ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ครอบครัวเดินลุยฝนเข้ากรุงเทพฯ ทวงถามคดีโกงเงินคนพิการ

อาชญากรรม
5 ก.ย. 62
10:29
1,411
Logo Thai PBS
ครอบครัวเดินลุยฝนเข้ากรุงเทพฯ ทวงถามคดีโกงเงินคนพิการ
ครอบครัวคนพิการ-เครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ เดินลุยฝน จาก จ.กาฬสินธุ์ มุ่งหน้ากรุงเทพฯ ทวงถามคดีโกงเงินคนพิการไม่คืบ ด้าน อธิบดี พก.ระบุ กำลังตรวจสอบ ยืนยันโกง 1,500 ล้านบาทไม่จริง

วันนี้ (9 ก.ย.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ คนพิการ และครอบครัวคนพิการ ผู้เสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิปฎิบัติไม่เป็นธรรมจากการถูกโกงค่าจ้างงานคนพิการ มาตรา 35 ตาม พ.ร.บ.ส่งเสิรมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้เดินออกจาก อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ มุ่งหน้ากรุงเทพมหานคร ซึ่งการเดินครั้งนี้เป็นการ “เดินต้านทุจริต พิทักษ์สิทธิ์คนพิการ 600 กิโลเมตร พิทักษ์สิทธิ์ เอาผิดคนโกง” หลังตลอดการยื่นเรื่อง 1 ปี ยังไม่มีความคืบหน้าทางคดี 

นางฐานิดา อนุอัน ชาว จ.กาฬสินธุ์ ผู้ปกครองคนพิการ ที่ออกมาร้องเรียนว่าถูกโกงจากการเข้าร่วมโครงการจ้างเหมาบริการ มาตรา 35 เมื่อปี 2561 แต่ระหว่างเข้าร่วมทำงานกับชมรมคนพิการทางสติปัญญา และได้รับค่าจ้างเดือนละ 2,000 บาท จนมาพบข้อพิรุธว่าน่าจะถูกโกง เมื่อขอสเตทเม้นท์ หรือ รายการเดินบัญชีธนาคารมาตรวจสอบ พบว่ายอดเงินที่บริษัทสนับสนุนจ้างงานคนพิการจ่ายให้ครบ แต่ยอดเงินที่ชมรมฯ จ่ายให้ไม่ตรงตามความจริง

บอกว่าจะให้พี่เดือนละ 4,000 บาท ไม่เคยรู้เลยว่าจะได้ ยอดรวม 109,500 บาท เข้าไปชมรมก็ไม่มีการฝึกทักษะ หรือ ทำงานอะไร เหมือนผักชีโรยหน้า มาตรวจทีก็จัดฉากที

วันเดียวกัน นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้เดินทางมาชี้แจงข้อมูล กับเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ โดยระบุว่าไม่ได้นิ่งนอนใจอยู่ระหว่างการตรวจสอบเนื่องจากมีรายละเอียดมาก โดยเฉพาะการสอบวินัยข้าราชการ 1 คน ต้องแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ยอมรับว่า ผลสอบข้อเท็จจริง จ.กาฬสินธ์ พบมีการฉ้อโกง และได้ให้ผู้เสียหายดำเนินการร้องทุกข์แจ้งความดำเนินคดี แต่ยืนยันว่า การโกงคนพิการไม่ถึง 1,500 ล้านบาท ตามที่เครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์กล่าวอ้าง เพราะมีการร้องเรียนมาหลัก 10 เท่านั้น และกำลังแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ฉบับแก้ไขปี 2559 ไม่ให้มีช่องโหว่ รวมทั้งจะทำระบบข้อมูลตรวจสอบการใช้สิทธิ์จ้างงานมาตรา 33, มาตรา 34 และมาตรา 35 ของคนพิการ เพื่อไม่ให้เกิดการจ้างงานซ้ำซ้อน

สำหรับแผนการเดินเท้าเข้ากรุงเทพมหานคร ครอบครัวคนพิการ และเครือข่าย จะเดินวันละ 30-50 กิโลเมตร และระหว่างทางจะเปิดรับเรื่องราวร้องทุกข์คนพิการด้วย โดยเป้าหมายจะเดินไปถึงทำเนียบรัฐบาลคาดว่าจะใช้เวลา 3 สัปดาห์

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง