วันผู้ลี้ภัยโลก


สิทธิมนุษยชน

20 มิ.ย. 66

Thai PBS Digital Media

Logo Thai PBS
วันผู้ลี้ภัยโลก

"วันผู้ลี้ภัยโลก"  หรือ world refugee day ตรงกับวันที่ 20 มิถุนายน ของทุกปี  ถูกกำหนดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ เพื่อระลึกถึงความเข้มแข็งและความกล้าหาญของผู้คนที่ถูกบังคับให้หนีออกจากประเทศบ้านเกิดจากความขัดแย้งและการประหัตประหาร

แต่หลายภูมิภาคยังคงพบการย้ายถิ่นฐานของผู้คนเป็นจำนวนมาก ทั้งจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการสู้รบ จุดหนึ่ง คือบริเวณชายแดนประเทศ เมียนมา ที่ยังคงมีการปะทะกันระหว่างทหารเมียนมากับ กลุ่มติดอาวุธในพื้นที่ ทำให้ชาวบ้าน ต้องอพยพมาฝั่งไทยชั่วคราว

นอกจากนี้ ยังมี ผู้คนจำนวนมากถูกบีบบังคับให้ออกจากแผ่นดินบ้านเกิด แสวงหาสถานที่แห่งใหม่ที่มอบสิทธิขั้นพื้นฐานให้ คือเสรีภาพ ความปลอดภัย และโอกาสใหม่ของชีวิต

รายงานประจำปี และรายงานแนวโน้มผู้พลัดถิ่นทั่วโลกของ UNHCR ปี 2565 พบว่าจำนวนผู้พลัดถิ่นจากสงคราม การประหัตประหาร ความรุนแรง และการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ที่ 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ 19 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้นมามากที่สุดเท่าที่เคยมีมา สงครามในยูเครนเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการพลัดถิ่น นับเป็นการลี้ภัยที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 

นอกจากนี้ ประเทศไทย ผู้ลี้ภัย 51.3% ยังไม่ได้ลงทะเบียน และ 48.5% ลงทะเบียนแล้ว คิดเป็นจำนวนประมาณ 44,200 คน โดยมีผู้ลี้ภัยในเมืองอยู่ที่ประมาณ 5,000 คน ในกรุงเทพฯและปริมณฑล

ผู้ลี้ภัยในประเทศไทย

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่งใน 4 จังหวัด (กาญจนบุรีตากแม่ฮ่องสอนและราชบุรี) จำนวน 97,418 คน (ข้อมูลเดือนมิถุนายน พ.ศ 2561) ซึ่งได้หนีความขัดแย้งภายในประเทศพม่าข้ามชายแดนตะวันออกของประเทศที่บริเวณชายแดนไทย-พม่ามายังฝั่งไทยต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 30 ปี โดยส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงแดง ผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในที่พักพิงชั่วคราวที่ได้ลงทะเบียนกับ UNHCR มีจำนวน 48,938 คนและอีก 48,480 คนยังไม่ได้ลงทะเบียน ในจำนวนนี้มีคนที่ยื่นขอไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม โดยคนที่ได้ตั้งถิ่นฐานใหม่มีจำนวน 338 คนและคนที่กำลังรอการพิจารณาจำนวน 1,470 คนโดยมีจุดหมายปลายทางหลักคือประเทศสหรัฐฯ 

ประเทศไทยยังได้รับรองผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยในเขตเมือง ปัจจุบันมีผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยในเขตเมืองประมาณ 4,693 คน และ 1,422 คนตามลำดับ (ข้อมูลเดือนภุมภาพันธ์ 2561) จาก 45 ประเทศทั่วโลก  ในปี 2560 มีจำนวนผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยที่ขึ้นทะเบียนกับ UNHCR 7,212 คนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เขตเมืองและกึ่งเมืองอื่น ๆโดยกลุ่มที่ใหญ่สุดมาจากปากีสถาน เวียดนามและปาเลสไตน์

ผู้ลี้ภัยเขตเมืองส่วนใหญ่เดินทางเข้าประเทศไทยด้วยวีซ่านักท่องเที่ยวและเมื่อไม่สามารถขอสถานะทางกฎหมายอื่น ๆ ได้ พวกเขาจะอาศัยอยู่ต่อไปจนเกินอายุวีซ่า สืบเนื่องจากค่าครองชีพที่ค่อนข้างต่ำของประเทศไทยเป็นเหตุให้ไทยมักกลายเป็นเป้าหมายปลายทางของผู้ลี้ภัย บุคคลเหล่านี้ไม่ว่าจะได้รับการยอมรับสถานะจาก UNHCR หรือไม่ก็ตาม ต่างถือว่าเป็นผู้ละเมิดพระราชบัญญัติคนเข้ามเมือง พ.ศ. 2522 และอาจถูกจับกุม ควบคุมตัวและส่งออกนอกราชอาณาจักร

ผู้ลี้ภัยมีการหลบหนีหรือเดินทางโดยเครื่องบิน รถยนต์ เรือ ไปจนถึงการเดินเท้าและมีทั้งที่เข้าเมืองแบบถูกกฎหมาย ผิดกฎหมายหรือตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ พวกเขาอาจพักพิงในประเทศทางผ่านชั่วคราวเพื่อขอสถานะผู้ลี้ภัย แต่ที่ผ่านมาการรับรองสถานะและส่งผู้ลี้ภัยไปประเทศที่สามล่าช้า ทำให้มีผู้ลี้ภัยตกค้างในประเทศทางผ่านจำนวนมาก

ยุติความขัดแย้ง คือทางแก้ปัญหาผู้ลี้ภัย 

ในปี 2560 ที่ผ่านมา มีผู้ลี้ภัยตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวม 68.5 ล้านคน สูงกว่าปี 2559 ราว 3 ล้านคน 40 ล้านคนกลายเป็นผู้อพยพภายในประเทศของตน 25.4 ล้านคนกลายเป็นผู้ลี้ภัย ในจำนวนนี้ 19.9 ล้านคนอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และอีก 5.4 ล้านคน เป็นผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ที่ลงทะเบียนกับ UNRWA และอีก 3.1 ล้านคนกลายเป็นผู้แสวงหาที่ลี้ภัย 85% ของผู้พลัดถิ่นทั่วโลกส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และ 10 ล้านคนต้องกลายเป็นคนไร้รัฐ ในหนึ่งวันมีผู้คนจำนวน 44,400 คน หรือในเวลาเพียง 2 วินาทีจะมีหนึ่งคนถูกบังคับให้หลบหนีออกจากบ้านของตนเนื่องจากความขัดแย้งและการประหาร

แน่นอนว่าการแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยที่ยั่งยืนคือ การยุติสงครามและความขัดแย้งที่รุนแรงต่าง ๆ หากแต่การแก้ปัญหาดังกล่าวต้องอาศัยเวลาที่ยาวนานมาก ในแต่ละวัน มีคนต้องลี้ภัยจำนวนกว่า 34,000 คนในระหว่างการลี้ภัย ผู้คนเหล่านี้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากมาย อันได้แก่

พลเมืองอยู่ได้ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติปี 2494 และพิธีสารเลือกรับว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย (Optional Protocol Relating to the Status of Refugee) ปี 2510 ได้ระบุสิทธิของผู้ลี้ภัยหลายประการ ซึ่งรัฐผู้เป็นภาคีในอนุสัญญาและพิธีสารดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามให้ผู้ลี้ภัยเข้าถึงสิทธิเหล่านั้น หากประเทศที่ให้การพักพิงลี้ภัยมีกฎหมายภายในเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยเป็นการเฉพาะ ผู้ลี้ภัยต้องได้รับสิทธิและหน้าที่ได้กำหนดไว้ตามกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องนั้น ๆ หากประเทศที่ให้การพักพิงไม่มีกฎหมายภายในกำหนดไว้ ประเทศนั้น ๆ ต้องปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยตามหลักมนุษยธรรม

หลักการไม่ส่งกลับคืออะไร ?

หลักการไม่ส่งกลับ เป็นข้อห้ามเด็ดขาดตามกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ให้มีการบังคับส่งกลับบุคคลไปยังประเทศหรือสถานที่ ซึ่งมีความเสี่ยงว่าพวกเขาจะต้องเผชิญกับการถูกการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง โดยเป็นหลักการพื้นฐานได้ยืนยันสิทธิของผู้ลี้ภัยที่จะต้องไม่ถูกผลักดันกลับไปยังประเทศที่พวกเขาต้องเผชิญภัยร้ายแรงต่อชีวิตหรืออิสรภาพ หลักการดังกล่าวนี้ได้รับการยอมรับ และปฏิบัติเป็นหลักกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศแล้วในปัจจุบัน

ผู้เขียน: Thai PBS Digital Media

บทความ NOW แนะนำ