ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"หัวดับเพลิงมังกรลอยได้" ฝีมือญี่ปุ่น คุมไฟไหม้แทนมนุษย์ในที่อันตราย


Logo Thai PBS
แชร์

"หัวดับเพลิงมังกรลอยได้" ฝีมือญี่ปุ่น คุมไฟไหม้แทนมนุษย์ในที่อันตราย

https://www.thaipbs.or.th/now/content/620

"หัวดับเพลิงมังกรลอยได้" ฝีมือญี่ปุ่น คุมไฟไหม้แทนมนุษย์ในที่อันตราย
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

นักวิทย์ชาวญี่ปุ่นได้สร้างหัวดับเพลิงมังกรลอยได้ เป็นสายยางที่ลอยตัวและควบคุมตัวเองได้ เพื่อช่วยดับไฟที่อันตรายเกินกว่าที่มนุษย์จะเข้าใกล้ได้

ภาพในจินตนาการ หรือภาพยนตร์แอนิเมชันมักมีภาพมังกรที่พ่นไฟออกมา หัวดับเพลิงมังกรลอยได้ก็เช่นกัน เพียงเปลี่ยนจากไฟที่แผดเผากลายเป็นสายน้ำที่มาจากแรงดันสูง ดับเปลวไฟที่เผาไหม้อย่างอันตรายแทน นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้สร้างหุ่นยนต์ดับเพลิงขึ้นเพื่อช่วยเหลือนักดับเพลิงในการดับไฟที่อันตรายเกินกว่ามนุษย์ธรรมดาจะควบคุมเพลิงได้ไหว และไม่ต้องเข้าใกล้เพลิงเหล่านั้นเพื่อความปลอดภัย

หุ่นยนต์ดับเพลิงที่ได้รับการออกแบบให้คล้ายสัตว์ในจินตนาการอย่างมังกรบิน เพื่อรับมือกับเพลิงไหม้ในระดับอันตรายเกินกว่าที่นักดับเพลิงที่เป็นมนุษย์จะสามารถเผชิญหน้าได้ ซึ่งระบบภายในหุ่นยนต์ตัวนี้มีชุดขับเคลื่อน 4 หัวฉีด จำนวน 2 ตัว มีท่อดับเพลิงบินได้ขนาดความยาว 4 เมตร ที่สามารถควบคุมได้จากระยะไกล

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโทโฮคุ (Tohoku) ออกแบบหุ่นยนต์มังกรบินได้มาเพื่อช่วยให้ดับไฟในอาคารได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยการให้หุ่นยนต์เข้าใกล้แหล่งกำเนิดไฟโดยตรงแทนนักดับเพลิงมนุษย์

หุ่นยนต์หัวดับเพลิงมังกรลอยได้ที่ความสูง 2 เมตรเหนือพื้นดิน ขับเคลื่อนด้วยไอพ่นน้ำที่ควบคุมได้ โดยมีวาล์วและตัวหมุนในการควบคุมทิศทางของแรงขับและหัวฉีดแต่ละอัน ทำให้หุ่นยนต์ลอยขึ้น ทรงตัว และบังคับทิศทางในอากาศได้ อัตราการไหลของน้ำสูงสุด 6.6 ลิตรต่อวินาที แรงดันสูงสุด 1 เมกะปาสกาล (megapascal) ปลายท่อประกอบด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน ซึ่งช่วยในการค้นหาตำแหน่งของเพลิงไหม้ ท่อดับเพลิงสามารถเปลี่ยนรูปร่างและหันไปหาเปลวไฟได้

นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า หุ่นยนต์ดับเพลิงจะสามารถติดตั้งในสถานการณ์การดับเพลิงในโลกแห่งความเป็นจริงได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งความท้าทายหลักของการวิจัยในครั้งนี้คือการขยายขอบเขตให้ได้ไกลกว่า 10 เมตร ซึ่งการพัฒนากลยุทธ์การดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพซึ่งปรับให้เหมาะกับความสามารถเฉพาะตัวของหุ่นยนต์ตัวนี้ก็จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาต่อไปเช่นกัน

ที่มาข้อมูล: frontiersin, interestingengineering, scimex, newatlas
ที่มาภาพ: scimex
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Innovation Tech WorldTechnology
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด