ทำไม ? “โรคหอบหืด” ถูกพบบ่อยใน “นักกีฬาโอลิมปิก”


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

5 ส.ค. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

ทำไม ? “โรคหอบหืด” ถูกพบบ่อยใน “นักกีฬาโอลิมปิก”

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1470

ทำไม ? “โรคหอบหืด” ถูกพบบ่อยใน “นักกีฬาโอลิมปิก”
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

“นักกีฬาโอลิมปิก” แน่นอนว่าร่างกายต้องแข็งแรงกว่าบุคคลทั่วไป น่าจะมีสุขภาพดี แต่จากงานวิจัย Scandinavian Journal of Medicine & Science in Sports ในปี 2023 ซึ่งเผยแพร่ใน onlinelibrary.wiley พบว่า นักกีฬาโอลิมปิกประมาณ 15 - 30% เป็น “โรคหอบหืด” (Asthma) ขณะที่กีฬาบางประเภทตัวเลขอาจสูงถึงกว่า 50% เลยทีเดียว

เล่นกีฬานั้นดี แต่การเล่นกีฬาอย่างหนักอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เมื่อคุณพยายามเกินขีดจำกัดของตัวเอง อาจทำพบกับความบาดเจ็บตามร่างกายได้ 
ในปี 1996 มีการคาดการณ์นักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน เป็น “โรคหอบหืด” กว่า 20% ขณะที่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปีเดียวกัน คาดว่าตัวเลขน่าจะสูงมากกว่า ส่วนงานวิจัยล่าสุดจาก Scandinavian Journal of Medicine & Science in Sports ได้เผยแพร่ในปี 2023 พบว่านักกีฬาโอลิมปิกประมาณ 15 - 30% เป็น “โรคหอบหืด” (Asthma) ขณะที่กีฬาบางประเภทตัวเลขอาจสูงถึงกว่า 50%

rear-view-male-athlete-with-hands-hip-standing-race-track

โดย “โรคหอบหืด” (Asthma) เป็นคำรวมสำหรับโรคหลายประเภท เช่น “โรคปอดเรื้อรัง” ที่อาจเป็นอันตรายได้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการตอบสนองภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีสิ่งกระตุ้นในปอด เช่น อนุภาคขนาดเล็กที่สูดดมเข้าไป เช่น มลพิษในอากาศ อาจทำให้ทางเดินหายใจอักเสบและหดตัวและทำให้มีเสมหะไหลออกมา ส่งผลให้หายใจไม่สะดวก โดยทั่วโลกมีคนเสียชีวิตจาก “โรคหอบหืด” มากกว่า 1,000 คนต่อวัน

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การตอบสนองที่คล้ายกับ “โรคหอบหืด” (Asthma) อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น การออกกำลังกาย เนื่องจากการหายใจที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะออกแรง อาจทำให้ทางเดินหายใจตีบ ไอ หายใจมีเสียงหวีด หายใจลำบาก ทางเดินหายใจตีบแคบ รวมถึงอักเสบได้

ณ ปัจจุบัน ยังไม่แน่ชัดว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ แต่นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับการไหลเวียนของอากาศที่เพิ่มขึ้นผ่านปอด เรา (เหล่านักวิทยาศาสตร์) รู้ดีว่าอาการดังกล่าวจะแย่ลงมากสำหรับนักกีฬาที่ต้องทนหายใจเป็นเวลานาน และอาการดังกล่าวจะแย่ลงเมื่ออยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็น เช่น ในบริเวณที่มีหิมะปกคลุม ซึ่งเป็นสถานที่จัดกีฬาฤดูหนาว แต่ไม่ได้หมายความว่าปัญหาจะหายไปเมื่อเล่นกีฬาในฤดูร้อน

ทีมชาติจีนหลังสามารถคว้าเหรียญทองจากการแข่งขันว่ายน้ำ ประเภทผลัดผสม 4x100 เมตร (ชาย) ด้วยเวลา 3 นาที 27.46 วินาที ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024 วันที่ 4 ส.ค. 2024 ภาพซินหัว

ทั้งนี้มีการคาดว่า “นักว่ายน้ำ” เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากกว่ากีฬาทางน้ำประเภทอื่น เนื่องจากนักว่ายน้ำจะสูดอากาศที่มีไม่เพียงแต่อนุภาคของน้ำเท่านั้น แต่ยังมีอนุภาคของน้ำที่มีคลอรีนเข้าไปด้วย ซึ่งทำให้ปอดเกิดการระคายเคืองได้

สำหรับ “โรคหอบหืด” (Asthma) ที่เกิดจากการออกกำลังกาย หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดแผลเป็นในปอดได้ ดังนั้นจึงควรได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด เนื่องจากหากเกิดความเสียหายถาวรอาจขัดขวางประสิทธิภาพการเล่นกีฬา ซึ่งนี่จึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับ “นักกีฬาโอลิมปิก” เนื่องจากยารักษาโรคทางเดินหายใจหลายชนิดถูกห้ามใช้ ภายใต้กฎต่อต้านการใช้สารกระตุ้นของโอลิมปิก

“โรคหอบหืด” (Asthma) ที่เกิดจากการออกกำลังกายสามารถเกิดขึ้นกับทุกคน ไม่ใช่แค่เฉพาะนักกีฬาโอลิมปิกเท่านั้น หากพบว่าตัวเองหายใจลำบากหลังออกกำลังกายควรไปพบแพทย์ แต่ไม่จำเป็นต้องปล่อยให้เรื่องนี้มาหยุดคุณ หากนักว่ายน้ำสหรัฐฯ อย่าง “เอมี แวน ไดเคน” (Amy Deloris Van Dyken-Rouen) ที่เป็น “โรคหอบหืดรุนแรง” ยังสามารถคว้า 6 เหรียญทองได้ เราก็สามารถจัดการและอยู่ร่วมกับ “โรคหอบหืด” ได้เช่นกัน

ติดตามข่าวสารและเรื่องน่ารู้กีฬาโอลิมปิก 2024 ทาง www.thaipbs.or.th/olympic2024


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : onlinelibrary.wiley, sciencealert

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

โอลิมปิกนักกีฬาโอลิมปิกโอลิมปิก 2024โอลิมปิกเกมส์ 2024OlympicsโรคหอบหืดหอบหืดAsthmaวิทยาศาสตร์Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover : (jiraphob.thawisoonsong@gmail.com)