ข่าวค่ำ
ข่าวไทยพีบีเอสข่าวของคุณ ข่าวที่แตกต่างในสไตล์สื่อสาธารณะ ทั้งข่าววิเคราะห์ ข่าวสืบสวน เพื่อให้คุณรู้ลึกอย่างรอบด้านและเท่าทันทุกเหตุการณ์สำคัญ
วิเคราะห์สถานการณ์ต่างประเทศ
The Exit
"ตัวตนคนแห่งเงา กับเรื่องเล่ามีชีวิต" เส้นทางสู่การเรียนรู้บทเรียนชีวิตอันอบอุ่นระหว่างเต็กและหนูแดง ซึ่งทั้งสองจะต้องทำความเข้าใจในความหมายของคำว่าครอบครัว และสายสัมพันธ์กับชุมชนผ่านศิลปะการแสดงหนังตะลุง และเสียงดนตรี
"ศรัทธาสร้างพลัง ความหวังเยียวยาหัวใจ" เมื่อ แฮปปี้ อินฟลูเอนเซอร์สาวเผชิญวิกฤติยอดวิวตกหลังเลิกกับแฟน การเดินทางพร้อมกับมิตรภาพครั้งใหม่จึงเกิดขึ้น
"ในสนามชีวิต มิตรภาพมีค่าเหนือชัยชนะ" เมื่อ ทิว ชายหนุ่มผู้เปรียบดั่งต้นไม้ใหญ่ ต้องเผชิญกับความสูญเสียอันแสนสาหัส และบาดลึกในจิตใจ เขาต้องทำทุกอย่างเพื่อสมาน และฟื้นคืนพลังชีวิตขึ้นมาอีกครั้งอย่างเชื่องช้า ทว่ามั่นคง
"ตามหาอดีตที่คาใจ เจียระไนสายใยแห่งครอบครัว" ไปกับการเดินทางแสนพิเศษ ที่จะไม่ใช่แค่การเดินทางเพื่อตามหาร่องรอยในอดีต แต่เป็นการเดินทางเพื่อเชื่อมทุกจิตใจให้โยงเข้าหากัน
"ปล่อยใจให้เป็นอิสระ ยอมรับความต่างอย่างเข้าใจ" ผ่านการเดินทางและภาพถ่ายของหนุ่ม เจวัน ช่างภาพที่พาใจขึ้นเหนือไปสัมผัสความรัก และความสุข แบบที่เขาเองก็คาดไม่ถึง
"สัมผัสรสชาติความคิดถึง บนการเดินทางของความทรงจำ" ผ่านเรื่องราวของ เพชร หนุ่มผู้มีความทะเยอทะยาน ปรารถนาจะนำสูตรอาหารเลิศรสจากลุงพงษ์ เจ้าของร้านโภชนาชื่อดัง ไปสร้างตำนานบทใหม่ด้วยการเปิดร้านอาหารไทยในเกาหลี
ในฤดูร้อนหนึ่งที่เปี่ยมด้วยแสงแดดและความเปลี่ยนแปลง “แจน” เด็กสาวม.ปลาย วัย Gen Z ถูกครูจับได้ว่าใช้ AI ทำการบ้าน เลยต้องมาบำเพ็ญประโยชน์ที่บ้านรับฝากผู้สูงวัยของ “ป้าภา” ตลอดระยะเวลาปิดเทอมใหญ่ ที่นี่ แจนได้พบกับตายายหลายคนที่ล้วนนิสัยดี เว้นแต่ “ลุงนก” นักเขียนรุ่นใหญ่วัยบูมเมอร์และใกล้ฝั่งที่เข้ากันไม่ค่อยจะได้ ลุงนกเพิ่งรถล้มแขนหักทั้งสองข้าง จึงตัดสินใจจ้างแจนให้มาเป็นผู้ช่วย แรก ๆ ความแตกต่างระหว่าง Generation ก็ออกฤทธิ์ ถึงประสบการณ์จะแตกต่างกันสุดขั้ว แต่การได้มาทำงานร่วมกัน ก็ได้หลอมรวมสองคนนี้ไว้ได้ในที่สุด ผ่านการเรียนรู้ ขัดเกลา และยอมรับในความต่างของกันและกัน
เรื่องราวเกิดขึ้นที่เมืองสุวรรณธานี เมืองที่อยู่ในยุคสมัยเดียวกับกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นเรื่องราวของ สังข์ทอง ไม้พลอง ทองใบ สามเพื่อนรักที่เป็นทาสในเรือนของ คุณพระบำเรอกรุง
เรื่องราวของ " ซัน " นักกีฬาฟันดาบสากลผู้ไม่ค่อยอยู่กับปัจจุบัน แต่ชอบไปพะวงกับอดีตและอนาคตจนขาดสมาธิ ในวัยเด็กซันฝึกวิชาดาบไทยในสายอาทมาฏจากคุณตา
เรื่องราวชวนป่วนของครอบครัวร้านขนมเปี๊ยะเจินเฮ่อไจที่ไถหนาน มีซูทงเป็นเถ้าแก่ ซูหลินไฉ่เซียงเป็นเถ้าแก่เนี้ย ครอบครัวนี้มีลูกทั้งหมด 5 คน ลูกชาย 4 ลูกสาว 1 ที่จะมีแต่ความสนุก ปนน้ำตาไหล พวกเขาจะจัดการเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาได้อย่างไร
อย่างนี้มันต้องรัก พ.ศ. 2568
ขาดความอบอุ่น อัลบั้ม เสือใหญ่ พ.ศ. 2548
หัวใจล้มเหลว อัลบั้ม รักสงบ พ.ศ. 2549
คนสุดท้าย (อัสนี โชติกุล) เพลงประกอบละคร เรื่อง ‘เงา’ พ.ศ. 2544
คนของเธอ (แมว จิรศักดิ์) CATAROCK No.4 Awake พ.ศ. 2544
คนไม่สำคัญ (พลพล) อัลบั้ม รักเอย พ.ศ. 2544
หัวใจกุ๊กกิ๊ก - 18 กะรัต อัลบั้ม 18 กะรัต ชุดที่ 3 พ.ศ. 2529
ใจคนคอย - วงเพื่อน อัลบั้ม จากดวงใจ พ.ศ. 2528
กระต่ายตาซน - 18 กะรัต อัลบั้ม 18 กะรัต ชุดที่ 2 พ.ศ. 2528
เลิกกันดีกว่า - ไก่ นิภาวรรณ อัลบั้ม แฟนที่แสนดี พ.ศ. 2531
ใจเธอใจฉัน - 18 กะรัต อัลบั้ม 18 กะรัต ชุดที่ 3 พ.ศ. 2529
อยากอินเพลงรัก - Season Five ซิงเกิลใหม่จาก Season Five พ.ศ.2568
พูดไม่คิด - Season Five อัลบั้ม Golden Era พ.ศ. 2556
อยากให้รู้ว่ารักเธอ Ost. Sex Phone คลื่นเหงาสาวข้างบ้าน พ.ศ.2546
Event(อีเว้นท์) - Season Five อัลบั้ม Golden Era พ.ศ. 2556
ชวนไปรู้จักผลไม้ไทยโบราณ หาทานได้ยากอย่าง "มะพูด" ที่ ต.บึงบอน อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี พร้อมเข้าครัวปรุงเมนู "ตำมะพูดไหลบัวปลาแห้งทรงเครื่อง" และเมนูสุดสร้างสรรค์ "กรานิต้ามะพูดลอยแก้ว"
เปิดเวทีรับเจ้าแม่เพลงหวาน ‘พจมาน พิมพ์จันทร์’ เล่าตำนานนักร้องคู่ขวัญ พจมาน - พร ไพรสณฑ์
ภายในพื้นที่สีเขียวที่หลงเหลือที่วัด เป็นที่อาศัยของสัตว์ นก และสิ่งมีชีวิตมากมาย รวมถึงสัตว์หายาก บางชนิดเข้าสู่สภาวะใกล้สูญพันธุ์ อย่างนกแก้วโม่ง นกแขกเต้า และค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง ต่างปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง ต้องอยู่อาศัยร่วมกับมนุษย์ให้ได้ ในหย่อมป่าแห่งสุดท้าย
เมื่อสุ่มตรวจยาสมุนไพร ยาชุด จากชาวบ้าน ตรวจพบสเตียรอยด์ถูกซ่อน ถูกผสมมาด้วยชาวบ้านกินไป รักษาโรคไม่หายขาด ซ้ำยังได้รับผลกระทบ มากสุดคือการเสียชีวิต ใครคือต้นตอ ผลิตสเตียรอยด์ แล้วเอาไปผสมสมุนไพร หลอกขายชาวบ้าน ?
พบกับประเด็น..."พาสต้าสตรอว์เบอร์รี" เมนูโปรดนักเทนนิสดาวรุ่ง...เปลี่ยนสัญญาณไฟคนข้ามรับบอลยูโรหญิง
เสียงเห่เรือที่ดังก้องไปพร้อมกับจังหวะพาย เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ครูทองย้อย แสงสินชัย ผู้ประพันธ์บทเห่เรือ วัย 80 ปี และพนักงานเห่เรือรุ่นใหม่จะพาเราไปรู้จักกับศิลปะแห่งเสียงและจังหวะ
ลวดลายจากวิถีชีวิตท้องถิ่นสะท้อนความงาม และภูมิปัญญาที่ฝังแน่นในแต่ละพื้นที่ ก่อเกิดเป็นหัตถกรรมที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น
ไมโครพลาสติกกลายเป็นภัยเงียบใกล้ตัว จากงานวิจัยพบว่าเรารับเข้าไปเฉลี่ยถึง 2,000 ชิ้นต่อวัน หรือเทียบเท่าบัตรเครดิตหนึ่งใบ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางเดินอาหารและระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
อยากทำงานที่ญี่ปุ่น… เริ่มต้นที่นี่ได้เลย ! ในโตเกียวมีศูนย์หางานหลายแห่ง รองรับทั้งคนญี่ปุ่นและชาวต่างชาติ มีล่ามภาษาอังกฤษ-จีนให้บริการ บางงานไม่จำเป็นต้องพูดภาษาญี่ปุ่นได้ หากมีทักษะเฉพาะทาง ศูนย์เหล่านี้ คืออีกหนึ่งช่องทางสำคัญสำหรับคนต่างชาติที่อยากเริ่มต้นทำงานในญี่ปุ่น มาดูให้รู้ไปพร้อมกัน ! #หางาน #ศูนย์จัดหางานรัฐบาล #ทำงานในโตเกียว #ศูนย์หางานญี่ปุ่น #คลิปน่ารู้จากญี่ปุ่น #ดูให้รู้ #ฟูจิเซ็นเซ #ThaiPBS #Japan #ญี่ปุ่น ชมย้อนหลังรายการดูให้รู้ ได้ทาง www.thaipbs.or.th/Dohiru
พาไปดูนวัตกรรมใต้ฝ่าเท้า ที่จะช่วยไขความลับว่า ที่เดินอยู่ทุกวันนี้คุณเดินดี เดินถูก และไม่เดินพาตัวเองไปติดเตียงแล้วหรือไม่ เพราะ “ท่าทางการเดิน” ส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด
3 วิธีง่าย ๆ ลดความเครียดในผู้สูงอายุ
คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองฯ เตรียมลงพื้น หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหาทางออกการคืนพื้นที่โรงเรียนอนุบาลนนทบุรี ในส่วนศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่า ให้เป็นแลนด์มาร์กของจังหวัด เพื่อลดผลกระทบต่อการเรียนการสอนและผู้ปกครอง
พูดคุยกับ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ถึงเบื้องหลังการทำคดีซึ่งอยู่ในความสนใจของสังคม แรงกดดันจากการทำหน้าที่คลี่คลายคดีสำคัญ และความท้าทายในวงการตำรวจ
สำนักงานกฎหมายมวลชนมีงานล้นมือทำให้แพท มโนธรรม และบงกชวุ่นวายไปตาม ๆ กัน แต่ข่าวดีก็คือคมกฤชสอบได้ตั๋วทนายแล้ว เขาเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่าควรจะเลือกทางไหนเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ขณะเดียวกันแพทเองก็ต้องเจอกับศึกหนัก ทั้งพะพายที่ติดพ่ออย่างเอกรงค์มากขึ้น วสุที่แพลนจะย้ายไปอยู่ต่างจังหวัด กรรมการวัดที่ขึ้นค่าเช่าที่ดินบ้านและเหล่าเพื่อนบ้านที่มารบเร้าให้เธอช่วยเป็นทนายให้เพื่อต่อสู้กับวัดที่ขึ้นค่าเช่าอย่างไม่เป็นธรรม
พบกับประเด็น...เกษตรกรเพาะทองหลางน้ำขาย จ.ราชบุรี...ทุเรียนครบุรียักษ์ขายหน้าสวน จ.นครราชสีมา
จ.ตรัง เร่งขยายพื้นที่ปลูกพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน หลังผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยนำเนื้อเยื่อไปวิจัยเพื่อเพาะสายพันธุ์พริกไทยตรังพันธุ์ปะเหลียนแท้ ๆ ออกมาแจกจ่ายให้เกษตรกรที่สนใจนำไปปลูกเป็นรายได้เสริมและเพิ่มผลผลิต
พาไปชิม "ทุเรียนครบุรี" ขนาดยักษ์ เจ้าของขายเองที่หน้าสวน จ.นครราชสีมา หนักสุด 13.8 กิโลกรัม รสชาติหวานมัน ราคาถูก เริ่มต้นกิโลกรัมละ 60 บาท
ร้านอาหารริมทาง ที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เน้นวัตถุดิบสดจากทะเล เมนูหลักมาจากเนื้อปูม้าสด ทำกันจานต่อจาน เหมือนปรุงกินกันเองในบ้าน แต่รสชาติจัดจ้าน
พาไปดูงานอดิเรก หมอด้านหัวใจ แต่มีใจรักเลี้ยงควายแปลก ต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาสายพันธุ์ควาย ต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยว อยู่ที่อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี
น็อตตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีวางเพลิงบ้านของวิชัย อดีตพนักงานบัญชีของซอคอร์ป ขณะที่อนุชิตปฏิเสธทุกความเกี่ยวข้องกับน็อต ไป๋ได้พบแม็กกี้อีกครั้งและได้รับรู้ว่าแม็กกี้ตั้งใจปิดบังการหายตัวไปของเธอ ฟากคมกฤชโดนพงทองตำหนิอย่างรุนแรงจึงหมดความอดทนและตัดสินใจลาออกจากสำนักกฎหมาย New Law Society โจ้กลับมาที่สำนักงานกฎหมายมวลชนอีกครั้ง ทั้งหมดร่วมมือร่วมใจกันเพื่อหาทางโค่นอาณาจักรซอคอร์ปให้สำเร็จ
พบกับประเด็น...ทอดแหหาปลาฤดูน้ำหลาก จ.ฉะเชิงเทรา...ฝึกอาชีพทำขนมไทยประยุกต์ 5 ชนิด จ.ประจวบคีรีขันธ์
พาไปชมฝีมือวิสาหกิจชุมชนบ้านสวนลูกแชมป์ นำ "ปลาแรด" สินค้า GI ของจังหวัดอุทัยธานี แปรรูปเป็น "น้ำพริกแมงดาปลาแรดย่าง" และต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ชาวบ้าน จ.สตูล รวมตัวกันกวน "ขนมอาซูรอ" ขนมโบราณแห่งศรัทธา ที่ทำเพียงปีละครั้ง เพื่ออนุรักษ์ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ทำเป็น
วสุและโจ้ร่วมมือกันอำพรางว่าแม็กกี้ตายแล้วเพื่อความปลอดภัยของแม็กกี้ ด้านไป๋ได้รับพัสดุจากวิชัยที่ส่งให้แม็กกี้ก่อนตาย ทำให้เธอมีหลักฐานใหม่ที่จะรื้อฟื้นคดีของประไพพรรณ คมกฤชได้รับมอบหมายจากพงทองซึ่งกลายเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายของซอคอร์ปให้ลงพื้นที่ที่จะทำรีสอร์ต ทำให้เขาพบกับโจ้และความจริงที่ว่าแม็กกี้ยังไม่ตาย มิหนำซ้ำคมกฤชยังพบว่าครอบครัวของเขาก็ได้รับผลกระทบจากซอคอร์ปเช่นเดียวกัน
ชวนคุยประเด็นร้อน...อ.วีระ ส่งการบ้าน หลังพบทักษิณบนเวที "ปลดล็อกอนาคตประเทศไทย สู้วิกฤติโลก" แล้วถามทักษิณตรง ๆ "มีดีลลับกับใครหรือไม่ ? จากนี้อนาคตการเมืองหลังจากนี้ ภายใต้พรรคเพื่อไทย กระแสข่าวเปลี่ยนโฆษกรัฐบาลดึง "จักรภพ เพ็ญแข" รับตำแหน่ง รัฐมนตรีพิชัย มั่นใจเจรจาทรัมป์ ข้อเสนอเข้าเป้า
เมื่อข่าวฉาวของพระสงฆ์กลายเป็นเรื่องร้อนในสังคม คำถามสำคัญจึงไม่ใช่แค่ เกิดอะไรขึ้น แต่คือ ผิดวินัยสงฆ์ข้อไหน และร้ายแรงเพียงใด ใครบ้างต้องรับผิดชอบ พูดคุยกับ รศ.ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์ อาจารย์สาขาวิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พาเจาะลึกกฎเหล็กแห่งพระธรรมวินัย ตั้งแต่ “ปาราชิก” อาบัติหนักที่ขาดจากความเป็นพระทันที ไปจนถึง “สังฆาทิเสส” อาบัติรองที่ยังมีทางกลับใจ พร้อมสะท้อนให้เห็นว่า แม้พฤติกรรมผิดวินัยจะเกิดจากปัจเจกบุคคล แต่การเข้าใจหลักธรรมและการจัดการของคณะสงฆ์ คือสิ่งสำคัญที่พุทธศาสนิกชนควรตระหนัก เพื่อไม่ให้ความศรัทธาต้องสั่นคลอนโดยไร้เหตุผล
รศ.ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์ อาจารย์สาขาวิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่ากลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBT นั้นมีมาคู่โลกตั้งแต่ยุคบรรพบุรุษของเรา และปรากฏอยู่ในช่วงสมัยพุทธกาลด้วย โดยพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงปิดกั้นการบวชของบุคคลเหล่านี้ ท่านทรงอนุญาตให้ "บัณเฑาะก์" บางประเภทบวชได้ ซึ่งต่างจากความเข้าใจผิดที่ว่าพระพุทธศาสนาห้ามกะเทยบวช . ยกตัวอย่าง "พระวักกลิ" ผู้ซึ่งบางนักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็น LGBTQ+ เนื่องจากท่านหลงใหลในพระรูปโฉมที่งดงามของพระพุทธเจ้าและก็สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุด . เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าในสมัยพุทธกาลมีพระที่เป็น LGBTQ+ ที่สามารถบรรลุอรหันต์ได้ ปัญหาที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่การเป็น LGBTQ+ แต่ขึ้นอยู่กับว่าเมื่อมาบวชแล้วสามารถรักษาพระธรรมวินัยได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้กับทุกรสนิยมทางเพศ
“ภาคภูมิไทย” เอกลักษณ์ไทยจากบรรพชนสู่คนรุ่นใหม่
ขุดค้น ย้อนเวลา หารากเหง้า เชื่อมโยงให้เห็นคุณค่าแห่ง “รากสุวรรณภูมิ”
นำเสนอความหลากหลายในศิลปะและวัฒนธรรม ถ่ายทอดเรื่องราว อุดมการณ์ จิตวิญญาณ ความมุ่งมั่นและตัวตนที่เป็นสุดยอดในศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ "ทุนทางวัฒนธรรม"
สรรค์สร้างความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ออกเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากทุกภูมิภาค
สารคดีค้นหาเรื่องราวคนบนแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ภาษา ไปจนถึงในระดับพันธุกรรม DNA นำไปสู่ข้อมูลความรู้หลักฐานใหม่เพื่อตอบคำถามว่า "คนไทยคือใคร มาจากไหน" สารคดีเธอ เขา เรา ใคร สำรวจคนไทยในแผ่นดิน ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส