EN

แชร์

Copied!

ตรวจสอบพบ มิจฯ สร้างเพจรับซื้อภาพลวงโอนเงิน

12 พ.ย. 6715:38 น.
หมวดหมู่#ข่าวปลอม
ตรวจสอบพบ มิจฯ สร้างเพจรับซื้อภาพลวงโอนเงิน

บริการเสริมจาก Thai PBS AI

สารบัญประกอบ

    ระวัง ! เพจเฟซบุ๊กลงโฆษณารับซื้อภาพถ่าย พบได้เงินจริงหลักสิบ แต่ถูกลวงลงทุนเสียเงินเพิ่ม ล่าสุดยังพบผู้เสียหายต่อเนี่อง

    Thai PBS Verify พบโพสต์วิดีโอจากเพจเฟซบุ๊ก โฆษณาระบุว่า รับซื้อภาพถ่ายจำนวนมาก มีผู้สนใจส่งข้อความสอบถามเข้าไปถึงกว่า 300 คน รวมถึงกดถูกใจไปกว่า 4,500 คน และแชร์วิดีโอดังกล่าวไปถึง 68 ครั้งด้วยกัน แต่จากการตรวจสอบพบเป็นการหลอกให้เข้าไปทำภารกิจเพื่อลวงให้โอนเงิน พบผู้เสียหายออกมาโพสต์เตือนจำนวนมาก

    แหล่งที่มา : Reels Facebook 

    ภาพบันทึกหน้าจอวิดีโอโฆษณาผ่านเฟซบุ๊กหลอกรับซื้อภาพถ่าย

    ถ้าคุณคือคนที่ชอบการถ่ายรูปเป็นชีวิตจิตใจ เปิดรับผู้ที่สนใจอยากขายภาพถ่าย ซึ่งประเภทของรูปภาพสามารถขายได้ทั่วไป เช่น ธรรมชาติ สัตว์ งานศิลปะ แฟชั่น หรือจะเป็นภาพถ่ายตัวเอง ขอคนที่พร้อมสนใจและรักในการถ่ายภาพ เงื่อนไขพิเศษ ทุกชนิด ทุกขนาด ประเมินรูปภาพ 1-2 วัน ต้องเป็นภาพที่คุณเป็นเจ้าของเท่านั้น ไม่มีเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ มีทีมงานให้คำปรึกษาเเนะนำ ทั้งหมดนี้เป็นคำโฆษณาที่เพจเฟซบุ๊กชื่อ “Image Value” ใช้โฆษณาหลอกลวงเหยื่อให้เข้ามาสอบถาม 

    กระบวนการตรวจสอบ 

    จากการตรวจสอบพบว่า เฟซบุ๊กชื่อ “Image Value” มีการแนะนำตัวว่า เป็นเพจการถ่ายภาพวิดีโอ ครีเอเตอร์ดิจิทัล สร้างขึ้นตั้งแต่ 25 มกราคม 2021 ภายในเพจดังกล่าวมีการลงเนื้อหารับซื้อภาพถ่ายทั้งกล้องมือถือ และกล้องถ่ายภาพ โดยระบุข้อความผ่านโฆษณาหลอกลวงเหยื่อให้เข้ามาสอบถาม พร้อมระบุความต้องการ เช่น ภาพที่นำมาขายนั้นจะต้องมีความคมชัด 1080p ขึ้นไป ที่ถูกถ่ายด้วยตนเอง ไม่มีเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ โดยจะมีการประเมินภาพโดยทีมงานมืออาชีพ   

    ภาพบันทึกหน้าจอแสดงเพจดังกล่าวสร้างขึ้นตั้งแต่ 25 มกราคม 2021
    ภาพบันทึกหน้าจอแสดงโฆษณารับซื้อภาพถ่าย

    นอกจากนี้ยังพบการโพสต์คลิปอ้างรีวิวจากผู้ที่ได้รับเงินอีกด้วย 

    ภาพบันทึกคลิปวิดีโอที่มีการอ้างถึงการจ่ายเงินค่าภาพถ่าย

    อย่างไรก็ตามเราใช้เครื่องมือตรวจสอบภาพด้วย Google Lens พบว่า ภาพโปรไฟล์ของเฟซบุ๊กดังกล่าวเป็นภาพที่ถูกนำมาจากโปรไฟล์ของผู้ใช้อินสตาแกรมชาวจีนรายหนึ่ง  

    เมื่อทำการตรวจสอบภาพโปรไฟล์ด้วย Google Lens พบภาพที่ตรงกับผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่ง

    เมื่อทำการตรวจสอบภาพโปรไฟล์ด้วย Google Lens พบภาพที่ตรงกับผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่ง 

    อีกทั้งธุรกิจที่ผู้ใช้บัญชีรายนี้ทำอยู่ ก็ไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับการรับซื้อภาพถ่ายแต่อย่างใด แต่เป็นบัญชีสำหรับขายชาเพียงเท่านั้น  

    ภาพบันทึกหน้าบัญชีโปรไฟล์ที่พบถูกนำมาจากบัญชีอินสตาแกรมของหญิงชาวจีนรายหนึ่ง
    ผลกระทบของข้อมูลเท็จนี้เป็นอย่างไร ? โฆษณารับซื้อภาพถ่าย ถือว่ามีผู้สนใจส่งข้อความสอบถามจำนวนมาก โดยมีผู้ส่งข้อความเข้าไปยังโฆษณาดังกล่าวกว่า 300 คน รวมถึงกดถูกใจไปกว่า 4,500 คน และแชร์วิดีโอดังกล่าวไปถึง 68 ครั้งด้วยกัน โดยผู้ที่เข้าไปสอบถามส่วนใหญ่ล้วนต้องการนำภาพเข้าไปขาย และสอบถามถึงขั้นตอนการขายภาพถ่าย ภาพบันทึกผู้ที่เข้าไปแสดงความคิดเห็นในโฆษณาดังกล่าว

    แต่จากการตรวจสอบพบเป็นการหลอกให้เข้าไปทำภารกิจเพื่อลวงให้โอนเงิน โดยพบผู้เสียหายออกมาโพสต์เตือนจำนวนมาก
    ภาพบันทึกหน้าจอแสดงข้อความของเหยื่อที่ออกมาโพสต์เตือนในโฆษณาดังกล่าว

    สำหรับวิธีที่มิจฉาชีพใช้หลอกเหยื่อให้เข้ามาพบว่ามีวิธีการดังนี้ 

    • ให้เหยื่อส่งรูปถ่ายเข้าไปขายในเพจ 

    ภาพแสดงผู้ที่หลงกลส่งภาพเข้าไปยังเพจดังกล่าว

    • อ้างว่า หากรูปถ่ายได้รับการคัดเลือก ก็จะได้ค่าตอบแทน
      ภาพบันทึกหน้าจออ้างว่าหากรูปถ่ายได้รับการคัดเลือกจะได้ค่าตอบแทน
    • โน้มน้าวให้แอดไลน์ เพื่อทำภารกิจส่งเสริมการตลาด ระหว่างรอตรวจสอบรูปถ่าย โดยมักจะล่อเหยื่อให้ไปทำภารกิจที่อ้างว่า ทำงานง่าย ได้ค่าตอบแทนเพียงกดไลก์โพสต์สินค้าต่าง ๆ 
    ภาพบันทึกหน้าจอคนร้ายอ้างให้ทำภารกิจส่งเสริมการตลาดระหว่างรอตรวจสอบรูปถ่าย
    • เมื่อเหยื่อหลงเชื่อเข้าร่วมภารกิจ มิจฉาชีพจะให้จ่ายเงิน โดยอ้างว่าเป็นการลงทุน ซึ่งแรก ๆ จะได้เงินคืนจริง
    • หลังจากนั้นต้องลงทุนกลุ่ม โดยเพิ่มเงินให้มากขึ้น จึงจะถอนเงินออกมาได้
    • หากอยากถอนเงิน ต้องเสียค่าปรับก่อน โดยอ้างว่าเหยื่อไม่ทำตามกติกา ถ้าไม่ทำตามจะโดนกดดันจากเพื่อนในกลุ่ม (หน้าม้า)ทั้งนี้พบว่า มีการเตือนถึงมิจฉาชีพที่รับซื้อภาพถ่ายในลักษณะเดียวกัน จาก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย และ ตำรวจสอบสวนกลาง อีกด้วย (ลิงก์บันทึก ที่นี่ และ นี่)

    ข้อแนะนำเมื่อได้ข้อมูลเท็จนี้ ? 

     

    หากพบโฆษณาหรือโพสต์ในลักษณะดังกล่าว

    ✅พึงระวังไว้เสมอว่ากลุ่มคนเหล่านี้คือมิจฉาชีพ  

    ✅สังเกตเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้า (Blue Tick) หลังชื่อเพจ หากเป็นเพจที่เป็นทางการจริง (ลิงก์บันทึก) 

    ✅สังเกตจากการดูที่จำนวนผู้ติดตามเมื่อเทียบกับยอดถูกใจ เช่น กรณีเพจนี้ที่มียอดของผู้ติดตามสูงถึงกว่า 4,200 คน แต่กลับไม่มียอดถูกใจในโพสต์อื่น ๆ ของเพจมากเท่าใดนัก ซึ่งทำให้สังเกตได้ง่ายขึ้นว่าอาจเป็นเพจปลอม 

     

    Original link: https://www.thaipbs.or.th/now/content/1881   

    สารบัญประกอบ