ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

How to รู้ทริก มือถือแอนดรอยด์ปลอดภัยจาก “มัลแวร์”


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

จิราภพ ทวีสูงส่ง

แชร์

How to รู้ทริก มือถือแอนดรอยด์ปลอดภัยจาก “มัลแวร์”

https://www.thaipbs.or.th/now/content/192

How to รู้ทริก มือถือแอนดรอยด์ปลอดภัยจาก “มัลแวร์”

     ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวไปไกลในปัจจุบัน ด้านดีก็มีมากมาย แต่ด้านร้ายก็มีเช่นกัน อย่างเช่น ส่งผลให้โจรโลกดิจิทัล ไม่ต้องใช้มีดดักจี้ปล้นดังเช่นอดีตแล้ว เพียงใช้ "มัลแวร์" แฝงในแอปพลิเคชันก็สามารถก่อเหตุได้ โดยล่าสุดเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เปิดเผยข้อมูลจาก CloudSEK บริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เกี่ยวกับ “DogeRAT” มัลแวร์ตัวใหม่ ภัยร้ายบนระบบ Android

อ่าน : เตือนภัย "DogeRAT" มัลแวร์ตัวใหม่ บน Android

     ซึ่งมีหลักการทำงานของมัลแวร์ DogeRAT จะโฆษณาบนเว็บไซต์ปลอม หรือแอปพลิเคชันปลอมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด เมื่อเผลอทำการติดตั้งก็จะทำให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน และเข้าควบคุมโทรศัพท์มือถือที่มัลแวร์ฝังตัวอยู่ ดังนั้นเพื่อให้รู้เท่าทันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้น ไทยพีบีเอสจึงขอนำประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับมัลแวร์มาให้ได้ศึกษา เพื่อเป็น How to รู้ทริก มือถือแอนดรอยด์ปลอดภัยจาก “มัลแวร์”

คนไทยชอบเล่นเกม โจรไซเบอร์เห็นช่องแฝงมัลแวร์
     จากรายงาน Digital 2023 Global Overview Report โดย We Are Social พบว่า คนไทยนิยมเล่นเกมมากเป็นอันดับ 4 ของโลก โดยอยู่ที่ 92.3% ขณะที่ค่าเฉลี่ยโลกนั้นอยู่ที่ 81.9% ซึ่งความหมายของการเล่นเกมนั้น รวมทุกอย่างทั้งเกมคอนโซล, เกมมือถือ และอื่น ๆ นอกจากนี้คนไทยยังใช้เวลาเป็นอันดับ 2 ของโลกในการเล่นเกมผ่านคอนโซล คืออยู่ที่ 1.43 ชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียว สบช่องให้โจรไซเบอร์อาศัยความนิยมชมชอบที่มีต่อเกมของคนไทย แฝงมัลแวร์คอยดูดข้อมูลส่วนตัวเพื่อก่ออาชญากรรมไซเบอร์ 

     ซึ่งจากการเปิดเผยของบริษัท CloudSEK พบว่าภายใน Google Play Store มี Apps และ เกมที่มีการแฝงด้วยมัลแวร์ที่สามารถเจาะข้อมูลสำคัญเช่น ข้อมูลส่วนบุคคล, การขโมยข้อมูลในไฟล์, แอบเก็บข้อมูลทั้งรหัสผ่านต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่ามีถึง 193 แอปพลิเคชันที่ติดซอฟต์แวร์อันตรายอยู่ในโทรศัพท์ของผู้ใช้ และแอปฯ วายร้ายเหล่านี้ถูกดาวน์โหลดมากกว่า 30 ล้านครั้งเลยทีเดียว

เรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด! “อาชญากรรมทางไซเบอร์” รู้จักไว้..ป้องกันภัยไม่ตกเป็นเหยื่อ

ทำอย่างไร ? ให้ปลอดภัยจาก “มัลแวร์”
     - ติดตั้งโปรแกรมแอนตีไวรัส (แอนตีมัลแวร์)
     - ติดตั้งแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายเท่านั้น
     - ติดตั้งแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์จากแหล่งที่รู้จัก
     - อัปเดตระบบปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ

How to รู้วิธีเช็กว่าถูกติดตั้งแอปพลิเคชันมัลแวร์และรีโมตดูดเงินหรือไม่ 
     กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้แนะนำวิธีตรวจสอบโทรศัพท์มือถือในระบบ Android ว่าถูกติดตั้งมัลแวร์ รวมถึงแอปฯ รีโมตดูดเงินหรือไม่ ดังต่อไปนี้
     - กดเลือกที่เมนูการตั้งค่า (รูปฟันเฟือง) เลือก แอปฯ แล้วกดที่จุด 3 จุด มุมขวาบน เลือกเมนูย่อย การเข้าถึงพิเศษ
     - หากไม่สามารถเปิดดูเมนูดังกล่าวได้ โดยหน้าจอจะเด้งออกไปที่หน้าหลักทันที แสดงว่ามือถือเครื่องนั้นถูกฝังแอปฯ เรียบร้อยแล้ว

4 วิธีป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ หลัง FBI เปิดข้อมูล ปี 22 “แรนซัมแวร์” จู่โจมโครงสร้างพื้นฐานสำคัญมะกัน 860 แห่ง

หากมือถือแอนดรอยด์ติดมัลแวร์ควรทำอย่างไร ?
     ตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทันที แล้วสำรองข้อมูลที่สำคัญ จากนั้นทำการล้างเครื่อง โดยรีเซตเครื่องกลับสู่ค่าเริ่มต้นที่มาจากโรงงาน นอกจากนี้ควรหมั่นตรวจสอบให้แน่ใจทุกครั้งหลังการใช้งานแอปพลิเคชัน และดูรีวิวเพื่อให้มั่นใจว่าน่าเชื่อถือมากแค่ไหน

     ข้อควรทำอีกประการก็คือ ลบแอปฯ ที่เป็น Bloatware (แอปฯ ฟรีแถมมากับมือถือ) และลบแอปฯ อื่น ๆ ที่ไม่ได้ติดตั้งจาก Play Store เนื่องจากแอปฯ นอก Play Store บางครั้งมีฟังก์ชันที่ละเมิดข้อกำหนดในการให้บริการของกูเกิล และบางครั้งอาจเป็นเพราะผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายแอปฯ ที่ใส่สปายแวร์หรือมัลแวร์อื่น ๆ เข้ามาดูดข้อมูลเรา และแม้ว่าบางครั้งอาจพบเจอแอปฯ ที่ติดไวรัสมัลแวร์ที่ Play Store ได้เช่นกัน แต่กูเกิลจะสแกนเป็นประจำอย่างเข้มงวดเพื่อลบมัลแวร์ต่าง ๆ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยสำหรับมือถือของเรา แนะนำให้ลบแอปฯ ทั้งหมดที่ไม่ได้ดาวน์โหลดจาก Play Store ออก

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : wearesocial
 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

มัลแวร์มือถือแอนดรอยด์Android
จิราภพ ทวีสูงส่ง

ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

"เซบา บาสตี้" เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส คนทำงานด้านการเขียน : Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphobT@thaipbs.or.th)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด