ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สนค.ชี้ Service Robot ทั่วโลกมาแรง ลดต้นทุน ใช้แทนแรงงานคน

เศรษฐกิจ
8 มี.ค. 67
11:41
423
Logo Thai PBS
สนค.ชี้ Service Robot ทั่วโลกมาแรง ลดต้นทุน ใช้แทนแรงงานคน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สนค .ชี้เทรนด์ใช้หุ่นยนต์บริการโตต่อเนื่อง ทั่วโลกใช้ Service Robot แทนแรงงานมนุษย์ ลดแบกรับต้นทุนระยะยาว แนะผู้ประกอบการปรับตัวสู่การค้ายุคใหม่ ใช้หุ่นยนต์บริการ พร้อมเร่งสร้างองค์ความรู้

วันนี้ (8 มี.ค.2567) นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องการใช้หุ่นยนต์บริการ (Service Robots) ในภาคธุรกิจกำลังเติบโตทั่วโลก ซึ่งมีปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญมาจากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งเป็นผลจากการที่หลายประเทศกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ส่งผลให้สัดส่วนวัยทำงานลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาส่งผลให้การดำเนินชีวิตแบบใหม่มีการเว้นระยะห่างทางสังคม และลดการสัมผัสมากขึ้น

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

รายงาน World Robotics 2023 - Service Robot ของสหพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติ (International Federation of Robotics : IFR) พบว่า ปี 2565 หุ่นยนต์บริการสำหรับมืออาชีพ (Professional Service Robot) มียอดขายทั่วโลก 158,000 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 48 จากปีก่อนหน้า

โดยหุ่นยนต์บริการสำหรับมืออาชีพ ปฏิบัติงานครอบคลุมตั้งแต่การขนส่งและโลจิสติกส์ เกษตรกรรม การทำความสะอาด การตรวจสอบและบำรุงรักษา การก่อสร้างและรื้อถอน การแพทย์ การต้อนรับ การค้นหา การช่วยเหลือ ตลอดจนความปลอดภัย และอื่น ๆ

หุ่นยนต์บริการ (Service Robots)

หุ่นยนต์บริการ (Service Robots)

หุ่นยนต์บริการ (Service Robots)

ผอ.สนค. กล่าวอีกว่า หุ่นยนต์บริการสำหรับภาคธุรกิจที่สร้างยอดขายสูงสุด 3 อันดับแรกของโลก ในปี 2565 ได้แก่ หุ่นยนต์ขนส่งและโลจิสติกส์ (Transportation and Logistics) ยอดขาย 86,000 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 44 ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่ใช้ในอาคาร มียอดขายมากถึง 37,300 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 78 ส่วนใหญ่ใช้เพื่อการส่งอาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหาร

หุ่นยนต์ต้อนรับ (Hospitality) ยอดขาย 24,500 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 125 เป็นหุ่นยนต์ใช้สำหรับตอบโต้กับผู้มาติดต่อ/ผู้รับบริการ ในการแนะนำหรือให้ข้อมูลต่าง ๆ และ หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robot) ยอดขาย 9,300 ตัว ลดลงร้อยละ 4 โดยเป็นหุ่นยนต์ผ่าตัด 4,900 ตัว และหุ่นยนต์สำหรับการฟื้นฟูและบำบัด 3,200 ตัว

ปัจจุบันภาคธุรกิจในต่างประเทศ เช่น สหรัฐฯ มีการนำหุ่นยนต์บริการมาเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เช่น ใน ร้านอาหารที่ใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยให้บริการทั้งการเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม จัดโต๊ะ และต้อนรับลูกค้า ซึ่งสามารถลดภาระงานให้กับพนักงาน ลดความเสี่ยงในการสูญเสียต้นทุนจากการเกิดอุบัติเหตุ และยังเพิ่มความเร็วในการให้บริการได้ถึง 4 เท่า

โดรนส่งอาหารและสินค้าต่างๆ

โดรนส่งอาหารและสินค้าต่างๆ

โดรนส่งอาหารและสินค้าต่างๆ

หรือร้านขายของชำที่ ใช้หุ่นยนต์ Tally ในการลดภาระพนักงานในการเดินเก็บข้อมูลสถานะสต็อกสินค้าตลอดวัน ช่วยในการเก็บข้อมูลสต็อกสินค้า การสั่งซื้อสินค้า และการจัดวางสินค้าซึ่งหุ่นยนต์ Tally ยังช่วยลดข้อผิดพลาดด้านการแจ้งราคาและโปรโมชั่นได้ร้อยละ 90 ลดปัญหาสินค้าหมดสต็อกลงได้ร้อยละ 60 และทำให้พนักงานมีเวลาเพิ่มขึ้น 30 ชั่วโมง/สัปดาห์ ในการไปดูแลลูกค้าเพิ่มขึ้น

รวมไปถึงบริษัทค้าปลีกอุปกรณ์กีฬาที่ ใช้หุ่นยนต์ LocusBots ทำงานร่วมกับมนุษย์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในส่วน e-Commerce ให้สามารถตอบสนองต่อคำสั่งซื้อในส่วนร้านค้าออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่มียอดคำสั่งซื้อสูง โดย LocusBots ช่วยเพิ่มความเร็วในการหยิบสินค้าของพนักงานจากสต็อกสินค้า จากเดิมที่มีความเร็วเฉลี่ย 35 หน่วยต่อชั่วโมง เพิ่มขึ้นได้สูงถึง 125 หน่วยต่อชั่วโมง หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 3.5 เท่า

หุ่นยนต์ทางการแพทย์

หุ่นยนต์ทางการแพทย์

หุ่นยนต์ทางการแพทย์

สำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ภาครัฐมีนโยบายให้การสนับสนุน ซึ่งไทยมีศักยภาพทั้งด้านการเป็นผู้ออกแบบ และผู้ผลิต โดยเฉพาะในส่วนของหุ่นยนต์บริการ

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้ข้อมูลว่าในปี 2565 ตลาดหุ่นยนต์บริการในประเทศไทยเติบโตกว่าร้อยละ 147.8 มีหุ่นยนต์บริการที่ใช้งานจริงในประเทศกว่า 1,660 ตัว เป็นมูลค่ายอดขายกว่า 398 ล้านบาท

คาดการณ์ว่า ปี 2567 การใช้งานหุ่นยนต์บริการในประเทศจะอยู่ที่ 2,270 ตัว หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.7 เมื่อเทียบกับปี 2565 โดยหุ่นยนต์ส่งของและหุ่นยนต์ทำความสะอาด มียอดการใช้งานในประเทศรวมกันประมาณ 1,300 ตัว และหุ่นยนต์ต้อนรับ ประมาณ 360 ตัว
หุ่นยนต์บริการ (Service Robots) ในอุตสาหกรรมยานยนต์

หุ่นยนต์บริการ (Service Robots) ในอุตสาหกรรมยานยนต์

หุ่นยนต์บริการ (Service Robots) ในอุตสาหกรรมยานยนต์

สำหรับผู้ประกอบการหุ่นยนต์บริการของไทย มีประมาณ 31 ราย ซึ่งมีเพียง 3-5 ราย ที่เป็นกลุ่มผู้ผลิตและพัฒนาหุ่นยนต์บริการ ขณะที่ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อจำหน่ายและให้บริการ โดยราคาตลาดของหุ่นยนต์ส่งของ (Delivery Robots) ที่ส่วนใหญ่ใช้ในการเสิร์ฟอาหาร มีราคาเช่าตั้งแต่ 11,000-18,000 บาท/เดือน

ราคาเช้าหรือซื้อหุนยนต์ใกล้เคียงกับต้นทุนในการจ้างพนักงาน 1 คน แต่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการฝึกฝนพนักงาน และลดความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงานโดยมนุษย์ลงได้
ตลาดแรงงาน

ตลาดแรงงาน

ตลาดแรงงาน

แรงงานในภาคอุตสาหกรรม

แรงงานในภาคอุตสาหกรรม

แรงงานในภาคอุตสาหกรรม

ผอ.สนค. กล่าวอีกว่า การนำใช้หุ่นยนต์บริการมาช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจถือเป็นทางเลือกที่จะช่วยลดภาระต้นทุนให้กับผู้ประกอบการได้ในระยะยาว เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าในกรณีเร่งด่วน และยังสร้างโอกาสในการปรับตัวสู่การทำธุรกิจในยุคใหม่ ตลอดจนรองรับภาวะการขาดแคลนแรงงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

“รัฐควร เร่งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการ ถึงความสำคัญและแนวทางการนำหุ่นยนต์บริการมาปรับใช้ในภาคธุรกิจ และสามารถเข้าถึงการใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ผู้ประกอบการภาคเอกชนสามารถศึกษารูปแบบการใช้งานหุ่นยนต์บริการจากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นโอกาสในการนำเทคโนโลยีมาปรับเปลี่ยนและยกระดับศักยภาพของธุรกิจ”

อ่านข่าวอื่นๆ:

จับตา"ราคาทองคำ"เฉียดบาทละ 3.8 หมื่นบาท ปลายไตรมาส 2

"สงกรานต์” คาดเงินสะพัด 5 หมื่นล้าน ม.หอการค้าเชื่อหนุนศก.ไทยฟื้น

"เมียนมา"ติดท็อปชาร์ต แห่ซื้อคอนโดไทย หนีสงครามกลางเมือง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง