ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ชี้สัดส่วน“ไฟฟ้า” ไทยยังพอไม่ต้องสร้างเขื่อนในลาวเพิ่ม

สิ่งแวดล้อม
9 ส.ค. 61
16:27
1,337
Logo Thai PBS
ชี้สัดส่วน“ไฟฟ้า” ไทยยังพอไม่ต้องสร้างเขื่อนในลาวเพิ่ม
นักวิชาการ ชี้กำลังสำรองพลังงานไฟฟ้าในไทยยังเพียงพอ 42,299 เมกกะวัตต์ ขณะที่ปีนี้การใช้ไฟฟ้าสูงสุด 29,968 เมกกะวัตต์ ตัวเลขเพิ่มแค่ 1.1% ขณะที่ซื้อไฟฟ้าจากลาวแค่ 9% ยังไม่ต้องสร้างเขื่อนในลาวเพิ่ม

วันนี้ (9 ส.ค.2561) นายวิทูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ ผู้อำนวยการเครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง กล่าวในเวทีสนทนาประชาชนเขื่อนในลาว (แต่)ไม่ใช่เขื่อนลาว ต่อกรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในแขวงอัตตะปือ ทางตอนใต้ของลาวแตก ซึ่งตามแผนเขื่อนแห่งนี้จะส่งไฟขายให้กับรัฐบาลไทย

โดยยืนยันว่าภาพรวมกำลังผลิตไฟฟ้าในระบบยังมีเพียงพอมีตัวเลขที่ 42,299 เมกกะวัตต์ ขณะที่การใช้ไฟฟ้าสูงสุดในวันพีคสูงสุดเพียง 29,968 เมกกะวัตต์เมื่อวันที่ 24 เม.ย.61 และสัดส่วนการใช้เพิ่มขึ้นเพียง 1.1% ในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ

 

 

ตัวเลขการผลิตในประเทศ 36 % และนำเข้าจากลาวเพียง9%หรือประมาณ 3,900
เมกกะวัตต์ และไทยกำลังไฟ้าที่ 42,299 เมกกะวัตต์ ดังนั้นดังนั้นแผนพลังงานไทยที่จะลงทุนสร้างเขื่อนและซื้อไฟฟ้าทั้งในลาวและเพื่อนบ้านในภูมิภาค จึงยังไม่จำเป็น

เพราะขณะนี้หากไทยลงทุนในเรื่องการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตามแผน AEDP ที่กระทรวงพลังงานวางไว้ในปี 2015-2067 โดยมีตัวเลขรวม 19,000 เมกกะวัตตืจากตัวเลขปัจจุบัน 10,000 เมกกะวัตต์


นายวิทูรย์ กล่าวอีกว่า ถ้าดูตามตัวเลขนี้ไทยยังมีไฟฟ้าสำรองอยู่เพียงพอ และถ้านำมาพัฒนาพลังงานหมุนเวียนได้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากนอกประเทศ ร่วมกับการผลิตไฟฟ้าจากเอกชน ความต้องการใช้ไฟฟ้าในไทยจะไม่ใช่เหตุผลสร้างเขื่อนในลาว แต่มาจากเหตุผลประโยชน์อื่น ทั้งจากการธนาคารและบริษัทก่อสร้าง ถ้าไม่ระวังหรือทบทวนจะกลายเป็นต้นทุนกับผู้บริโภค

 

หนุนลาวใช้โอกาสทบทวนเขื่อนจากนักลงทุน

สิ่งที่รัฐบาลลาวจะประกาศทบทวนยุทธศาสตร์เขื่อนไฟฟ้าในลาวทั้งหมดเห็นด้วย เป็นโอกาสที่ดีเพราะว่ามีการศึกษาจากสภาแม่น้ำโขงแล้วว่าการลงทุนสร้างเขื่อนไม่ควรเป็นทางออกพลังงาน เพราะเกิดผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่ควรมองพลังงานอื่น และเชื่อว่าลาวมีศักยภาพอื่นและไม่จำเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย

ข้อเสนอคืออยากให้มีหน่วยงานอิสระ เข้าไปศึกษาความเสียหายเพื่อให้เห็นคำตอบในเชิงมูลค่า และส่งไปยัง 4 บริษัทที่ลงทุนได้แสดงความรับผิดชอบต่อชีวิต ทรัพย์สิน และทรัพยากร เพราะสิ่งที่เห็นตอนนี้คือการทำตามยถากรรม ไม่สามารถประเมินความเสียหาย

 

ขณะที่ยังตั้งข้อสังเกตว่าเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ยังไม่เก็บกักน้ำแบบเต็มพื้นที่ แต่กลับมีตะกอนดินโคลนมหาศาล อาจจะมากกว่าตอนกรณีดินโคลนถล่มที่กะทูนของประเทศไทย นอกจากนี้อนาคตถ้าเขื่อนนี้ยังเดินหน้าต่อ หากมีน้ำล้นเขื่อนเซเปียน น้ำจะถูกพร่องลงในลำน้ำพรมแดนไปยังเซกอง ของกัมพูชาโดยตรงเพราะเป็นจุดรวมของแม่น้ำโขง แล้วใครจะรับผิดชอบ

ปัจจุบันไทยลงทุนเขื่อนในลาว 11 โครงการและเป็นบริษัทลูกของกฟผ.เข้าไปลงทุนทำให้เกิดคำถามว่าเป็นทั้งผู้ผลิต และผู้ซื้อไฟฟ้ ท้ายที่สุดผู้บริโภคจะได้รับความเป็นธรรมจริงหรือไม่

สำหรับโครงการเขื่อนไฟฟ้าเซเปียน-เซน้ำน้อย ดำเนินการโดยบริษัท ไฟฟ้า เซเปียน-เซน้ำน้อย จำกัด เป็นการร่วมทุนของบริษัทข้ามชาติชั้นนำ 4 แห่ง ประกอบด้วย บริษัท SK Engineering and Construction จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 26 บริษัท Korea Western Power จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 25 บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 25 และ Lao Holding State Enterprise ถือหุ้นร้อยละ 24

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง