ฟังมุมมองตัวแทนจากหนึ่งแพลตฟอร์ม ผู้ให้พื้นที่สร้างสรรค์เนื้อหาที่ได้รับความนิยมอย่าง TikTok ร่วมมือกับ Thai PBS Verify ในงาน Thai PBS Verify Talk #ฟีดนี้ไม่มีข่าวลวง แสดงเจตนารมณ์ถึงการไม่นิ่งนอนใจที่จะเป็นผู้รับผิดชอบด่านหน้าตรวจจับทุกข้อมูลที่ทำผิดกฎของชุมชนในแพลตฟอร์ม TikTok และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้ใช้งาน
รู้ทัน รับมือ ปิดกั้น ก่อนถึงมือผู้ใช้งาน
คุณสิริประภา วีระไชยสิงห์ Outreach & Partnerships Manager ตัวแทนจาก TikTok เผยว่าพบข้อมูลทั้งข้อมูลจริงและข้อมูลลวง บน TikTok จำนวนมาก แต่ปัจจุบันแพลตฟอร์มมีการจัดการกับข้อมูลเท็จอย่างจริงจัง และปิดกั้นด้วยการลบเนื้อหาวิดีโอที่ผิดกฎ Community Guideline มากกว่า 3,400,000 Video ตั้งแต่ มกราคม – มีนาคม 2568
สิริประภา กล่าวว่า แพลตฟอร์มจะต้องมีกฎมีหลักเกณฑ์ของชุมชนหรือ Community Guideline ที่เข้มแข็ง ทำให้เกิดการใช้เทคโนโลยีและทีมงาน Trust And Safety ทีมที่มาจากทั่วโลกมากกว่า 4 หมื่นคน เพื่อคอยดูแลและคัดกรองเนื้อหาเนื้อหาที่ปลอดภัย 24 ชั่วโมงใน 7 วัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเนื้อหาต่าง ๆ ที่ปรากฏบนฟีดของ TikTok ปลอดภัยสำหรับการรับชมเสมอ

สิริประภา วีระไชยสิงห์ Outreach & Partnerships Manager TikTok
นอกจากการใช้เทคโนโลยีตรวจจับข้อมูลแล้ว ยังใช้ระบบ Human Moderator คอยตรวจสอบบริบทของวีดีโอนั้น ๆ กรณีตรวจสอบเนื้อหาข่าวลวง ภาษาแต่ละท้องที่อีกด้วย
“โดยจากผลการตรวจสอบพบว่า 99.5% ของคอนเทนต์ใน TikTok ที่ละเมิดกฎชุมชน ถูกลบออกก่อนที่จะมีผู้ใช้งานรายงานเข้ามา”
แจ้งเตือนให้ทันตั้งตัวก่อนเสพเนื้อหา
ตัวแทน TiKTok ยังกล่าวอีกว่า ข้อมูลที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสุขภาพ เป็นเนื้อหาที่ถูกส่งส่งต่อในลักษณะ Disinformation (ข้อมูลบิดเบือน) มากที่สุด และรวมไปถึงข้อมูลที่สร้างโดย AI ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ซึ่งทาง TikTok ได้คัดกรองและเสริมความแม่นยำ โดยการมีให้ Information เพิ่มเติมกับผู้ใช้ ในลักษณะการกำกับข้อความในคลิปวิดีโอ ว่าเนื้อหาสร้างจาก AI-Generate หรือไม่
สำหรับการค้นหาข้อมูล ทาง TikTok ได้เพิ่มข้อมูลที่ถูกต้อง และส่งต่อลิงก์จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ให้สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ และหากข้อมูลใดที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบ จะมีการแจ้งเตือน Information Tag หรือ ป้ายกำกับ เนื้อหาไว้บริเวณด้านบน พร้อมกับระบุว่า ข้อมูลนี้ยังไม่ได้รับการ Verify
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ใช้ TikTok และไปพบข้อมูลที่เป็นข่าวปลอม บิดเบือน หรือไม่ถูกต้อง สามารถที่จะเข้าไปที่วิดีโอและกดรายงานกลับมา ว่าวิดีโอดังกล่าวเป็นวิดีโอที่ดูแล้วเหมือนจะเป็น Misinformation หรือน่าจะเป็นข่าวลวง เพื่อให้ทีมงานทราบ ซึ่งการรายงานลักษณะนี้จะเป็นส่วนช่วยเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง
อ่านเนื้อหากิจกรรมงาน Thai PBS Verify Talk เพิ่มเติมได้ที่ : https://www.thaipbs.or.th/verify/article/content/2773
รับชมภาพบรรยากาศภายในงาน และสามารถรับชมเวทีทอล์กทั้ง 12 หัวข้ออีกครั้งได้ทาง www.thaipbs.or.th/VerifyTalk2025
“ตรวจสอบข่าวปลอม คัดกรองข่าวจริง” กับ Thai PBS Verify ได้ที่
.
• Website : www.thaipbs.or.th/Verify
• Facebook : www.facebook.com/ThaiPBSVerify
• IG : www.instagram.com/ThaiPBSVerify
• TikTok : www.tiktok.com/@ThaiPBSVerify
• LINE : www.thaipbs.or.th/LINEVerify