นักวิชาการติงรัฐบาลแก้ปัญหาสินค้าเกษตร

เศรษฐกิจ
2 ต.ค. 56
14:26
350
Logo Thai PBS
นักวิชาการติงรัฐบาลแก้ปัญหาสินค้าเกษตร

ปัญหาราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ตกต่ำ จนเกษตรกรต้องออกชุมนุมประท้วงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลได้ออกงบประมาณเพิ่มเติมอีกกว่า 2,300 ล้านบาท เพื่อแทรกแซงราคาให้สูงกว่าตลาด ซึ่งนักวิชาการสถาบันคลังสมองของชาติเห็นว่า รัฐบาลได้ทำให้สินค้าเกษตรกลายเป็นสินค้าการเมืองมากขึ้น และการรับซื้อในราคาสูง อาจส่งเสริมให้เกษตรกรรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกข้าวโพดมากขึ้น

กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภาคเหนือยุติการชุมนุมไป ตั้งแต่เมื่อวานที่ผ่านมา หลังคณะรัฐมนตรีมีมติช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 56/57 เพิ่มเติมอีกวงเงิน 2,390 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ 1,907 ล้านบาท โดยช่วยเหลือครอบคลุมไปถึงกลุ่มเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์กว่า 230,000 ครัวเรือน

มาตรการนี้นับเป็นมาตรการพิมนิยมของรัฐบาล ที่ถูกนำมาใช้ทุกครั้งที่เกิดปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ซึ่งนักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติสะท้อนว่า รัฐบาลได้ทำให้สินค้าเกษตรกลายเป็นสินค้าทางการเมืองหลายชนิด โดยไม่คำนึงถึงการแก้ปัญหาโครงสร้างสินค้าเกษตรที่แท้จริง

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยอ้างอิงราคาจากตลาดชิคาโกของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก และในช่วง3-4 เดือนที่ผ่านมาราคาในตลาดโลกมีทิศทางปรับลง ประกอบกับสภาพฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือทำให้ข้าวโพดมีความชื้นสูงจึงมีราคาต่ำซึ่งเป็นภาวะปกติ โดยทางออกที่รัฐบาลควรทำคือการรวมกลุ่มเกษตรกรรายย่อยและพัฒนาคุณภาพสินค้า แต่หากดูการผลิตและการบริโภคภายในประเทศ จะเห็นว่าไทยมีการผลิตเฉลี่ย 4.8-4.9 ล้านตันและใช้ในประเทศถึงร้อยละ 91 ล้านตันในอุตสาหกรรมอาสัตว์ ดังนั้นหากปล่อยไปตามกลไกตลาด รศ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ ก็เชื่อว่าราคาจะกลับมาสูงขึ้นภายใน 1เดือนนี้

ทั้งนี้พื้นที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในไทยมีเพียง 7.4 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับสินค้าเกษตรอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่ป่าไม้บนภูเขา ซึ่งถือเป็นพืชที่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติสูงที่สุด และการเปิดให้สิทธิ์เกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์เข้าร่วมโครงการจึงเหมือนดาบสองคม ที่อาจส่งเสริมทางอ้อมเกษตรกรบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นได้


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง