แก้ปัญหาให้คนอื่นช่างง่าย แต่พอเป็นเรื่องตัวเอง ทำไมยากจัง ?

ไลฟ์สไตล์
27 พ.ค. 67
17:14
118
Logo Thai PBS
แก้ปัญหาให้คนอื่นช่างง่าย แต่พอเป็นเรื่องตัวเอง ทำไมยากจัง ?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เคยไหม ? เมื่อมีคนเข้ามาขอคำปรึกษา เราจะสามารถให้คำแนะนำ หาทางออกให้เขาได้ แต่เวลาที่เรื่องนั้นเกิดขึ้นกับเราบ้าง ทำไมถึงหาทางออกไม่เจอสักที หลายคนยังวนเวียน จมอยู่กับปัญหาคล้ายกับคำว่า "แก้ได้แต่เขา อิเหนาเป็นเสียเอง"

บทความจากโครงการ "การเผชิญความตายอย่างสงบ"  ของเว็บไซต์ happydeathday.co ที่ สสส. นำมาเผยแพร่ต่อ เล่าถึงสถานการณ์อันยากลำบากของใครหลาย ๆ คนที่เคยเป็นทั้งผู้ให้คำปรึกษาคนอื่น และในขณะเดียวกันก็จมอยู่กับปัญหาของตัวเอง ไม่สามารถใช้คำปรึกษาที่ให้คนอื่น ๆ นั้นมาแก้ไขให้ตัวเองได้ 

เหตุผลเป็นเพราะ สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรานั้น เรามักคิดว่า "เป็นของของเรา" ทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดี ได้ของขวัญวันเกิดก็คิดว่าเป็นของ ๆ เรา แต่รับมอบหมายงานก็คิดว่าเป็นของ ๆ เรา แต่เมื่อจังหวะเวลา "ความพลัดพราก" มาถึง จากงานที่เคยทำต้องเปลี่ยนมือ ของเล่นที่ชอบเล่นพัง ทุกคนมักรู้สึกเสียใจเพราะเกิดความผูกพันกับสิ่งเหล่านั้น และมักมีความคิดไม่ยอมรับความจริงตามมา 

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

แพทย์-พยาบาล อีกอาชีพที่มีโอกาสเจอความพลัดพรากบ่อยกว่าคนทั่วไป ในสหรัฐอเมริกา หมอหลายคนเผยว่า พวกเราไม่ค่อยรู้สึกเสียใจอะไรเมื่อคนไข้เสียชีวิต เพราะเขาเหล่านั้นไม่ใช่ญาติ แต่เมื่อใดก็ตามที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องรักษาผู้ป่วยที่เป็นญาติ มันจะมีเหตุผลที่แตกต่างออกไปอีก เช่น ทำใจยอมรับไม่ได้ที่ต้องเห็นคนรัก คนในครอบครัวเจ็บปวด 

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

สัณชาตญาณของมนุษย์เมื่อผูกพันกับสิ่งใดแล้ว มักจะมีความรู้สึกหวงแหนตามมา และจะพยายาม "ยื้อ" ให้สิ่งนั้นอยู่กับเราให้นานเรื่อย ๆ โดยที่เราอาจเผลอคิดถึงความต้องการของอีกฝ่าย หลายครั้งที่ญาติทำใจไม่ได้เมื่อเห็นผู้ป่วยเจ็บปวดและวิงวอนให้แพทย์ทำการรักษาต่อไป โดยลืมนึกถึงผู้ป่วย ที่อาจทำใจยอมรับกับการพลัดพรากที่กำลังจะมาถึง

บางคนคิดว่าต้องพยายามดูแลให้ดีที่สุด แต่แท้ที่จริงคำว่าดีที่สุดคือดีของใคร ? ผู้ป่วยที่ทำใจแล้วอยากอยากได้อิสระให้ชีวิตตนเองก็ได้ 
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

แต่ในโลกของความเป็นจริง ทุกสิ่งไม่ได้เป็นไปอย่างใจเราหวัง หลายครั้งไม่มีแม้แต่สัญญาณเตือนว่าเรากำลังจะสูญเสียอะไรไป แต่ความพลัดพรากก็ยังคงเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ตราบเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก

อ่านข่าว : โลกช็อก! "เกรย์สัน เมอร์เรย์" โปรกอล์ฟปลิดชีพตนเองหลังมีปัญหาสุขภาพจิต

แล้วเราจะทำอย่างไรดี ?

แม้ว่าเราจะรู้อยู่แล้วว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาย่อมมีวันดับไป แต่เมื่อ ความพลัดพราก มายืนอยู่ตรงหน้าจริง ๆ เราก็ยังสั่นไหว จมอยู่ในอารมณ์เศร้า หรือทำใจยอมรับไม่ได้อยู่ดี

จะดีไหม ? ถ้าเราใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับเรา แล้วใช้เวลาที่ยังมีอยู่ ณ ขณะนี้ ทำในสิ่งที่เราอยากทำกับสิ่งที่เรารัก ใช้เวลาทุกขณะให้มีค่ามากที่สุด เหมือนว่าวันนี้เป็นวันสุดท้าย อยากบอกอยากทำอะไรให้รีบทำ เพราะเมื่อวันนั้นมาถึง อย่างน้อยเราก็จะไม่รู้สึกติดค้าง หรือคิดว่า "รู้อย่างนี้ ตอนนั้นฉัน…"

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

บางทีการกระทำหรือการคิดแบบนี้อาจช่วยทำให้เราค่อย ๆ ยอมรับความจริงที่จะเกิดขึ้นกับเราได้สักวัน หรือช่วยทำให้เราคลายความโศกเศร้า แล้วกลับมาดูแลสิ่งที่เรารัก ที่ยังอยู่รอบตัวเราได้ดีอีกด้วย เพราะเราจะเป็นคนใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ในอดีต อยู่กับความเป็นจริง และเข้าใจความเป็นไปของชีวิตได้เป็นอย่างดี

สำหรับผู้ที่กำลังเผชิญช่วงเวลาที่ยากลำบาก กระทรวงสาธารณสุขเปิด สายด่วน 1323 ซึ่งเป็นบริการทางการแพทย์ที่ให้บริการฟรีมานานนับ 10 ปีแล้ว จัดตั้งขึ้นเพื่อให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตทั่วไปที่ไม่ต้องใช้ยา หรือการให้คำปรึกษาในภาวะเร่งด่วน ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการไม่ต้องไปรอคิวที่โรงพยาบาล

และควรปรึกษา จิตแพทย์ แพทย์ผู้รักษา นักแนะแนว หรือ นักจิตวิทยา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัว ปรับใจ กับปัญหาชีวิตได้อย่างถูกวิธีและเกิดประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังเผชิญปัญหามากที่สุด 
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

อ่านข่าวอื่น :

“ชัยธวัช” ขอบคุณโพลหนุน “ก้าวไกล” หวัง “พิธา” นั่งนายกฯ

หนี้เสียสินเชื่อบ้านพุ่ง “สภาพัฒน์ฯ”เตือนสัญญาณอันตราย

อคส.เปิด TOR ขายข้าวค้างโกดัง 10 ปี ยื่นเสนอซื้อ 17 มิ.ย.67

ข่าวที่เกี่ยวข้อง