วังวรดิศเป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตั้งอยู่ที่ถนนหลานหลวง ย่านนางเลิ้ง พื้นที่ที่ในอดีตนั้นเรียกกันว่าย่านสนามควาย บริเวณนี้เป็นย่านแห่งความบันเทิงมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์และเด่นชัดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ที่เต็มไปด้วยคณะละคร โขน ลิเก มโนราห์ และพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดงไปตามยุคสมัยจนกระทั่งมาถึงปัจจุบันที่ก็ยังคงมีร่องรอยและมีคณะละครชาตรี โขน ลิเก อยู่ในพื้นที่และออกแสดงตามงานต่าง ๆ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการสดุดีโดยองค์การยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก พระองค์ทรงนิพนธ์ตำราต่าง ๆ ไว้มากมายทั้งในประวัติศาสตร์ และโบราณคดี รวมไปถึงพระนิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับนาฏกรรมของสยาม อย่างเช่น ตำนานละครอิเหนา ตำนานมโหรีปี่พาทย์ ตำราฟ้อนรำ โดยตำราฟ้อนรำนั้นเป็นอีกหนึ่งผลงานที่มีความสำคัญต่อนาฏศิลป์ของไทยเป็นอย่างมาก พระองค์ได้ทรงให้มีการเขียนภาพลายเส้นของท่ารำพื้นฐาน รวมถึงการถ่ายภาพท่ารำซึ่งถือว่าเป็นการบันทึกท่ารำด้วยภาพถ่ายเป็นครั้งแรก และได้ถูกนำมาต่อยอดประดิษฐ์ท่าเชื่อมจนเกิดเป็นท่าเคลื่อนไหว กลายเป็นชุดรำแม่บทใหญ่ที่นักเรียนนาฏศิลป์จะต้องฝึกฝนอีกด้วย
นอกเหนือจากตำราฟ้อนรำแล้วอีกสิ่งที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงทำให้กับวงการนาฏกรรมของสยามก็คือทรงมีดำริให้มีการจดบันทึกเพลงไทยในรูปแบบของโน้ตสากล โดยให้มีการรวมครุดนตรีจากสำนักต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจดบันทึกโน้ตครั้งนี้ด้วย ถือเป็นบันทึกสำคัญที่รักษาเพลงไทยโบราณไม่ให้สูญหาย
ติดตามได้ ในรายการจากรากสู่เรา ตอน วังวรดิศ วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567 เวลา 14.05 - 14.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
วังวรดิศเป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตั้งอยู่ที่ถนนหลานหลวง ย่านนางเลิ้ง พื้นที่ที่ในอดีตนั้นเรียกกันว่าย่านสนามควาย บริเวณนี้เป็นย่านแห่งความบันเทิงมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์และเด่นชัดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ที่เต็มไปด้วยคณะละคร โขน ลิเก มโนราห์ และพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดงไปตามยุคสมัยจนกระทั่งมาถึงปัจจุบันที่ก็ยังคงมีร่องรอยและมีคณะละครชาตรี โขน ลิเก อยู่ในพื้นที่และออกแสดงตามงานต่าง ๆ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการสดุดีโดยองค์การยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก พระองค์ทรงนิพนธ์ตำราต่าง ๆ ไว้มากมายทั้งในประวัติศาสตร์ และโบราณคดี รวมไปถึงพระนิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับนาฏกรรมของสยาม อย่างเช่น ตำนานละครอิเหนา ตำนานมโหรีปี่พาทย์ ตำราฟ้อนรำ โดยตำราฟ้อนรำนั้นเป็นอีกหนึ่งผลงานที่มีความสำคัญต่อนาฏศิลป์ของไทยเป็นอย่างมาก พระองค์ได้ทรงให้มีการเขียนภาพลายเส้นของท่ารำพื้นฐาน รวมถึงการถ่ายภาพท่ารำซึ่งถือว่าเป็นการบันทึกท่ารำด้วยภาพถ่ายเป็นครั้งแรก และได้ถูกนำมาต่อยอดประดิษฐ์ท่าเชื่อมจนเกิดเป็นท่าเคลื่อนไหว กลายเป็นชุดรำแม่บทใหญ่ที่นักเรียนนาฏศิลป์จะต้องฝึกฝนอีกด้วย
นอกเหนือจากตำราฟ้อนรำแล้วอีกสิ่งที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงทำให้กับวงการนาฏกรรมของสยามก็คือทรงมีดำริให้มีการจดบันทึกเพลงไทยในรูปแบบของโน้ตสากล โดยให้มีการรวมครุดนตรีจากสำนักต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจดบันทึกโน้ตครั้งนี้ด้วย ถือเป็นบันทึกสำคัญที่รักษาเพลงไทยโบราณไม่ให้สูญหาย
ติดตามได้ ในรายการจากรากสู่เรา ตอน วังวรดิศ วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567 เวลา 14.05 - 14.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live