่บริเวณ ดังนี้
อำเภอเมืองปทุมธานี
- ตำบลบางปรอก ชุมชนริมแม่น้ำ
- ตำบลบางฉาง หมู่ 4
- ตำบลบางหลวง หมู่ 2-4
- ตำบลบางเดื่อ หมู่ 4-6
- ตำบลบางคูวัด หมู่ 4,5,6,9,10
- ตำบลบ้านใหม่ หมู่ 4-5
- ตำบลบ้านกลาง หมู่ 3-5
- ตำบลบ้านกระแซง หมู่ 1-2
- ตำบลบางกะดี หมู่ 1-3
- ตำบลบางขะแยง หมู่ 1-4
อำเภอสามโคก
- ตำบลท้ายเกาะ หมู่ 1-3
- ตำบลบางกระบือ หมู่ 1-3
- ตำบลคลองควาย หมู่ 1,4
- ตำบลบางเตย หมู่ 3,9
- ตำบลสามโคก หมู่ 1-4
- ตำบลบางโพธิ์เหนือ 1-2
- ตำบลกระแซง 1-3
- ตำบลเชียงรากใหญ่ หมู่ 6-7
- ตำบลบ้านงิ้ว หมู่ 1-5
- ตำบลเชียงรากน้อย หมู่ 2,3,5
จังหวัด สมุทรสาคร ได้รับผลกระทบจากอ้อมจากปริมาณน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านมาทางแม่น้ำท่าจีน โดยจะมีพื้นที่เสี่ยงอยู่ติดริมแม่น้ำไม่มีคันป้องกันตลิ่ง ดังนี้
- อำเภอเมืองสมุทรสาคร
- อำเภอกระทุ่มแบน
- อำเภอบ้านแพ้ว
นอกคันกั้นน้ำ พื้นที่เขื่อนเจ้าพระยา ที่ต้องระวัง
การระบายน้ำจากทางเหนือจะมีการปรับเร่งน้ำออกผ่านทางเขื่อนเจ้าพระยา ส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา และพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำจะได้รับผลกระทบได้ มีดังนี้
- คลองโผงเผง จ.อ่างทอง
- วัดไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง
- อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง
- คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา
- แม่น้ำน้อยบริเวณ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา
- วัดสิงห์ อ.อินทร์บุรี อ.เมือง อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
- วัดเสือข้าม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
- โพนางดำ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
จังหวัดอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากแม่น้ำเจ้าพระยา
เนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชื่อมต่อกับแม่น้ำสายอื่น ๆ ปริณมาณน้ำสามารถส่งผลถึงกันได้ โดยแม่สายที่ได้รับผลกระทบด้วย ได้แก่ แม่น้ำท่าจีน และคลองชัยนาท - ป่าสัก โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบดังต่อไปนี้
สุพรรณบุรี พื้นที่ใกล้กับแม่น้ำท่าจีน(แม่น้ำสุพรรณ) ได้แก่
- อำเภอสามชุก
- อำเภอศรีประจันต์
- อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
- อำเภอบางปลาม้า
- อำเภอสองพี่น้อง
นครปฐม พื้นที่ใกล้กับแม่น้ำท่าจีน ได้แก่
- อำเภอบางเลน
- อำเภอนครชัยศรี
- อำเภอสามพราน
ลพบุรี บริเวณริมคลองชัยนาท-ป่าสักและแม่น้ำลพบุรี
- อำเภอเมืองลพบุรี
- อำเภอบ้านหมี่
- อำเภอท่าวุ้ง
สระบุรี พื้นที่ติดคลองชัยนาท-ป่าสักต่อเนื่องกับคลองระพีพัฒน์
- ตำบลตลาดน้อย อำเภอบ้านหมอ
- ตำบลโคกใหญ่ อำเภอบ้านหมอ
- ตำบลหรเทพ อำเภอบ้านหมอ
- ตำบลหนองโดน อำเภอหนองโดน
- อำเภอดอนพุด
น้ำท่วม “ยกของขึ้นที่สูง ปลั๊กไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า” ทำอย่างไรจึงปลอดภัย
เมื่อรู้ว่าอยู่ในพื้นที่เสี่ยงแล้ว เราจะทำอย่างไรได้บ้าง ? คำแนะนำสำหรับคนทั่วไปจากกรมอนามัยเพื่อรับมือน้ำท่วมมีดังนี้
1 ติดตามข่าวสาร สถานการณ์น้ำท่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
2 หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ควรเตรียมกระสอบทราบ เพื่อใช้อุดปิดทางที่น้ำจะไหลเข้าบ้าน
3 เตรียมยกของขึ้นชั้นบนหรือที่สูง ให้พ้นจากระดับน้ำท่วม
4 เรียนรู้เส้นทางอพยพไปที่ปลอดภัยในพื้นที่
5 รู้หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่น
6 เครื่องอุปกรณ์สิ่งจำเป็นต่าง ๆ ให้พร้อม เช่น โทรศัพท์มือถืออุปกรณ์ทำอาหาร อาการแห้ง น้ำดื่มสะอาด ยารักษาโรค เป็นต้น
7 ควรปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า เตาแก็ส ยกเบรกเกอร์ ปิดบ้านให้เรีอยร้อยก่อนออกจากบ้าน
8 เขียนหรือระบุที่ฟิวส์หรือเบรกเกอร์ว่าตัวใด ควบคุมการใช้ไฟฟ้าจุดใดในบ้าน
สิ่งที่ต้องระวัง ได้แก่
1 งดเล่นน้ำ หรืออยู่ใกล้ทางน้ำหลาก
2 ห้ามขับรถเข้าไปในพื้นที่น้ำท่วม หรือบริเวณที่มีน้ำหลาก ให้ออกจากรถและไปอยู่ในที่สูงทันที
3 สอนให้เด็กเล็กรู้จักป้องกันตนเอง เช่น ขณะน้ำท่วม ไม่สัมผัสปลั๊กไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า
4 ศึกษาแผนฉุกเฉินของพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อม เช่น ในแต่ละพื้นที่มีจุดรวมพลกรณีฉุกเฉินอย่างไร ?
ในส่วนของการใช้ไฟฟ้าในช่วงน้ำท่วมนั้น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวงมีข้อแนะนำ ดังนี้
1 ก่อนน้ำท่วม หากรู้ว่าน้ำจะท่วมแน่ชัดควรปลดเมนสวิตช์ก่อนอพยพ ย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าขึ้นไม่ให้น้ำท่วมถึง
2 ขณะน้ำท่วม หากเป็นบ้านชั้นเดียว งดใช้ไฟฟ้าเด็ดขาด และย้ายออกจากบ้าน กรณีบ้าน 2 ชั้น ควรมีสวิตช์แยกแต่ละชั้น ปลดสวิตช์เบรกเกอร์ชั้นล่างเพื่อตัดกระแสไฟฟ้า ห้ามใช้ปลั๊กและสวิตข์ไฟฟ้าที่น้ำท่วมถึงเด็ดขาด อย่าสัมผัสสวิตช์ และงดใช้ไฟฟ้าขณะตัวเปียกหรือสัมผัสน้ำ
3 หลังน้ำท่วมลดลงแล้ว เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ควรให้ช่างตรวจสอบ และแก้ไขทันที เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยสำหรับการใช้งาน
เบอร์ฉุกเฉินที่ควรรู้มีอะไรบ้าง ?
รวมเบอร์สายด่วนต้องรู้ #ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม2567 ต่อไปนี้คือเบอร์ฉุกเฉินที่คุณควรรู้
👉 1510 ศูนย์จิตอาสาช่วยเหลือประชาชน
👉 1111 ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ทำเนียบรัฐบาล
👉 1784 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
👉 1567 ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย
👉 1586 กรมทางหลวง
👉 1146 ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท สำหรับสอบถามเส้นทางน้ำท่วม
👉 1460 กรมชลประทาน สอบถามข้อมูลน้ำในเขื่อน
👉 1193 ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม
👉 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
👉 1677 เครือข่ายอาสาสมัครวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน
📱 ประชาชนสามารถร่วมแจ้งสถานการณ์น้ำท่วม-ขอความช่วยเหลือได้ที่รายการ #สถานีประชาชน - #ร้องทุกข์ลงป้ายนี้ ไทยพีบีเอส
🔹 LINE @RongTookThaiPBS
🔹 โทร. 02-790-2630-2 , 02-790-2111
เบอร์โทรฉุกเฉินด้านสาธารณูปโภค
- 1130 การไฟฟ้านครหลวง (สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ใน กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ)
- 1129 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอื่น ๆ)
- 1125 การประปานครหลวง (สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ใน กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ)
- 1662 การประปาส่วนภูมิภาค (สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอื่น ๆ)
อ้างอิงข้อมูล
- สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- การไฟฟ้านครหลวง
- กรมอนามัย