วันหยุดเช้าสดชื่น หยิบมือถือขึ้นมาเล่นเฉยๆ แต่แล้วอารมณ์เริ่มเปลี่ยน เมื่อเห็นเพื่อนแต่งงาน คนอื่นซื้อบ้านใหม่ เที่ยวยุโรป เลื่อนตำแหน่ง ซื้อรถใหม่ ดาราโชคดี ขณะที่ตัวเองยังไม่มีอะไรเลย จนเครียดไม่ไหว นี่คือวงจรของการเสพติดโซเชียลที่หลายคนไม่รู้ตัว คนไทยกว่า 50 ล้านคนใช้โซเชียลมีเดีย คิดเป็น 71.5% ของประชากร และมีคนไทย 55% ที่ติดตาม Influencer ที่ตัวเองชื่นชอบ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้า การใช้ชีวิต และอารมณ์ของเรา
หลายคนคิดว่าตัวเองไม่ได้ติดโซเชียลมาก แต่เมื่อไปดู Screen Time ในมือถือจริงๆ กลับพบความจริงที่ตกใจ บางคนให้คะแนนตัวเองแค่ระดับ 1 จาก 5 บอกว่าไม่ค่อยติด ชอบใช้ชีวิตจริงมากกว่าโลกออนไลน์ แต่เมื่อเช็คดูแล้วใช้โซเชียลมีเดียไปเกินครึ่งของเวลาที่ใช้มือถือ บางคนให้คะแนนตัวเองระดับ 5 ติดมาก แต่จริง ๆ ใช้โซเชียลแค่ 32 นาที จากทั้งหมด 2 ชั่วโมง 51 นาที ส่วนใหญ่เป็นการดูหนัง ฟังเพลง หรือเล่นเกม
มีคนใช้มือถือไปถึง 13 ชั่วโมง 33 นาที โดยเป็นโซเชียล 7 ชั่วโมง 40 นาที เกินครึ่งจริง ๆ บางคนใช้ถึง 19 ชั่วโมง 2 นาที แต่เล่นโซเชียลแค่ 3 ชั่วโมง 30 นาที สิ่งที่น่าสนใจคือ แม้ใช้เวลาเท่ากัน แต่วิธีเลือกดูเนื้อหาส่งผลต่อระดับความเครียดที่แตกต่างกัน คนที่เลือกดูแต่เนื้อหาสนุกๆ ไม่ดูสิ่งที่บั่นทอนจิตใจ จะเครียดน้อยกว่าคนที่รับข่าวสารทั้งแง่บวกและลบ
ยุคนี้การสร้างตัวตนบนโซเชียลมีเดียเป็นเหมือนพื้นที่ใหม่ของการใช้ชีวิต การพูดคุยกับเพื่อน เล่นเกม ติดต่อธุรกิจ ล้วนใช้โซเชียลมีเดียเป็นหลัก คนเราจึงถูกบังคับให้ต้องมีตัวตนในโลกออนไลน์ด้วย อาการของการเสพติดโซเชียลมีหลายแบบ หากไม่ได้เล่น จะรู้สึกกระวนกระวาย หงุดหงิด หยิบมือถือขึ้นมาเช็คบ่อย ๆ ทั้งที่อาจไม่มีอะไรใหม่ นอนน้อยลงหรือนอนไม่หลับ ตื่นมาสิ่งแรกที่ทำคือเปิดโซเชียลมีเดีย
อีกปัญหาหนึ่งคือภาวะ FOMO หรือความกลัวตกเทรนด์ กลัวตกข่าว ทำให้ต้องเช็คมือถือบ่อย ๆ แม้ไม่จำเป็น คิดว่าถ้าไม่ติดตามจะพลาดอะไรสำคัญ การติดโซเชียลไม่ได้วัดจากจำนวนชั่วโมงการใช้ แต่วัดจากอาการที่เกิดขึ้นเมื่อไม่ได้ใช้ ถ้าเครียด หงุดหงิด วิตกกังวลเมื่อถูกห้าม แสดงว่าติดแล้ว ซึ่งอาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียด หรือสมาธิสั้น
วิธีแก้ปัญหาคือการทำ Digital Detox หรือการล้างพิษดิจิทัล โดยเริ่มจากงดใช้โทรศัพท์ 12 ชั่วโมงในหนึ่งวัน ปิดการแจ้งเตือนก่อนนอนหรือก่อนกินข้าว และวางมือถือไว้ไกลจากตัว
วิธี Social Detox แบบละเอียด 6 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1: ตั้งเป้าหมายที่ชัด - กำหนดว่าจะลดการใช้โซเชียลเท่าไหร่ เช่น จาก 8 ชั่วโมงเหลือ 4 ชั่วโมง หรือไม่เล่นในช่วงเวลาไหนบ้าง เช่น ห้ามเล่นหลัง 22.00 น.
ขั้นที่ 2: แจ้งคนรอบตัว - บอกเพื่อน ครอบครัว ว่าจะลดการใช้โซเชียล และให้ช่องทางติดต่ออื่น เช่น โทรศัพท์ Line เพื่อไม่ให้คนอื่นกังวลเมื่อเราหายไป
ขั้นที่ 3: ลบแอปชั่วคราว - ลบแอปที่ทำให้เสียเวลามาก เช่น TikTok Facebook Instagram ออกจากมือถือไปก่อน วิธีนี้จะบังคับตัวเองได้ดีที่สุด
ขั้นที่ 4: ปิดการแจ้งเตือน - ปิด notification ทุกแอปโซเชียล เพื่อไม่ให้เสียงดังหรือข้อความป๊อปขึ้นมาล่อให้เราหยิบมือถือ
ขั้นที่ 5: หากิจกรรมทดแทน - เตรียมกิจกรรมอื่นไว้ทำแทน เช่น อ่านหนังสือที่ค้างไว้ ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกาย ออกไปเดินในห้างสรรพสินค้า หรือนั่งคุยกับครอบครัว
ขั้นที่ 6: ติดตามผล - สังเกตตัวเองว่ารู้สึกเปลี่ยนแปลงอย่างไร เปรียบเทียบคนอื่นน้อยลงไหม นอนหลับดีขึ้นไหม มีเวลากับคนรอบตัวมากขึ้นไหม
การแก้ปัญหาต้องเริ่มจากการจำกัดเวลา หันมาคุยกับคนรอบข้าง ทำกิจกรรมที่ชอบ ออกไปเที่ยวนอกบ้าน เปลี่ยนบรรยากาศ และปิดการแจ้งเตือนจากแอปต่าง ๆ เพื่อให้โลกออนไลน์เป็นเพียงส่วนเล็กในชีวิต ไม่ใช่ทั้งชีวิต
ติดตามชมได้ในรายการ TIC TAC TECH เรื่องไม่เล็กเทคโนโลยี วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม 2568 เวลา 06.05 - 06.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
TIC TAC TECH เรื่องไม่เล็กเทคโนโลยี
เรียนออนไลน์
แอปเดลิเวอรี่ ไม่ได้มีดีแค่ส่งอาหาร
รีวิว
เด็กกับการซื้อของออนไลน์
สังคมไร้เงินสด
ใครหนอ ทำให้ลูกเราติดเกม
แอ็กหลุม ตัวตนลับในโลกโซเชียลมีเดีย
ล่อลวงเด็กทางออนไลน์
อ้ายเบอร์หลอกลวง
นักรีวิวรับจ้าง
เล่นเกม หรือ เล่นพนันออนไลน์
แปลภาษาด้วยเทคโนโลยี เชื่อได้จริงหรือ ?
หารายได้เสริมออนไลน์
TikTok
เรียนคอร์สออนไลน์ ไม่วายโดนหลอก
กระแสข่าวออนไลน์ ยิ่งเสพยิ่งเครียด
AI อ้ายมาหลอกเรา…รึเปล่า?
รู้ให้ทัน มิตร หรือ มิจ(ฉาชีพ) ออนไลน์
Influencer วัยใส เสี่ยงภัยรึเปล่า?
Call Center รู้เขาหลอก แต่ทำไมยังให้หลอก(อีก)
เงินออนไลน์ สุดท้ายโดนหลอก!
ควรแล้วหรือไม่ เมื่อใช้ “เด็ก” เป็น Content ?
เครียดเพราะ “เสพติดโซเชียล”
Deepfake หลอกเสียงลวงหน้า
แอปดูดเงิน อันตรายเสียหายหมดตัว
“เป็นติ่ง” อย่างมี “สติ”
“เป็นติ่ง” อย่างมี “สติ”
WI-FI ฟรีเสี่ยงภัย ข้อมูลรั่วไหล ไม่รู้ตัว
TIC TAC TECH เรื่องไม่เล็กเทคโนโลยี
เรียนออนไลน์
แอปเดลิเวอรี่ ไม่ได้มีดีแค่ส่งอาหาร
รีวิว
เด็กกับการซื้อของออนไลน์
สังคมไร้เงินสด
ใครหนอ ทำให้ลูกเราติดเกม
แอ็กหลุม ตัวตนลับในโลกโซเชียลมีเดีย
ล่อลวงเด็กทางออนไลน์
อ้ายเบอร์หลอกลวง
นักรีวิวรับจ้าง
เล่นเกม หรือ เล่นพนันออนไลน์
แปลภาษาด้วยเทคโนโลยี เชื่อได้จริงหรือ ?
หารายได้เสริมออนไลน์
TikTok
เรียนคอร์สออนไลน์ ไม่วายโดนหลอก
กระแสข่าวออนไลน์ ยิ่งเสพยิ่งเครียด
AI อ้ายมาหลอกเรา…รึเปล่า?
รู้ให้ทัน มิตร หรือ มิจ(ฉาชีพ) ออนไลน์
Influencer วัยใส เสี่ยงภัยรึเปล่า?
Call Center รู้เขาหลอก แต่ทำไมยังให้หลอก(อีก)
เงินออนไลน์ สุดท้ายโดนหลอก!
ควรแล้วหรือไม่ เมื่อใช้ “เด็ก” เป็น Content ?
เครียดเพราะ “เสพติดโซเชียล”
Deepfake หลอกเสียงลวงหน้า
แอปดูดเงิน อันตรายเสียหายหมดตัว
“เป็นติ่ง” อย่างมี “สติ”
“เป็นติ่ง” อย่างมี “สติ”
WI-FI ฟรีเสี่ยงภัย ข้อมูลรั่วไหล ไม่รู้ตัว