ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เดี๋ยว ! คนละตัว พบภาพลูกฮิปโปในสหรัฐฯ ถูกแชร์อ้างภาพ "น้องหอมแดง"


Verify

ณัฐพล ทุมมา

แชร์

เดี๋ยว ! คนละตัว พบภาพลูกฮิปโปในสหรัฐฯ ถูกแชร์อ้างภาพ "น้องหอมแดง"

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1846

เดี๋ยว ! คนละตัว พบภาพลูกฮิปโปในสหรัฐฯ ถูกแชร์อ้างภาพ "น้องหอมแดง"

ภาพของลูกฮิปโปในสหรัฐฯ ที่ชื่อ "ฟริตซ์" ซึ่งเป็นลูกฮิปโปของสวนสัตว์ซินซินนาติ ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐโอไฮโอของสหรัฐอเมริกา ถูกเข้าใจผิดคิดว่าเป็นภาพของ "น้องหอมแดง" ลูกฮิปโปเพศหญิง ของสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ โดยภาพดังกล่าวพบว่าถูกแชร์ไปกว่า 33,000 ครั้ง

หลังจากที่สวนสัตว์ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยต้อนรับลูกฮิปโปเพศหญิงแรกเกิดตัวใหม่ ภาพของลูกฮิปโปอีกตัวหนึ่งก็ถูกนำมาแชร์บนสื่อสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง พร้อมกับคำกล่าวอ้างเท็จว่าเป็นรูปของ "น้องหอมแดง" แต่ที่จริงแล้ว นี่เป็นภาพตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 ของ "ฟริตซ์" ลูกฮิปโปของสวนสัตว์ซินซินนาติซึ่งตั้งอยู่ในรัฐโอไฮโอของสหรัฐอเมริกา
"ชื่อ หอมแดง อะใช่สุดแระ" ผู้ใช้งาน X บัญชีหนึ่งโพสต์รูปและข้อความซึ่งถูกแชร์ไปมากกว่า 33,000 ครั้ง หลังจากโพสต์เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567

ภาพนี้ถูกแชร์ไม่กี่วันก่อนที่จะหมดเขตกิจกรรมโหวตชื่อของลูกฮิปโปเกิดใหม่ที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษจัดขึ้น (ลิงก์บันทึกที่นี่ และนี่)

ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ทางสวนสัตว์ได้ประกาศให้ "หอมแดง" เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของลูกฮิปโปจากคะแนนโหวตของประชาชน (ลิงก์บันทึก)

ภาพถ่ายหน้าจอของโพสต์เท็จ บันทึกภาพวันที่ 31 ตุลาคม 2567

ภาพเดียวกันนี้ยังถูกนำไปแชร์พร้อมกับคำกล่าวอ้างเท็จบน X ที่นี่ และนี่

นอกจากนี้ ภาพและคำกล่าวอ้างเท็จเดียวกันก็ถูกแชร์โดยบัญชี X ทางการของ "หมูเด้ง" โดยกระแสของลูกฮิปโปแคระจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียวถือเป็นต้นแบบความสำเร็จที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ ฝากความหวังไว้กับหอมแดง (ลิงก์บันทึก)

ความน่ารักและซุกซนของหมูเด้งกลายเป็นกระแสไวรัลบนสื่อสังคมออนไลน์ทั่วโลก และทำให้ยอดจำหน่ายบัตรเข้าสวนสัตว์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงสี่เท่าตัว นอกจากนี้ยังมีสินค้าลายหมูเด้ง มีมตลก ๆ และคลิปสอนทำงานฝีมืออย่างการถักโครเชต์หรือเค้กรูปหมูเด้งอีกด้วย (ลิงก์บันทึก)

อย่างไรก็ตาม ภาพที่ถูกแชร์ออนไลน์ดังกล่าวไม่ใช่ภาพของหอมแดง

ฟริซต์แห่งสวนสัตว์ซินซินนาติ

การค้นหาภาพย้อนหลังบนกูเกิลพบภาพเดียวกันถูกโพสต์ครั้งแรกโดยบัญชีเฟซบุ๊กที่มีการตรวจสอบยืนยันของสวนสัตว์และสวนพฤกษศาสตร์ซินซินนาติเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 (ลิงก์บันทึก)

ภาพที่ถูกแชร์ในโพสต์เท็จได้นำภาพต้นฉบับจากสวนสัตว์และสวนพฤกษศาสตร์ซินซินนาติมาสลับด้าน

ด้านล่างคือการเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างโพสต์เท็จ (ซ้าย) และโพสต์ของสวนสัตว์ซินซินนาติเมื่อปี 2565 (ขวา):

การเปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างโพสต์เท็จ (ซ้าย) และโพสต์ของสวนสัตว์ซินซินนาติเมื่อปี 2565 (ขวา)

"ฟริซต์น่ารักและเขาก็รู้ตัวด้วย" ข้อความบางส่วนของโพสต์ดังกล่าวระบุ

ข้อมูลบนเว็บไซต์ของสวนสัตว์ซินซินนาติระบุว่า ฟริตซ์เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 และเป็นชื่อที่ได้มาจากการโหวตของประชาชนเช่นกัน (ลิงก์บันทึก)

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ ได้โพสต์ทั้งภาพและวิดีโอจำนวนมากของหอมแดงลงในเพจเฟซบุ๊ก

"ฟริซต์น่ารักและเขาก็รู้ตัวด้วย" ข้อความบางส่วนของโพสต์ดังกล่าวระบุ

ข้อมูลบนเว็บไซต์ของสวนสัตว์ซินซินนาติระบุว่า ฟริตซ์เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 และเป็นชื่อที่ได้มาจากการโหวตของประชาชนเช่นกัน (ลิงก์บันทึก)

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ ได้โพสต์ทั้งภาพและวิดีโอจำนวนมากของหอมแดงลงในเพจเฟซบุ๊ก

ภาพถ่ายหน้าจอโพสต์เฟซบุ๊กของสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2567

ข้อมูลจาก AFP

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวปลอมหลอกลวงโดนหลอกฮิปโปฮิปโปแคระฮิปโปโปเตมัสสวนสัตว์
ณัฐพล ทุมมา

ผู้เขียน: ณัฐพล ทุมมา

ทีม Thai PBS Verify

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด