100 ปี The Rite of Spring บัลเลต์แห่งการปฏิวัติ

Logo Thai PBS
100 ปี The Rite of Spring บัลเลต์แห่งการปฏิวัติ

เคยเป็นบทเพลงที่สร้างความขัดแย้งถึงขนาดเกิดจลาจลเมื่อเปิดแสดงการครั้งแรกในกรุงปารีส แต่ The Rite of Spring ผลงานของ อิกอร์ สตาร์วินกี้ วันนี้กลับกลายเป็นหนึ่งในบทเพลงบัลเลต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของศตวรรษที่ 20

ภาพสมาชิกหญิงสาวของคณะบัลเลต์แต่งกายชุดชนพื้นเมือง กำลังเต้นรำบูชายัญด้วยท่าทางก้าวร้าว ประกอบกับเสียงออร์เคสตราที่บรรเลงอย่างขัดหู ซึ่งผู้ชมในปารีสเมื่อปี 1913 ยังไม่คุ้นเคย ทำให้รอบปฐมทัศน์ของการแสดงบัลเลต์เพลง The Rite of Spring ของ อิกอร์ สตาร์วินกี้ คีตกวีชาวรัสเซียกลายเป็นเหตุจราจล เมื่อคนดูที่คิดว่าถูกผู้จัดล้อเลียน เริ่มโห่ไล่นักแสดง และนักดนตรี เกิดการถกเถียงระหว่างแฟนเพลง 2 ฝ่าย นำไปสู่การทำลายสถานที่จัดงาน ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้ามาควบคุมสถานการณ์ไม่ให้ความรุนแรงบานปลาย

เหตุจลาจลในการแสดงบัลเลต์ครั้งนั้นเป็นผลมาจากแนวคิดในการปฏิวัติการประพันธ์ดนตรีของสตาร์วินกี้ ที่พยายามเปลี่ยนแปลงขนบในการแต่งเพลง จากที่เน้นความรื่นหู ไปสู่การทดลองแต่งเพลงที่ไม่ยึดติดกับข้อจำกัดด้านบันใดเสียง โดยหันไปเน้นการใช้จังหวะขับเคลื่อนบทเพลงมากกว่าท่วงทำนอง จนกลายเป็นจุดเปลี่ยนของการประพันธ์ดนตรีของศตวรรษในที่ 20

ในวาระครบรอบ 100 ปีการแสดง The Rite of Spring เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทาง วาเลรี เกอร์กีฟ วาทยากรชั้นนำของรัสเซีย และ มิลลิเซนต์ ฮอดสัน กับ เคนเนธ อาร์เชอร์ คู่ออกแบบท่าเต้นชาวอังกฤษ ได้จัดงานรำลึกถึงเหตการณ์ครั้งนั้นที่โรงละคร Theatre des Champs-Elysees ในกรุงปารีสที่ The Rite of Spring เปิดการรอบปฐมทัศน์ โดยจำลองการแสดงทั้งหมดให้เหมือนกับต้นตำรับ

กว่าศตวรรษที่ดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย และ The Rite of Spring ไม่สร้างความตื่นตะลึงต่อผู้ฟังเหมือนในอดีต แต่สิ่งที่ยังดำรงอยู่คือจิตวิญญาณแห่งการหวงแหนธรรมชาติที่อยู่ในบทเพลง โดย มิลลิเซนต์ ฮอดสัน นักออกแบบท่าเต้นย้ำว่าท่าเต้นในช่วงท้ายซึ่งเป็นฉากที่เด็กสาวเต้นระบำบูชายัญแก่เทพเจ้าแห่งฤดูใบไม้ผลิ ไม่เป็นเพียงการเสนอพิธีกรรมความเชื่อแต่โบราณ แต่ยังเป็นการสะท้อนการอุทิศตนเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำลังเป็นกระแสของหนุ่มสาวรุ่นใหม่ในวันนี้
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง