ลวดลายที่ดูพลิ้วไหว มีชีวิตชีวาอย่างยิ่งบนจานสังคโลกเขียนลายรูปปลา ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย สร้างความประทับใจและอัศจรรย์ใจ ว่านี่คือฝีมือของคนสุโขทัยเมื่อ 700 - 800 ปีก่อนมาแล้ว เมื่อสืบค้นต่อไป เราได้พบจาน ชาม และภาชนะโบราณจำนวนมหาศาล ที่มีเทคนิคการเขียนลายและการเคลือบที่สวยงามน่าทึ่ง อีกทั้งยังพบเตาเผาโบราณนับร้อยเตา ทั้งในพื้นที่เมืองสุโขทัย และ อ.ศรีสัชนาลัย เพราะคนสมัยสุโขทัยไม่เพียงแต่ผลิตเพื่อใช้เอง แต่ยังส่งออกไปยังต่างแดน เช่น ญี่ปุ่นอีกด้วย
อดีตอันรุ่งเรืองเมื่อ 700 - 800 ปีก่อนของสุโขทัย ยังคงแจ่มชัดอยู่ในจานชามดินเผาเหล่านี้ เมื่อเราพบว่าชุมชนหมู่บ้านรอบ ๆ เตาเผาโบราณ โดยเฉพาะที่ อ.ศรีสัชนาลัย ยังคงผลิตจานชาม และภาชนะดินเผาต่าง ๆ โดยใช้เทคนิคการผลิตแบบดั้งเดิม ตามนักสืบมิวเซียม “หนุ่ม - สุวินิต ปัญจมะวัต” ไปค้นหาคำตอบว่า พวกเขาทำได้อย่างไร ? และยังคงเก็บรักษาความเป็นสังคโลกสุโขทัยไว้ได้มากน้อยเพียงใด ?
ร่วมเดินทางเพื่อรู้จักตัวเองจากประวัติศาสตร์ ติดตามชมได้ในรายการ นักสืบมิวเซียม ตอน เลื่องลือนามสังคโลก วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.ot.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
นักสืบมิวเซียม
เรื่องเล่าจากใต้สมุทร
ย้อนวันคืน ฟื้นรอยจาร
พิณเปี๊ยะ เครื่องดนตรีจากดวงใจ
มหัศจรรย์สัตว์โลกล้านปี
จิ๊กซอว์อารยธรรมแห่งลุ่มน้ำมูล
เลื่องลือนามสังคโลก
พินิจบางลำพู
ปริศนาแห่งลูกปัด
เมืองเหมือง
แมลงนั้นสำคัญไฉน
จากฟลอเรนซ์ สู่ศิลปากร
สยามเวชศาสตร์
ปะพวนที่ปากพลี
นักสืบมิวเซียม
เรื่องเล่าจากใต้สมุทร
ย้อนวันคืน ฟื้นรอยจาร
พิณเปี๊ยะ เครื่องดนตรีจากดวงใจ
มหัศจรรย์สัตว์โลกล้านปี
จิ๊กซอว์อารยธรรมแห่งลุ่มน้ำมูล
เลื่องลือนามสังคโลก
พินิจบางลำพู
ปริศนาแห่งลูกปัด
เมืองเหมือง
แมลงนั้นสำคัญไฉน
จากฟลอเรนซ์ สู่ศิลปากร
สยามเวชศาสตร์
ปะพวนที่ปากพลี