วันนี้ (29 ก.ย.2565) ว่าที่ร้อยตรี ธนสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมอุตุนิยมวิทยา แถลงสถานการณ์ผลกระทบจากพายุโนรู โดยระบุว่า ช่วงเที่ยงวันนี้พายุโนรูมีศูนย์กลางอยู่ที่ อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม โดยเคลื่อนตัวช้าลงอยู่ที่ประมาณ 10 กม./ชม. ไปทางตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ความเร็วลมศูนย์กลางยังเป็นพายุดีเปรสชันอยู่ โดยมีการปรับตัวและกำลังอ่อนกำลังลง โดยกรมอุตุนิยมวิทยาจะติดตามในช่วงบ่ายถึงค่ำวันนี้ว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงหรือไม่
คาดว่า ศูนย์กลางของพายุจะเคลื่อนไปอยู่บริเวณรอยต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน โดยมุ่งหน้าไปสู่ จ.ขอนแก่น ไปสู่ จ.ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ ก่อนเข้าสู่ภาคเหนือตอนล่าง
ผลกระทบในช่วงนี้ยังคงมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะบริเวณภาคอีสานตอนล่าง และอาจมีฝนตกหนักถึงนักมากในบางพื้นที่
สำหรับภาคใต้มีฝนตกมากขึ้น เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมที่มีกำลังแรง เป็นผลทางอ้อมจากพายุโนรู
ขณะเดียวกัน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศฉบับที่ 22 เวลา 13.00 น. เรื่อง พายุดีเปรสชัน “โนรู” มีศูนย์กลางอยู่บริเวณ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม โดยจังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้
ภาคเหนือ : จ.ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก
และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม
ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ
ภาคกลาง : จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม
รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก : จ.นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ : จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง
พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ภาคเหนือ : จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร
พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา และบุรีรัมย์
ภาคกลาง : จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก : จ.ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ : จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 1 ต.ค.2565