ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ครั้งที่สอง! เจ้าแมว “Peper” ช่วยนักวิทย์ค้นพบไวรัสชนิดใหม่อีกแล้ว


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

จิราภพ ทวีสูงส่ง

แชร์

ครั้งที่สอง! เจ้าแมว “Peper” ช่วยนักวิทย์ค้นพบไวรัสชนิดใหม่อีกแล้ว

https://www.thaipbs.or.th/now/content/2921

ครั้งที่สอง! เจ้าแมว “Peper” ช่วยนักวิทย์ค้นพบไวรัสชนิดใหม่อีกแล้ว

หรือจะไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ? เมื่อปีที่แล้ว เจ้าแมว “Peper” สีดำน่ารัก สมควรได้รับรางวัลขนานใหญ่ เมื่อเจ้าตัวคาบหนูตายมาวางบริเวณเท้าของ John Lednicky ทาสของมันซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ ก่อนที่เจ้าตัวจะสังเกตเห็นผิวหนังของหนูคล้ายโดนฟันแทะ นำมาสู่การค้นพบไวรัสชนิดใหม่สกุล Jeilongvirus มาปีนี้ แมว (Cat) ตัวนี้ก็สร้างผลงานอีกแล้วด้วยการช่วยให้ค้นพบไวรัสชนิดใหม่ “ออร์โธรีโอไวรัส” (Orthoreovirus)

แมว “Pepper” ก็เหมือนกับแมวหลาย ๆ ตัว ที่ชอบแสดงความรักต่อเพื่อนมนุษย์ ด้วยการคาบของขวัญที่เป็นสัตว์ที่ตายแล้วมาให้

เจ้าแมว “Peper” สีดำน่ารัก ภาพจาก John Lednicky

ดังนั้น John Lednicky ศาสตราจารย์ - นักไวรัสวิทยาจากมหาวิทยาลัยฟลอริดา (University of Florida) จึงตัดสินใจใช้ประโยชน์จากของขวัญที่ไม่พึงประสงค์และน่ากลัวนี้ โดยศาสตราจารย์ John กล่าวว่า นี่เป็นการศึกษาแบบฉวยโอกาส ในเมื่อแมวนำสัตว์ที่ตายมาให้ขนาดนี้ ทำไมเราไม่ลองทดสอบแทนที่จะฝังซากสัตว์ไปเลยล่ะ เนื่องจากอาจมีข้อมูลมากมายที่เราสามารถค้นพบ และการสุ่มตัวอย่างให้โดย “แมว” ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี

📌อ่าน : คาบหนูมาให้ ! “แมว” ทำให้ค้นพบ “ไวรัสชนิดใหม่” โดยบังเอิญ

เมื่อทำการทดสอบ “หนูหางสั้นเอเวอร์เกลดส์” (Blarina peninsulae) ที่แมว “Pepper” คัดสรรมาให้ ทำให้ศาสตราจารย์ John และทีมวิจัยค้นพบ “ออร์โธรีโอไวรัส” (Orthoreovirus) ซึ่งยังไม่เคยถูกระบุชนิดมาก่อน โดยไวรัสนี้เป็นไวรัสสกุลหนึ่งในกลุ่ม Reoviridae ซึ่งเป็นรู้จักกันว่าเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักของอาการรุนแรงใน “โรคท้องร่วง” ของเด็กทั่วโลก และไวรัสนี้อาจมีความเชื่อมโยงกับโรคไข้หวัดลงกระเพาะ และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กอีกด้วย

Emily DeRuyter นักไวรัสวิทยาหนึ่งในทีมวิจัยกำลังทำการทดสอบหาไวรัส ภาพจาก Andy Williams

Emily DeRuyter นักไวรัสวิทยาหนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่า เดิมทีออร์โธรีโอไวรัสของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมถูกมองว่าเป็น “ไวรัสกำพร้า” สามารถพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมถึงมนุษย์ ไม่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ แต่การค้นพบอร์โธรีโอไวรัสในครั้งนี้ ทำให้เรารู้ว่าไวรัสนี้อาจเชื่อมโยงกับโรคทางเดินหายใจ ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบทางเดินอาหารในมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่ากังวลไม่น้อย ขณะนี้ทางทีมวิจัยจะเร่งศึกษาต่อไปเพื่อเข้าใจไวรัสชนิดนี้ให้มากยิ่งขึ้น

สำหรับการค้นพบไวรัสชนิดใหม่ครั้งนี้ได้ถูกเผยแพร่ใน Microbiology Resource Announcements

หลากหลายเรื่องราว "แมว ๆ" ที่ "ทาสแมว" ได้อ่านแล้วจะยิ่งหลงรัก

📌อ่าน : ทำไม? “แมว” ส่วนใหญ่ชอบนอนตะแคงซ้าย นักวิทย์เข้าใจถึงสาเหตุแล้ว

📌อ่าน : ดมกลิ่นไม่ใช่จำหน้า! วิธี “แมว” จดจำตัวตน “ทาสแมว”

📌อ่าน : รู้แล้ว..ทำไม? “แมวส้ม” นักวิทย์ระบุการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมได้แล้ว  

📌อ่าน : มิตรภาพของแมวเป็นอย่างไร ? ศึกษาเพื่อทาสแมวเข้าใจ “แมว” มากขึ้น  

📌อ่าน : แม้แมวจะเข้าใจยาก! แต่แมวเป็น “สัตว์บำบัด” ที่ดีได้  

📌อ่าน : ถึงกับอึ้ง ! นักวิทยาศาสตร์พบ “แมว” แสดงออกทางสีหน้าได้ถึง 276 แบบ

📌อ่าน : แสงที่ออกมาจากดวงตาของ “แมว” เวลากลางคืนคืออะไร ?  

📌อ่าน : HIDE & SEEK นวัตกรรม “ทรายแมว” รักษ์โลก แมวกลบปลอดภัย ทาสเก็บสบายใจ

🎬 รับชมคลิป :  "ทาสแมว" ใจบันดาลแรง "นักวิจัย" ก้าวออกนอกห้องแล็บ | ก่อกอง SCI


อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : Microbiology Resource Announcements

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

แมวPeperแมวสีดำแมวดำนักไวรัสวิทยาไวรัสวิทยาไวรัสCatออร์โธรีโอไวรัสOrthoreovirusวิทย์น่ารู้วิทยาศาสตร์น่ารู้นักวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง

ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

"เซบา บาสตี้" เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส คนทำงานด้านการเขียน : Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphobT@thaipbs.or.th)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด