แนวนโยบายหลักที่ทุกพรรคการเมืองที่ลงชิงชัยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทั้ง จ.ยะลา จ.ปัตตานี และ จ.นราธิวาส ก็คือ ชูนโยบายแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แบบสันติวิธี การส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ของคนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ปัญหาด้านการศึกษาและยาเสพติด
แต่ค่านิยมของคนในพื้นที่จะนิยมเลือกคนมากกว่าเลือกพรรค แต่กรอบกติกาในการเลือกตั้ง ครั้งนี้ระบุว่า การเลือกคน หมายถึงการเลือกพรรคไปโดยปริยาย อาจทำให้ผลการเลือกตั้งในพื้นที่เปลี่ยนไป เพื่อหวังจะคว้า 11 ที่นั่งในพื้นที่ 3 จังหวัด
ยะลา เดือด 3 เขต
จ.ยะลา ซึ่งมี 3 เขตเลือกตั้ง มีการแข่งขันที่ค่อนข้างเข้มข้น เพราะมีการย้ายพรรคและ และตั้งพรรคใหม่ของอดีต ส.ส.หลายคน
เขตเลือกตั้งที่ 1 พรรคพลังประชารัฐส่งนายอดิลัน อาลีอิสเฮาะ สู้ศึกเลือกตั้งกับนายภูริพงษ์ พงษ์สุวรรณศิริ ลูกชายของนายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์
เขตเลือกตั้งที่ 2 เป็นอีกเขตที่น่าจับตามอง เพราะมีนายซูการ์โน มะทา น้องชายนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ ลงแข่งขัน โดยจะสู้กับ นายอับดุลการิม เด็งระกีนา อดีต ส.ส.เก่าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ย้ายไปสังกัดพรรครวมพลังประชาชาติไทย ขณะที่พรรคภูมิใจไทย ส่งนายริดวาน มะเต๊ะ อดีต สจ.เข้าชิงชัย
เขตเลือกตั้งที่ 3 พรรคประชาชาติ ส่งนายอับดุลฮายี สาแม็ง อดีต ส.ว.ชิงพื้นที่กับนายณรงค์ ดูดิง พรรคประชาธิปัตย์
นราธิวาส
ขณะที่ จ.นราธิวาส ซึ่งมี 4 เขตเลือกตั้ง ในพื้นที่ 14 อำเภอ
เขตเลือกตั้งที่ 1 พรรครวมพลังประชาชาติไทย ส่ง ด.ต.มโณ วารีวะวะนิช อดีต สจ.ลงแข่งขันสู้กับอดีต ส.ส. 2 สมัย คือนายวัชระ ยาวอหะซัน จากพรรคพลังประชารัฐ ลูกชายคนโตของนายกูเซ็ง ยาวอหะซัน นายก อบจ.นราธิวาส 3 สมัย ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ส่งนายกูอาเซ็ม กูจินามิง ลงในเขต 1
เขตเลือกตั้ง ที่ 2 นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ลงแข่งขันในนามพรรครวมพลังประชาชาติไทย ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ส่งนายเจ๊ะซู ตาเหย็บ ประชาธิปัตย์ ขณะที่พรรคพลังประชารัฐ ส่งนายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ สู้ศึก ขณะที่พรรคประชาชาติส่งนายสารี สะมะแอ ประชาชาติ
ขณะที่เขตเลือกตั้ง 3 นายกูเฮ็ง ยาวอหะซัน อดีต ส.ส.ที่ลงแข่งขันในนามพรรคประชาชาติ ลงสู้ศึกกับนายกูอาเซ็ม กูจินามิง อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ ที่สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เช่นเดิม
ขณะที่เขตเลือกตั้งที่ 4 มีผู้สมัครหน้าใหม่จากพรรครวมพลังประชาชาติไทยอย่างนายเจ๊ะอิลย๊าส โตะตาหยง อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ บุตรชายนายเจะอามิง โตะตาหยง อดีต ส.ส.นราธิวาส 5 สมัยซ้อน ที่ให้ลูกชายลงสู้ศึกแทน ขณะที่นายเจะอามิง ลงในระบบบัญชีรายชื่อ
ขณะที่ จ.ปัตตานี มีทั้งหมด 4 เขตเลือกตั้ง หากเทียบเคียงกับการเลือกตั้งปี 2554 จะมีความหลากหลายค่อนข้างมากโดย เขตเลือกตั้งที่ 1 และ 2 เป็นของพรรคประชาธิปัตย์ แต่ในเขตเลือกตั้งที่ 3 เก้าอี้ ส.ส.เป็นของพรรคมาตุภูมิ และในเขตเลือกตั้งที่ 4 เป็นของพรรคภูมิใจไทย โดย จ.ปัตตานี
ปัตตานี
เขตเลือกตั้งที่ 1 จ.ปัตตานี พรรคเพื่อไทย ส่งนายอัสมัน โต๊ะมีนา น้องชายนายเด่น โต้ะมีนา อดีตนักการเมืองชื่อดังของปัตตานี ซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง รมช.มหาดไทย เข้าลงสนาม ขณะที่พรรคพลังประชารัฐ ส่งนายมูฮำมัดปาเรซ โลหะสัณห์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสและอดีตผู้สมัคร ส.ส.ลงชิงชัย พรรคประชาชาติ ส่งนายวรวิทย์ บารู ดีกรี อดีต สว.ลงในเขต 1
เขตเลือกตั้งที่ 2 จ.ปัตตานี พรรคพลังประชารัฐ ส่งคนรุ่นใหม่อย่างนายนัซรูดดีน ฮัจยีดาโอะ ลงสนาม ขณะที่พรรคประชาชาติส่งนายมูฮำหมัดอารีฟีน จะปะกียา อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มาลง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ส่งนายอิสมาแอล เบญอิบรอฮีม อดีต ส.ส.เข้าสู้ ขณะที่พรรคเพื่อไทยส่งนายนาเซร์ พงค์ประเสริฐ อดีตผู้สมัคร สว.ซึ่ง คนในเครือญาติตระกูลโต๊ะมีนา ลงชิงชัย ขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนาส่งนายเอกอนันต์ วันอารีย์สกุล
เขตเลือกตั้งที่ 3 ปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ส่งนายคอเลฟ เจ๊ะนา ลูกชายของสมมาตร เจ๊ะนา อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ ลงแข่งขัน ขณะที่นายอนุมัติ ซูสารอ อดีต ส.ส.พรรคมาตุภูมิที่ลงแข่งขันในเสื้อพรรคประชาชาติ, นายนัซรูดดีน ฮัจยีดาโอะ พรรคพลังประชารัฐ, นายอาลีฟ มาแฮ พรรคอนาคตใหม่, นายนาเซร์ พงค์ประเสริฐ อดีต ส.ว.ลงในนามพรรคเพื่อไทย,นายอับดุลกอฮาร์ อาแวปูเตะ อดีตประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมลงแข่งขันพรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนาส่งอดีตนายอับดุลรามัน มะยูโซะ ส.ส.ลงแข่งขัน
เขตเลือกตั้งที่ 4 ปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ส่งนายฟรีดี เบญอิบรอน อดีตเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการคมนาคมมาลงสนาม โดยต้องพบกับ พรรคประชาธิปัตย์, นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ อดีต ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ลงแข่งขันในนามพรรคประชาชาติ ขณะที่พรรคพลังประชารัฐ ส่งคนรุ่นใหม่อย่างนายอันวาร์ สะมาแอ อดีตนายกฯอบต.ลงสนาม พรรคภูมิใจไทยส่งนายมูฮํามัดอาลาวี บือแน และพรรคอนาคตใหม่ส่งคนรุ่นใหม่สู้ศึกเช่นกันคือนายวันฮูเซน แวหะยี