Thailand Web Stat
ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เข้าใจกฎหมาย "การบันทึกเสียงสนทนา" มีความผิดหรือไม่ ?


Insight

สันทัด โพธิสา

แชร์

เข้าใจกฎหมาย "การบันทึกเสียงสนทนา" มีความผิดหรือไม่ ?

https://www.thaipbs.or.th/now/content/2822

เข้าใจกฎหมาย "การบันทึกเสียงสนทนา" มีความผิดหรือไม่ ?

 

การสนทนาทางโทรศัพท์ เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน ทว่าหนึ่งในเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้กับเราทุกคน นั่นคือ การแอบบันทึกเสียงการสนทนา ซึ่งนำมาสู่คำถามที่ว่า พฤติกรรมนี้ มีความผิดหรือไม่ 

Thai PBS มีเรื่องราวน่ารู้ กรณีการใช้ “คลิปเสียงสนทนา” มาบอกกัน

รู้จักกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

PDPA (Personal Data Protection Act) คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลและนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ และไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูล

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 เพื่อให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยครอบคลุมไปถึงข้อมูลเหล่านี้… 

  • ชื่อ
  • ที่อยู่
  • เบอร์โทรศัพท์ 
  • รูปถ่าย  
  • บัญชีธนาคาร
  • อีเมล
  • ไอดีไลน์
  • บัญชีผู้ใช้เว็บไซต์
  • ลายนิ้วมือ
  • ประวัติสุขภาพ
     

จากข้อมูลดังกล่าว ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Personal Data ทั้งนี้ยังมีข้อมูลอีกประเภทที่เรียกว่า ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว หรือ Sensitive Personal Data เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้ของบุคคล และมีความละเอียดอ่อน จึงต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น

  • เชื้อชาติ
  • เผ่าพันธุ์
  • ความคิดเห็นทางการเมือง
  • ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา
  • พฤติกรรมทางเพศ
  • ประวัติอาชญากรรม
  • ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ หรือข้อมูลสุขภาพจิต
  • ข้อมูลสหภาพแรงงาน
  • ข้อมูลพันธุกรรม
  • ข้อมูลชีวภาพ
  • ข้อมูลทางชีวมิติ (Biometric) เช่น รูปภาพใบหน้า, ลายนิ้วมือ, ฟิล์มเอกซเรย์, ข้อมูลสแกนม่านตา, ข้อมูลอัตลักษณ์เสียง, ข้อมูลพันธุกรรม

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาทั่วไป หรือเป็นบริษัท ห้างร้าน มูลนิธิ สมาคม หน่วยงาน องค์กร ร้านค้า หรืออื่นใดก็ตาม หากมีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ หรือมีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ หรือนำไปเปิดเผย ไม่ว่าจะวัตถุประสงค์ใดก็ตาม จำเป็นต้องได้รับคำยินยอม จากเจ้าของข้อมูลด้วยเสมอ

การบันทึกเสียงสนทนา ถือว่ามีความผิดหรือไม่ ?

การบันทึกเสียงการสนทนา หากเป็นการได้รับการยินยอมจากทั้งสองฝ่าย สามารถทำได้ แต่หากคลิปเสียงนั้น ถูกเผยแพร่ลงบนสาธารณะ และทำให้บุคคล ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เสื่อมเสียชื่อเสียง เนื่องจากถูกละเมิดสิทธิ ผู้ที่ได้รับความเสียหาย สามารถฟ้องร้อง เพื่อเรียกร้องสิทธิ และค่าเสียหายได้

ดังนั้น หากต้องการบันทึกเสียงการสนทนา ต้องบอกคู่สนทนาด้วยก่อนเสมอ กรณีหากว่าไม่มีผลทางกฎหมาย เรื่องเหล่านี้ก็ถือเป็นมารยาทที่ควรขออนุญาตก่อนเสมอ การแจ้งให้ทราบ เพื่อให้คู่สนทนามีความระมัดระวังในการใช้ประโยคคำพูดนั่นเอง

การบันทึกเสียงสนทนา ใช้เป็นหลักฐานในศาลได้หรือไม่ ?

กรณีการบันทึกเสียงการสนทนา เพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาคดีในศาล ตามกฎหมายอาญา มาตรา 226/1 หากหลักฐานที่ได้มาโดยชอบ หมายถึง ไม่เกิดจากการข่มขู่ การหลอกลวง หรือการชักจูง เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐาน ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่ใช้ในศาลได้

ในมุมกลับกัน หากเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ เช่น เกิดจากการแอบบันทึกโดยไม่ได้รับการยินยอม ศาลห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มา เว้นแต่การรับฟัง จะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรม มากกว่าเป็นผลเสียที่เกิดจากการละเมิดมาตรฐานทางกฎหมาย หรือสิทธิเสรีภาพของประชาชน ศาลสามารถรับฟังพยานหลักฐานนั้นได้

“คลิปบันทึกเสียง” ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง ?

  • หากใช้คลิปเสียงเพื่อเป็นหลักฐานในกระบวนการยุติธรรม ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ควรหลีกเลี่ยงการเผยแพร่สู่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ที่ถูกอัดเสียง
  • ควรได้รับการยินยอม เพื่อความปลอดภัยและไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ควรขอความยินยอมก่อนการบันทึกเสียงเสมอ 
  • ควรคำนึงถึงการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล ถ้าคลิปเสียงนั้น มีข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ การเผยแพร่โดยไม่ได้รับความยินยอม จะถือเป็นการละเมิดกฎหมาย PDPA
  • การเผยแพร่คลิปบันทึกเสียงที่ทำให้บุคคลเสื่อมเสียชื่อเสียง ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายได้ ทั้งทางแพ่งและอาญา

ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกเสียงก็ดี หรือการกระทำอื่น ๆ ก็ดี หากเป็นการกระทำที่ไม่ได้รับ “การยินยอม” ย่อมเป็นสิ่งไม่พึงกระทำ ไม่ว่ากฎหมายจะรองรับหรือไม่ก็ตาม…

  • คลิปวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง

  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 226/1
  • ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลอ่อนไหว คืออะไร มีกี่ประเภท มีอะไรบ้าง ? / Open PDPA

แท็กที่เกี่ยวข้อง

บันทึกเสียงโทรศัพท์อัดเสียงโทรศัพท์กฎหมาย PDPA
สันทัด โพธิสา

ผู้เขียน: สันทัด โพธิสา

เจ้าหน้าที่เนื้อหาออนไลน์อาวุโส Thai PBS สนใจความเคลื่อนไหวของสังคม ผู้คน และเทรนด์ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ และรวมถึงเป็นสมาชิกทาสแมวมายาวนาน

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด

Failed to load player resources

Please refresh the page to try again.

ERROR_BYTEARK_PLAYER_REACT_100001

00:00

00:00

ให้คะแนนการอ่านข่าวนี้