เรื่องราวการขุดค้นพบ ความเชื่อมโยงของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์โบราณ บริเวณลุ่มน้ำมูลตอนบน แหล่งโบราณคดีที่ถ่ายทอดเรื่องราวการค้นพบหลักฐาน คือ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท แหล่งโบราณคดีเนินอุโลก การขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านโนนวัด ถือเป็นครั้งแรกที่ค้นพบการเชื่อมโยงจากปัจจุบัน ย้อนกลับไปเมื่อ 4,000 ปีแล้ว
แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด นักโบราณคดีทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ใช้พื้นที่ขุดขนาด 1,000 ตารางเมตร กว่า 70 หลุม ขุดค้นพบวัฒนธรรมของมนุษย์โบราณ ตั้งแต่ยุคหินใหม่, สำริด และเหล็ก เรื่อยมา กระทั่งยุคปัจจุบัน โดยมีหลักฐานสำคัญ คือ โครงกระดูกมนุษย์ ถูกบรรจุในภาชนะดินเผา พร้อมกับเครื่องประดับและข้าวของเครื่องใช้ที่ทำจากหินขัด, กระดูกสัตว์, สำริด และเหล็ก นอกจากนี้ ภาชนะดินเผาที่พบยังมีลวดลายสวยงาม และที่แฝงปริศนาไว้ ลูกปัดชนิดต่าง ๆ เช่น ลูกปัดแก้ว, ลูกปัดสี, อาเกต และหินคาร์นิเลียน พบที่บ้านโนนวัด ยังบ่งชี้เรื่องราวการติดต่อกับกลุ่มคนภายนอก เช่น อินเดีย เป็นต้น รูปลักษณ์ของภาชนะดินเผา สะท้อนรูปแบบที่ชัดเจน เช่น รูปทรงปากแตร และรูปทรงที่เรียกว่า "ห้อมแบบพิมายดำ" ที่เชื่อมถึงรูปแบบอินเดีย
ลวดลายเขียนสีบนภาชนะดินเผาที่พบ เป็นลวดลายที่มีการแพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงจีน และไห ซึ่งมีลวดลายงดงามเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้การขุดค้นที่นี่ยังทำให้เราได้รู้ถึงวิถีชีวิตเมื่อ 4,000 ปีก่อน การแก้ปัญหาสภาวะแวดล้อม โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ
นอกจากนี้เรายังพบว่ามนุษย์โบราณมีวิวัฒนาการความรู้ด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น การใช้ทองแดง, สำริด และเหล็ก ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่า มนุษย์ที่อาศัยบริเวณนี้นำภูมิปัญญาเหล่านี้มาจากที่ไหน และยังพบการติดต่อเชื่อมโยงกับคนภายนอกของคนโบราณที่บ้านโนนวัด จากการวิเคราะห์โบราณวัตถุแล้ว เมื่อนำดีเอ็นเอไปตรวจ พบว่ามีคนเชื้อสายอินเดียมาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านโนนวัด ตั้งแต่เมื่อหลายพันปีก่อน พื้นที่แหล่งโบราณของอำเภอโนนสูง ทั้งแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท แหล่งโบราณคดีเนินอุโลก และแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด นักโบราณคดีเชื่อว่ามีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนเกษตรกรรมมากว่า 4,000 ปี และเกิดวิวัฒนาการแบ่งชนชั้นทางสังคม
ติดตามในสารคดี "รากสุวรรณภูมิ" วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
รากสุวรรณภูมิ
ปฐมบทแห่งสุวรรณภูมิ The Beginning of Suvarnabhumi
อารยธรรมชายฝั่งตะวันออก The Civilization of East Coast
วิวัฒนาการมนุษย์แห่งลุ่มน้ำมูล The Human Evolution of Mun River Basin
ดินแดนกสิกรรมตะวันตก The Land of Western Agriculture
"ลพบุรี" ชุมทางการค้าก่อนประวัติศาสตร์ “Lop Buri” The Prehistoric Trade Route
วัฒนธรรมทุ่งกุลา วิถีอีสานโบราณ “Thung Kula Culture” Northeastern Ancient Way
“สุวรรณภูมิ” ชุมทางโบราณข้ามคาบสมุทร Suvarnabhumi : The ancient junction across the peninsula
สามเหลี่ยมมหัศจรรย์แห่งทวารวดี The Miracle Triangle of Dvaravati
ศรีเทพ รัฐแรกเริ่ม หรือ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์โบราณ Si Thep : The primary state or the ancient sacred land
“พนมรุ้ง” ปราสาทแห่ง อำนาจ ศาสนา และภูมิปัญญาโบราณ The Phanom Rung : Castle of authority, religion and ancient wisdom
“สุโขทัย” ภูมิปัญญาอารยะแห่งเมืองมรดกโลก “Sukhothai” The Civilized Wisdom of the World Heritage city
“อยุธยา” เมืองโลกาภิวัตน์โบราณ “Ayutthaya” The ancient city of Globalization
“บางกอก” เมือง 2 ราชธานี “Bangkok” The original city of two capitals
รากสุวรรณภูมิ
ปฐมบทแห่งสุวรรณภูมิ The Beginning of Suvarnabhumi
อารยธรรมชายฝั่งตะวันออก The Civilization of East Coast
วิวัฒนาการมนุษย์แห่งลุ่มน้ำมูล The Human Evolution of Mun River Basin
ดินแดนกสิกรรมตะวันตก The Land of Western Agriculture
"ลพบุรี" ชุมทางการค้าก่อนประวัติศาสตร์ “Lop Buri” The Prehistoric Trade Route
วัฒนธรรมทุ่งกุลา วิถีอีสานโบราณ “Thung Kula Culture” Northeastern Ancient Way
“สุวรรณภูมิ” ชุมทางโบราณข้ามคาบสมุทร Suvarnabhumi : The ancient junction across the peninsula
สามเหลี่ยมมหัศจรรย์แห่งทวารวดี The Miracle Triangle of Dvaravati
ศรีเทพ รัฐแรกเริ่ม หรือ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์โบราณ Si Thep : The primary state or the ancient sacred land
“พนมรุ้ง” ปราสาทแห่ง อำนาจ ศาสนา และภูมิปัญญาโบราณ The Phanom Rung : Castle of authority, religion and ancient wisdom
“สุโขทัย” ภูมิปัญญาอารยะแห่งเมืองมรดกโลก “Sukhothai” The Civilized Wisdom of the World Heritage city
“อยุธยา” เมืองโลกาภิวัตน์โบราณ “Ayutthaya” The ancient city of Globalization
“บางกอก” เมือง 2 ราชธานี “Bangkok” The original city of two capitals