สถานการณ์แก๊งคอลเซนเตอร์หลังย้ายฐาน
ความร่วมมือระหว่างทางการไทย, จีน และ เมียนมา ในการปราบปรามแก๊งคอลเซนเตอร์ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา นำมาซึ่งการช่วยเหลือเหยื่อนับพันคนที่มาจากเกือบ 30 ประเทศ ในช่วงเดือน ก.พ. 68 และทำให้แก๊งคอลเซนเตอร์ถูกทลายลงไปจำนวนมาก แต่ระยะเวลาที่ผ่านมาเกือบ 3 เดือน ขบวนการเหล่านี้จะลดน้อยถอยลงไปหรือไม่
พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ รองผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เปิดเผยถึงสถิติอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 68 พบสถิติการแจ้งความของประชาชนที่พบว่า ตั้งแต่ ม.ค. 68 สถิติการหลอกลวงจากประเทศเพื่อนบ้าน ถือว่ามีสถิติที่อยู่ในช่วงขาลง โดยสาเหตุเนื่องมาจากการย้ายฐานของขบวนการ ที่ถูกกดดันจากฝ่ายความมั่นคงของไทย จนทำให้ในช่วงดังกล่าวมีคดีการหลอกลวงที่ลดลง แต่เมื่อปล่อยระยะเวลาผ่านมาแล้วสักพัก รวมไปถึงการย้ายฐานไปยังกัมพูชา จนทำให้ปัจจุบันแปรสภาพเป็นเมืองหลวงของแก๊งคอลเซนเตอร์เต็มตัว ซึ่งเมื่อกลุ่มคนเหล่านี้สามารถตั้งหลักได้ ทำให้คดีอาชญากรรมบนโลกออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ รองผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
ลวงเหยื่อเฉลี่ย 55 ล้านบาท/วัน
สถิติการแจ้งความสะสมเดือน เม.ย. 68 จาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย ศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ พบการแจ้งความผ่านระบบจำนวน 28,807 เรื่อง เฉลี่ยแล้วมี 960 คดี/วัน รวมมูลค่าความเสียหาย 1,704,125,128 บาท เฉลี่ยความเสียหาย 55 ล้านบาทต่อวัน โดยคดีอันดับที่ 1 ยังคงเป็นเรื่อง หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ จำนวน 14,816 เรื่อง อันดับ 2 คือ หลอกให้โอนเงินเพื่อรับรางวัล จำนวน 4,272 เรื่อง และหลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน จำนวน 2,621 เรื่อง

สถิติการแจ้งความสะสมเดือน เม.ย. 68 จาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย ศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์
ขณะที่มาตรการการกดดันนั้น แม้จะมีการกดดันจากไทยอย่างหนักมาในช่วงก่อนหน้านี้ก็ตาม แต่ก็ยังเชื่อว่าจำนวนแก๊งของคอลเซนเตอร์ จะยังไม่ลดจำนวนลงไปมาก เพราะที่ผ่านมามีข้อมูลว่า แก๊งคอลเซนเตอร์ได้มาจับจองพื้นที่ตามแนวชายแดนของกัมพูชาที่ติดกับฝั่งไทย เพื่อใช้หลอกลวงเหยื่อแทนพื้นที่ในฝั่งเมียนมา
นอกจากนี้ยังพบว่าปัญหาการหลอกลวง ไม่ว่าจะเป็นการหลอกลวงด้วยวิธีใด ก็ล้วนแล้วแต่สร้างผลกระทบรุนแรงให้เกิดขึ้นกับตัวของเหยื่อได้ โดยจะเห็นได้จากระดับผลกระทบของเหยื่อที่ได้รับ ที่มีตั้งแต่การสูญเสียทรัพย์สิน ไปจนถึงการทำให้เกิดการทะเลาะกันภายในครอบครัว หรือการหาทางออกด้วยการคิดสั้น ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าตัวเองตาย หรือการฆ่าตัวตายยกครัว ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ล้วนเคยเกิดขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่สามารถระบุได้ว่า รูปแบบการหลอกลวงใดที่เป็นรูปแบบที่ส่งผลกระทบมากที่สุด เพราะเหยื่อแต่ละราย มีภูมิต้านทานต่อผลกระทบที่แตกต่างกัน
สำหรับกระบวนการคืนเงินนั้นปัจจุบันมีการคืนเงินอยู่จริง แต่ต้องเป็นกรณีที่ธนาคารพบว่า บัญชีที่ถูกใช้งานมีธุรกรรมทางการเงินที่แปลกกว่าปกติ หรือเคยถูกแจ้งอายัดเงินมาก่อน ก็จะมีการอายัดเงินในส่วนนี้เอาไว้ แต่การที่จะสามารถรับเงินคืนได้นั้น ก็ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยจะไม่มีการติดต่อผ่าน Facebook หรือ LINE เด็ดขาด ซึ่งหากพบโฆษณาในลักษณะดังกล่าว ให้มั่นใจได้เลยว่าโฆษณาเหล่านั้นคือโฆษณาปลอม โดยประชาชนทั่วไปหากตกเป็นเหยื่อสามารถร้องเรียนได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 1441 ซึ่งเป็นเบอร์ที่ให้บริการครบวงจร
สำหรับข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลส่วนหนึ่งเพียงเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อมูลก่อนการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติในเมียนมาและล่าสุดในกัมพูชา ส่วนข้อมูลล่าสุดจะเป็นอย่างไร สามารถมาติดตามข้อมูลดังกล่าวกับ พ.ต.อ.เนติ ที่จะขึ้นพูดในหัวข้อ ล่า ล้วง ลึก ! “ข่าวปลอม” กับดักหลอนในโลกไซเบอร์ กับ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส โดย สำนักสื่อดิจิทัล ภายในงาน “Thai PBS Verify Talk: #ฟีดนี้ไม่มีข่าวลวง” ครั้งแรก ! ของการรวมตัว 13 Speakers 12 Sessions บนเวทีทอล์กเดียวกันที่จะมาเติมเต็มข้อมูล เจาะลึกทุกแง่มุม เพื่อให้คุณรู้ก่อนแชร์ แยกแยะก่อนเชื่อ หยุดแชร์ข่าวลวงให้หมดไปจากหน้าฟีด ในวันจันทร์ที่ 30 มิ.ย. 68 เวลา 12.30 – 16.45 น. ณ คอนเวนชันฮอลล์ 2 อาคาร D ไทยพีบีเอส ถ.วิภาวดีรังสิต พร้อมชมบูทนิทรรศการจาก Thai PBS Verify และรายการสถานีประชาชน
12 หัวข้อ จาก 13 ผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวลวง
#1 : จากหน้างาน…สู่หน้าฟีด ปิดเกมข่าวปลอมในภาวะวิกฤต โดย รศ. ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการ กรุงเทพฯ
#2 : Deepfake .. ภัยเงียบจาก AI ความท้าทายใหม่ของสื่อ โดย คุณกนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล Thai PBS
#3 : ใครโทรมาหลอก ? เปิดโปงอาชญากรรมไซเบอร์ ด้วย Data โดย คุณกชศร ใจแจ่ม กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย (Whoscall)
#4 : จากสายร้องเรียน สู่ความจริงที่ตรวจสอบได้ โดย คุณกานดา จำปาทิพย์ บรรณาธิการ รายการสถานีประชาชน สำนักข่าว Thai PBS
#5 : ล่า ล้วง ลึก ! “ข่าวปลอม” กับดักหลอนในโลกไซเบอร์ โดย พ.ต.อ. เนติ วงษ์กุหลาบ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.ก. (CIB)
#6 : เกมลวงข่าว ข่าวลวงคน โดย คุณคณิศ บุณยพานิช บรรณาธิการบริหาร ด้านข่าวสืบสวน สำนักข่าว Thai PBS
#7 : “รัฐบาล vs ข้อมูลเท็จ” ในยุคแห่งความไม่ไว้วางใจ โดย คุณอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (TBC)
#8 : เราเช็กได้ ! นโยบายเท็จหรือทิพย์ โดย คุณอรุชิตา อุตมะโภคิน ผู้จัดการกลุ่มงานด้านนวัตกรรมการสื่อสาร The Active – Thai PBS
#9 : Fake News กับการเมืองไทย เมื่อข้อมูลกลายเป็นอาวุธ โดย คุณพรรณิการ์ วานิช กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า
#10 : “ข่าวป่วน” ยุคโลกวุ่น โดย คุณแคลร์ ปัจฉิมานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์ Thai PBS World
#11 : รู้ทัน รับมือ ปิดกั้นข่าวลวง #พื้นที่ปลอดภัยในการไถฟีด โดย คุณสิริประภา วีระไชยสิงห์ Outreach & Partnerships Manager, TikTok
#12 : “เหยื่อวิทยา” ความ “กลัว -โลภ- รัก” ถูกมิจฯ นำมาลวง โดย ดร.ตฤณห์ โพธิ์รักษา นักอาชญาวิทยาเชิงจิตวิทยาและพฤติกรรมอาชญากร มหาวิทยาลัยมหิดล
#13 : “รัฐบาล vs ข้อมูลเท็จ” ในยุคแห่งความไม่ไว้วางใจ โดย คุณวงศ์อะเคื้อ บุญศล โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง
ลงทะเบียนร่วมงานฟรี
แล้วพบกัน ! วันจันทร์ที่ 30 มิ.ย. 68 เวลา 12.30 – 16.45 น. ณ คอนเวนชันฮอลล์ 2 อาคาร D ไทยพีบีเอส ถ.วิภาวดีรังสิต
ผู้ที่สนใจลงทะเบียนร่วมงานฟรี ! ทาง LINE @ThaiPBS เพิ่มเพื่อนได้ที่ www.thaipbs.or.th/AddLINE แล้วพิมพ์คำว่า “ลงทะเบียน” ลงในช่องแชต หรือ คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaipbs.or.th/VerifyTalk2025