จากภาพ เจอรัลด์ ไดค์ (Gerald P. Dyck) ชาวอเมริกัน อดีตนักมนุษยดนตรีวิทยา วิทยาลัยพายัพ และ พ่ออุ๊ย ที่กำลังเล่นพิณเปี๊ยะ เมื่อ 50 ปีก่อน กับการสำรวจวัฒนธรรมพิณเปี๊ยะ และวัฒนธรรมแอ่วสาวของชาวล้านนา ได้จุดประกายความสงสัยว่า เหตุใด “วัฒนธรรมพิณเปี๊ยะ” ถึงหายไป ? ทำไม “พิณเปี๊ยะ” จึงได้ชื่อว่า “เครื่องดนตรีจากดวงใจ” และวันนี้ชีวิตของ “พิณเปี๊ยะ” เป็นอย่างไร ?
ตามนักสืบมิวเซียม “หนุ่ม - สุวินิต ปัญจมะวัต” ไปค้นหาความจริงผ่านการค้นคว้าตามหาของศิลปินและนักวิชาการดนตรีหลายท่านตลอดหลายสิบปี เช่น สงกรานต์ สมจันทร์ อาจารย์สาขาวิชาดนตรีและศิลปะการแสดง ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ได้รับมรดกข้อมูลจาก เจอรัลด์ ไดค์ เรื่องราวของพ่ออุ๊ยแปง โนจา ศิลปินพิณเปี๊ยะลำพูน ที่ย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่เชียงราย ผู้คืนลมหายใจให้พิณเปี๊ยะอีกครั้ง รวมทั้ง ครูต้น - ดนุพล อุดดง ครูดนตรีโรงเรียนบ้านห้วยทราย จ.เชียงใหม่
ร่วมเดินทางเพื่อรู้จักตัวเองจากประวัติศาสตร์ ติดตามชมได้ในรายการ นักสืบมิวเซียม ตอน พิณเปี๊ยะ เครื่องดนตรีจากดวงใจ วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.ot.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
นักสืบมิวเซียม
เรื่องเล่าจากใต้สมุทร
ย้อนวันคืน ฟื้นรอยจาร
พิณเปี๊ยะ เครื่องดนตรีจากดวงใจ
มหัศจรรย์สัตว์โลกล้านปี
จิ๊กซอว์อารยธรรมแห่งลุ่มน้ำมูล
เลื่องลือนามสังคโลก
พินิจบางลำพู
ปริศนาแห่งลูกปัด
เมืองเหมือง
แมลงนั้นสำคัญไฉน
จากฟลอเรนซ์ สู่ศิลปากร
สยามเวชศาสตร์
ปะพวนที่ปากพลี
นักสืบมิวเซียม
เรื่องเล่าจากใต้สมุทร
ย้อนวันคืน ฟื้นรอยจาร
พิณเปี๊ยะ เครื่องดนตรีจากดวงใจ
มหัศจรรย์สัตว์โลกล้านปี
จิ๊กซอว์อารยธรรมแห่งลุ่มน้ำมูล
เลื่องลือนามสังคโลก
พินิจบางลำพู
ปริศนาแห่งลูกปัด
เมืองเหมือง
แมลงนั้นสำคัญไฉน
จากฟลอเรนซ์ สู่ศิลปากร
สยามเวชศาสตร์
ปะพวนที่ปากพลี