ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

How to ใช้ “รถติดแก๊ส” อย่างไร ? ให้ปลอดภัย


How to

8 ต.ค. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

How to ใช้ “รถติดแก๊ส” อย่างไร ? ให้ปลอดภัย

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1686

How to ใช้ “รถติดแก๊ส” อย่างไร ? ให้ปลอดภัย
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ปัจจุบัน “รถติดแก๊ส” เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงรถยนต์ได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย ซึ่งก็มีเหตุการณ์อยู่ไม่น้อยเช่นเดียวกันที่รถติดตั้งแก๊สเกิดไฟไหม้ นำมาสู่ความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน Thai PBS จึงขอนำ How to ใช้ “รถติดตั้งแก๊ส” อย่างไร ? ให้ปลอดภัย มาให้ได้ทราบ Safety First ก่อนอันตรายจะเกิดขึ้น

ประชาชนแห่นำรถมาติดก๊าซ LPG และ NGV

“รถติดแก๊ส” ต้องตรวจสอบและดูแลเป็นพิเศษ

เนื่องจากอุปกรณ์ประจำรถบางประเภทไม่ได้ถูกผลิตให้ทนต่อความร้อนจากการเผาไหม้ของแก๊ส จึงเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ประกอบกับการเติมแก๊สอย่างไม่ถูกวิธีอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตราย เพื่อความปลอดภัยจึงขอแนะข้อควรปฏิบัติในการตรวจสอบดูแลอุปกรณ์ระบบแก๊สและการเติมแก๊สอย่างถูกวิธี ดังนี้

ประชาชนแห่นำรถมาติดก๊าซ LPG และ NGV

ตรวจสอบ “รถติดแก๊ส” เพื่อยืดอายุการใช้งาน

หมั่นตรวจสอบระบบแก๊สให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย โดยนำรถไปตรวจสอบที่ศูนย์บริการตามระยะเวลา ที่กำหนดหรืออย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอันตรายจากอุปกรณ์ระบบแก๊สชำรุด นอกจากนี้ ควรตรวจสอบรอยรั่วซึมของแก๊สอยู่เสมอ โดยใช้น้ำสบู่ลูบหรือหยดตามข้อต่อท่อเดินแก๊ส หากพบจุดรั่วซึม ให้นำรถเข้าศูนย์บริการซ่อมแซม

ประชาชนแห่นำรถมาติดก๊าซ LPG และ NGV

ดูแล “รถติดแก๊ส” เพื่อลดเสี่ยงอันตราย

     - เลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ทนความร้อนจากการเผาไหม้สูง พร้อมเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและทำความสะอาดไส้กรองอากาศให้บ่อยขึ้น 
     - รักษาระดับน้ำมันเชื้อเพลิง ให้อยู่ 1 ใน 4 ส่วนของถัง เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ 
     - สตาร์ตเครื่องยนต์ด้วยน้ำมัน เชื้อเพลิงเพื่อให้ระบบหัวฉีดน้ำมันทำงาน 
     - ไม่ปรับแต่งการจ่ายแก๊ส หรือดัดแปลงอุปกรณ์ระบบแก๊สด้วยตนเอง เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

แท็กซี่จอดเติมแก๊ส NGV

รถติดแก๊สต้อง “เติมแก๊ส” ให้ถูกวิธี เพื่อป้องกันถังแก๊สระเบิด

     - โดยเลือกใช้บริการจากสถานีบริการแก๊สที่ได้มาตรฐาน 
     - ห้ามก่อให้เกิดประกายไฟบริเวณที่เติมแก๊ส ไม่สูบบุหรี่ และงดการใช้โทรศัพท์มือถือ เพราะหากมีแก๊สรั่ว จะส่งผลให้เกิดระเบิดและไฟไหม้รถได้
     - ไม่เติมแก๊สผิดประเภท เพราะเสี่ยงต่อการระเบิด และไฟไหม้รถ 
     - ดับเครื่องยนต์และลงจากรถ เนื่องจากถังแก๊สจะ ยืดและหดตัวทำให้ถังแก๊สเสี่ยงต่อการระเบิด 
     - ไม่เติมแก๊สเกินความจุของถังแก๊ส จะช่วยยืดอายุการใช้งานของถังแก๊สและลดความเสี่ยงต่อการ ระเบิด
     - รอให้พนักงานถอดสายเติมแก๊สก่อนเคลื่อนรถ ป้องกันรถกระชากสายเติมแก๊สทำให้ได้รับอันตรายจากแก๊สรั่ว

แท็กซี่ต่อแถวยาวรอเติมแก๊ส NGV

ข้อปฏิบัติ เมื่อเกิดอุบัติเหตุกับ “รถติดแก๊ส”

     - จอดรถดึงเบรกมือ ดับเครื่องยนต์ เปิดกระจกรถ แล้วดึงกุญแจออก 
     - ให้ปิดวาล์วที่ถัง (กรณีใช้ถังวาล์ว มือหมุนแบบธรรมดา)
     - ให้รีบออกห่างจากตัวรถหากมีกลิ่นแก๊สหรือน้ำมันเชื้อเพลิง
     - หากมีเพลิงไหม้ให้รีบดับไฟที่ต้นเพลิงทันที หรือแจ้งเหตุฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือ

หมายเหตุ : หลังจากเกิดอุบัติเหตุทุกครั้งควรนำรถเข้ารับการตรวจเช็กโดยช่างผู้มีความชำนาญ

ประชาชนแห่นำรถมาติดก๊าซ LPG และ NGV

วิธีการดูแลรักษา “รถติดแก๊ส”

     - ตรวจเช็กรถตามระยะกำหนดของรถรุ่นนั้น ๆ และหมั่นตรวจเช็กระดับน้ำหล่อเย็นอย่างสม่ำเสมอ
     - อาจเลือกใช้น้ำมันเครื่อง สำหรับรถยนต์ที่ใช้ระบบแก๊ส
     - ทำความสะอาดไส้กรองอากาศ ตามที่คู่มือกำหนด
     - เข้ารับบริการตรวจเช็กระบบแก๊ส ตามระยะเวลาที่ศูนย์ติดตั้งแก๊สกำหนด

ประชาชนแห่นำรถมาติดก๊าซ LPG และ NGV

ข้อแนะนำส่งท้าย ก่อนดับเครื่องยนต์ควรเปลี่ยนระบบเชื้อเพลิงกลับมาเป็นน้ำมันบ้างในบางวัน เพื่อให้น้ำมันเข้าหล่อลื่นระบบต่าง ๆ ควรปิดวาล์วมือหมุนที่ถังแก๊สหากไม่ใช้รถยนต์เป็นเวลานานหลายวัน เพื่อป้องกันแก๊สรั่วในกรณีที่ระบบวาล์วไฟฟ้าที่จุดอื่นบกพร่อง นอกจากนี้ผู้ใช้งานรถยนต์ระบบแก๊สควรติดตั้งถังดับเพลิงเคมีขนาดเล็กไว้ประจำรถ หากเกิดไฟไหม้รถเล็กน้อยจะได้ควบคุมเพลิงด้วยตนเองในเบื้องต้น

📌อ่าน : ติดได้กี่ถัง ? หลังพบ "บัสไฟไหม้" ติดถังแก๊สน้ำหนักเกินมาตรฐาน


แหล่งข้อมูลอ้างอิง : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

รถติดแก๊สHow toThai PBSTips & Trick, How to
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphob.thawisoonsong@gmail.com หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด