EN

แชร์

Copied!

ตรวจสอบแล้ว: คลิปอ้าง “ทรัมป์เลือกช่วยอินเดีย สู้ ปากีสถาน” ที่แท้สร้างจากเสียง AI

14 พ.ค. 6810:31 น.
หมวดหมู่#ข่าวปลอม
ตรวจสอบแล้ว: คลิปอ้าง “ทรัมป์เลือกช่วยอินเดีย สู้ ปากีสถาน” ที่แท้สร้างจากเสียง AI

พบบัญชี Tikkok โพสต์คลิปวิดีโอ โดนัลล์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา กล่าวสนับสนุนอินเดียหากปากีสถานจู่โจม ซึ่งแท้จริงแล้ว ประธานธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ไม่ได้สนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการเจรจายุติความขัดแย้งดังกล่าว

Thai PBS Verify ตรวจสอบพบบัญชี Tiktok ชื่อ  trumpnation.usa  มีผู้ติดติดตาม 11,900 คน มีผู้กดถูกใจ 47,800 คน ส่วนใหญ่เนื้อหาของวิดีโอเกี่ยวกับ นโยบายและข่าวเกี่ยวกับประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ นอกจากนี้ยังมีการตัดต่อวิดีโอนำภาพ โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นพระสันตะปาปาอีกด้วย  ซึ่งยอดชมคลิปวิดีโอมีจำนวนสูงทุกคลิป

แหล่งที่มา TikTok

ตรวจสอบแล้ว: คลิปอ้าง “ทรัมป์เลือกช่วยอินเดีย สู้ ปากีสถาน” ที่แท้สร้างจากเสียง AI

ภาพจากคลิป  Pakistan india War update

ขณะที่จากการตรวจสอบด้วยเครื่องมือตรวจสอบภาพ Google Lens พบว่าคลิปที่ถูกนำมาสร้างนั้น มีชื่อว่า Pakistan india War update  โดยในเนื้อหาคลิปเป็นการนำภาพจากคลิป PowerfulJRE รายการ Joe Rogan Experience #2219 – Donald Trump และ คลิปการขึ้นพูดงานแถลงข่าว ทรัมป์เผยหลายประเทศยอมอ่อนข้อเพื่อทำข้อตกลงทางการค้า จากสำนักข่าวรอยเตอร์มาใช้

นอกจากนี้จากการตรวจสอบบัญชีผ่านระบบ Tiktok พบว่าบัญชีดังกล่าวยังไม่ได้เครื่องหมายยืนยันตัวตน (Verified Badge) ด้านหลังชื่อบัญชีแต่อย่างใด

ตรวจสอบแล้ว: คลิปอ้าง “ทรัมป์เลือกช่วยอินเดีย สู้ ปากีสถาน” ที่แท้สร้างจากเสียง AI

ขณะที่การตรวจสอบด้วยเครื่องมือตรวจสอบภาพ thehive.ai เครื่องมือ AI-Generated Content Detection จากเว็บไซต์ hivemoderation พบว่าเป็นเสียง AI  99 %

ตรวจสอบแล้ว: คลิปอ้าง “ทรัมป์เลือกช่วยอินเดีย สู้ ปากีสถาน” ที่แท้สร้างจากเสียง AI

เมื่อตรวจสอบที่มาของคลิปมาจากช่อง PowerfulJRE รายการ Joe Rogan Experience #2219 – Donald Trump (ลิงก์บันทึก)

ตรวจสอบแล้ว: คลิปอ้าง “ทรัมป์เลือกช่วยอินเดีย สู้ ปากีสถาน” ที่แท้สร้างจากเสียง AI

ภาพบันทึกหน้าจอแสดงภาพจากคลิป Pakistan india War update (ซ้าย) เปรียบเทียบกับ ภาพจากคลิปมาจากช่อง PowerfulJRE รายการ Joe Rogan Experience #2219 – Donald Trump (ขวา)

นอกจากนี้พบว่าในภาพเนื้อหาคลิปตรงกับข่าว Trump says countries are “kissing my ass” to make trade deals จากสำนักข่าวรอยเตอร์   (ลิงก์บันทึก)

ตรวจสอบแล้ว: คลิปอ้าง “ทรัมป์เลือกช่วยอินเดีย สู้ ปากีสถาน” ที่แท้สร้างจากเสียง AI

ภาพบันทึกหน้าจอแสดงภาพจากคลิป Pakistan india War update (ซ้าย) เปรียบเทียบกับ ภาพจากคลิปมาจากช่อง PowerfulJRE รายการ Joe Rogan Experience #2219 – Donald Trump (ขวา)

กระบวนการตรวจสอบ

  1. ตรวจสอบบัญชี TikTok
    บัญชีชื่อ @trumpnation.usa มีผู้ติดตาม 11,900 คน และมียอดกดถูกใจรวม 47,800 ครั้ง เนื้อหาในบัญชีส่วนใหญ่เกี่ยวกับนโยบายและข่าวของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และไม่พบเครื่องหมายยืนยันตัวตน (Verified Badge) จาก TikTok
  1. ตรวจสอบเสียงในคลิป
    ใช้เครื่องมือ Hive Moderation (thehive.ai) ตรวจสอบพบว่า เสียงในคลิปเป็นเสียงที่สร้างด้วย AI (AI-generated voice) ถึง 99%
  1. ตรวจสอบต้นทางของคลิป
    พบว่าคลิปที่ถูกใช้ตัดต่อ มาจากรายการ Joe Rogan Experience (ตอนที่ #2219 – Donald Trump) และ ข่าว Trump says countries are “kissing my ass” to make trade deals ซึ่งต้นฉบับไม่มีการพูดถึงความขัดแย้งอินเดีย-ปากีสถานในลักษณะสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ผลกระทบจากการรับข้อมูลเท็จ

  1. เกิดความเข้าใจผิดในระดับสังคม
  • เมื่อประชาชนได้รับข้อมูลเท็จ เช่น ข่าวปลอมที่อ้างว่าอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ สนับสนุนประเทศหนึ่งในกรณีพิพาท อาจทำให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจผิดอย่างรุนแรงเกี่ยวกับท่าทีของผู้นำโลก คนอาจเชื่อว่า “สหรัฐฯ มีส่วนร่วมในความขัดแย้ง” ก่อให้เกิดความตึงเครียดในหมู่ผู้ติดตามที่มีความคิดเห็นต่างกัน ขยายวงสู่ความขัดแย้งในโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็ว
  1. เสี่ยงต่อการถูกใช้เป็นเครื่องมือปลุกระดมหรือโฆษณาชวนเชื่อ
  • ข้อมูลเท็จในลักษณะนี้มักถูกตัดต่อให้สื่อความหมายเฉพาะด้าน เช่น สนับสนุนฝ่ายหนึ่งเพื่อหวังผลทางการเมืองหรืออุดมการณ์อาจถูกใช้สร้างกระแสเกลียดชัง (hate speech) ช่วยขยายอิทธิพลของกลุ่มหัวรุนแรง เป็นส่วนหนึ่งของสงครามข่าวสาร (Information Warfare) ที่มุ่งหวังผลกระทบต่อสังคมวงกว้าง
  1. บั่นทอนความน่าเชื่อถือของสื่อออนไลน์
  • เมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จโดยไม่มีการตรวจสอบ ทำให้ประชาชนขาดความไว้วางใจในข่าวที่เห็นใน TikTok, YouTube หรือ Facebook ส่งผลให้ แม้แต่ข่าวจริงก็ถูกตั้งคำถาม หรือกลายเป็น “ข่าวที่ไม่มีใครเชื่อ”
  1. กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • เนื้อหาปลอมที่เกี่ยวข้องกับผู้นำระดับโลก หรือความขัดแย้งระหว่างประเทศ อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดระหว่างรัฐบาล หรือประชาชนของสองประเทศ มีผลกระทบต่อการทูต เศรษฐกิจ และความมั่นคงระหว่างประเทศ เพิ่มความระแวงหรือสร้างกระแสต้านระหว่างประเทศแม้ไม่มีข้อเท็จจริงรองรับ

ข้อแนะนำเมื่อได้ข้อมูลเท็จนี้ ?

  1. อย่าแชร์ทันที ควรตรวจสอบที่มาก่อน
  • ก่อนจะแชร์วิดีโอหรือข้อความที่มีเนื้อหาน่าตกใจ หรือมีแนวโน้มปลุกปั่นความรู้สึก ควรหาข้อมูลนี้มาจากแหล่งใด , บัญชีนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่? หรือมีหลักฐานหรืออ้างอิงประกอบหรือไม่ ?
  1. ตรวจสอบแหล่งข่าวน่าเชื่อถือ
  • ควรตรวจสอบข้อมูลกับแหล่งข่าวระดับสากลหรือหน่วยงานรัฐ เช่น Thai PBS, BBC , Reuters, Associated Press (AP) และ กระทรวงการต่างประเทศ เพราะเว็บไซต์เหล่านี้มักมีระบบตรวจสอบข้อเท็จจริง และรายงานที่อ้างอิงได้
  1. ตรวจสอบชื่อบัญชีและเครื่องหมายยืนยันตัวตน
  • บัญชีทางการหรือบุคคลสำคัญบน TikTok, Facebook, Instagram และ X (Twitter) มักมี เครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้า หรือ Verified Badge หากไม่มีเครื่องหมายนี้ และโพสต์เนื้อหาล่อแหลมหรือสุดโต่ง  อาจเป็นบัญชีแอบอ้างเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือปลอม
  1. ใช้เครื่องมือช่วยตรวจสอบ
  • ในกรณีที่คุณสงสัยว่าเป็นวิดีโอปลอมหรือเสียง AI สามารถใช้เครื่องมือฟรี เช่น Hive Moderation ตรวจจับเสียงหรือข้อความที่สร้างด้วย AI และ InVID สำหรับตรวจสอบวิดีโอว่าเคยถูกโพสต์มาก่อนหรือไม่ / ถูกตัดต่อหรือไม่
  1. รายงานคลิปผิดกฎให้แพลตฟอร์ม
  • หากพบว่าคลิปมีเนื้อหาปลอม หลอกลวง หรือเป็นอันตราย สามารถกด “รายงาน (Report)” ได้โดยตรงใน TikTok ระบบจะส่งคลิปให้ทีมตรวจสอบ หากพบว่าผิดกฎ จะมีการลบหรือแสดงคำเตือนบนคลิปนั้น

ทั้งนี้ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศว่าอินเดียและปากีสถานตกลงหยุดยิงอย่างสมบูรณ์ โดยมีสหรัฐฯ เป็นตัวกลาง หลังทั้งสองประเทศพูดคุยกันยาวนานเมื่อคืนก่อน ซึ่งการหยุดยิงครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังเหตุโจมตีรุนแรงในแคชเมียร์ที่ทำให้นักท่องเที่ยวเสียชีวิต 26 คน จุดชนวนความขัดแย้งระหว่างสองชาติที่ต่างกล่าวหาและตอบโต้กันอย่างรุนแรง รวมถึงการยิงปะทะข้ามเส้นควบคุมและปฏิบัติการทางทหาร ล่าสุดทั้งสองประเทศตกลงยุติความรุนแรง แม้ยังมีความกังวลเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ที่ต่างฝ่ายครอบครองอยู่จำนวนมาก (ลิงก์บันทึก)