ถึงบางอ้อ ! กับคำถามที่หลายคนอาจกำลังสงสัยว่า ทำไม ? พอเราแก่ตัวมากขึ้นจึงยิ่งลงพุง-พุงป่องมากขึ้น โดยงานวิจัยล่าสุดค้นพบว่า “เซลล์ไขมันชนิดใหม่” เป็นตัวการ
รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้โพสต์ความรู้ในเฟซบุ๊ก “Jessada Denduangboripant” ว่า นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ “เซลล์ตั้งต้นไขมัน” (fat cell precursor) ชนิดใหม่ ที่เกิดขึ้นในช่วงวัยกลางคน และทำให้ไขมันหน้าท้องเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่ากินอาหารและออกกำลังกายอย่างไร โดยพบว่า กว่า 80% ของเซลล์ไขมันที่อยู่ในตัวของหนูวัยกลางคนนั้น เป็นเซลล์ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่
ซึ่งท้าทายความเชื่อเดิมที่คิดว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในวัยกลางคนนั้น ส่วนใหญ่จะมาจากเซลล์ไขมันเดิมที่ขยายขนาดขึ้น และการค้นพบนี้อาจจะช่วยการรักษาป้องกันการเพิ่มขึ้ายแล้วก็ตาม เป็นไปได้ว่าสาเหตุหนึ่งมาจาก “เซลล์ไขมัน” ที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงวัยกลางคน และสะสมไขมันอย่างรวดเร็วในบริเวณหน้าท้อง โดยงานวิจัยเกี่ยวกันของน้ำหนักตัวตามอายุที่เพิ่มขึ้น
หนึ่งในปัญหาใหญ่สำหรับคนวัย 40 ปีขึ้นไป คือไขมันหน้าท้องที่เพิ่มมากขึ้น รอบเอวขยายขึ้น ทั้งที่พยายามควบคุมพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกินอาหาร การออกกำลังกบเซลล์ไขมันชนิดใหม่ที่พึ่งถูกค้นพบนี้ ได้รับการตีพิมพ์แล้วในวารสาร Science
ทีมวิจัยจากศูนย์การแพทย์ City of Hope และมหาวิทยาลัย UCLA ค้นพบว่าร่างกายของเราได้เริ่มสร้างเซลล์ไขมันใหม่ขึ้น เมื่อเราอายุ 40 ปี ในอัตราเร็วที่น่าประหลาดใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไขมันหน้าท้องส่วนลึก ที่ล้อมรอบอวัยวะของเรา ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า adipogenesis ที่ถูกปลดล็อกในช่วงวัยกลางคน
นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้วิธีการติดตามการสร้างเซลล์ไขมัน ในหนูทดลองวัยต่าง ๆ และพบว่าหนูโตเต็มวัยที่ยังอายุน้อยอยู่นั้น จะไม่ค่อยสร้างเซลล์ไขมันใหม่ แต่พวกหนูวัยกลางคนกลับพบว่ามีการสร้างเซลล์ไขมันเพิ่มขึ้นมากมายอย่างรวดเร็ว โดยพบว่า เซลล์ไขมันกว่า 80% ในบริเวณหน้าท้องของหนูอายุ 12 เดือน (ซึ่งเทียบเท่ากับมนุษย์อายุประมาณ 40 กว่าปี) นั้นได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ ทั้งที่แทบจะไม่มีเกิดขึ้นเลยในกรณีของหนูที่อายุน้อย
ยิ่งไปกว่านั้น หนูวัยกลางคนเหล่านี้ ได้เริ่มมีรูปแบบของชีวิตที่คล้ายคลึงกับมนุษย์วัยกลางคน ได้แก่ มีรอบเอวที่ขยายใหญ่ขึ้น มีการใช้พลังงานที่ลดลง และเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางเมตาบอลิซึม ที่เกี่ยวข้องกับอายุ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจ
ทีมวิจัยได้ตั้งชื่อให้กับ “เซลล์ตั้งต้นไขมัน” (fat cell precursor) ที่ค้นพบใหม่นี้ว่า “ซีพี-เอ CP-A” (จาก committed preadipocyte, age-enriched) เซลล์ CP-A เหล่านี้เกิดขึ้นโดยเฉพาะในช่วงวัยกลางคน และมีความสามารถที่โดดเด่นในการขยายตัว และพัฒนาขึ้นเซลล์ไขมันที่โตเต็มที่
เพื่อตอบคำถามว่า เซลล์ที่พบนี้มีแต่เฉพาะเจาะจงในหนูหรือเปล่า ? คณะผู้วิจัยก็ได้เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อไขมันของคน มาศึกษา และค้นพบว่ามีเซลล์ตั้งต้นไขมันชนิด CP-A แบบเดียวกันนี้ในมนุษย์วัยกลางคน แถมจำนวนเซลล์ก็เพิ่มขึ้นอย่างมากตามวัย โดยจะมีมากที่สุดในช่วงวัยกลางคน ก่อนที่จะค่อย ๆ ลดลงในช่วงอายุต่อ ๆ มา
เมื่อนักวิจัยปลูกถ่ายเซลล์ตั้งต้นไขมันนี้ ให้กับหนูที่อายุน้อย ก็พบว่าเซลล์ยังคงรักษาพฤติกรรมการผลิตไขมันที่รุนแรงเอาไว้ แสดงว่าการทำงานของมันนั้นไม่ได้ตอบสนองต่อระดับของฮอร์โมนหรือเมตาบอลิซึมที่เปลี่ยนแปลงไปตามอายุ ซึ่งแตกต่างไปจากสเต็มเซลล์ (stem cell) ส่วนใหญ่ ที่มักจะสูญเสียการทำงานไปเมื่ออายุมากขึ้น แต่เซลล์ตั้งต้นไขมัน CP-A กลับสามารถขยายตัวและเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้นเมื่อเราอายุมากขึ้น
งานวิจัยนี้ จึงแสดงให้เห็นว่า การที่คนวัยกลางคนมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น มีไขมันหน้าท้อง มีรอบเองที่มากขึ้น คงไม่ใช่เป็นผลจากเรื่องพฤติกรรมและกำลังใจในการควบคุมอาหารเท่านั้น แต่อาจจะอ้างได้ว่า เป็นกระบวนการทางชีวภาพที่ถูกตั้งโปรแกรมไว้แล้ว
อย่างไรก็ดี ก็มีข่าวดีว่า ทางคณะผู้วิจัยสามารถค้นพบ ตัวรับเซลล์จำเพาะ (specific cell receptor) ต่อเซลล์ตั้งต้นไขมันที่จำเพาะต่ออายุ ได้เช่นกัน พวกเขาตั้งชื่อให้ว่า “แอลไอเฟออาร์ LIFR” (จาก leukemia inhibitory factor receptor) ที่ปกติจะทำหน้าที่จับและช่วยการทำงานของเซลล์ตั้งต้นไขมันเหล่านี้
พวกเขาจึงลองทำการใช้ยาที่สามารถปิดกั้นการทำงานของตัวรับเซลล์ LIFR และพบว่าสามารถป้องกันการขยายตัวของไขมันในช่องท้องของหนูได้ จึงน่าจะเป็นเป้าหมายใหม่ในการวิจัยต่อไป สำหรับการป้องกันภาวะโรคอ้วนที่เกิดขึ้นตามอายุ นั่นคือ ถ้าสามารถค้นพบเส้นทางการส่งสัญญาณของตัวรับ LIFR ที่จำเพาะต่อการกระตุ้นการทำงานของเซลล์ตั้งต้นไขมัน CP-A ได้ เราก็น่าจะพัฒนายา ที่อาจจะป้องกันการเกิดไขมันหน้าท้องในวัยกลางคน โดยไม่รบกวนการทำงานของเนื้อเยื่อไขมันปกติได้ด้วย
ป.ล. งานวิจัยดังกล่าวนี้มีข้อจำกัดตรงที่ใช้หนูทดลองตัวผู้เป็นหลัก โดยมีข้อมูลจากหนูตัวเมียเพียงเล็กน้อย (ซึ่งมีรูปแบบการเพิ่มของน้ำหนักตัว ที่น้อยกว่าของหนูตัวผู้) และเมื่อนำมาเทียบเคียงกับเซลล์ตั้งต้นไขมัน CP-A จากตัวอย่างของมนุษย์ ข้อมูลส่วนใหญ่ก็มาจากผู้บริจาคที่เป็นผู้ชายอีกด้วย (มีผู้บริจาคเป็นผู้หญิง เพียงคนเดียว) เลยอาจจะใช้ตีความสรุปได้ไม่ครอบคลุมเท่าเทียมกันทั้งสองเพศ
อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์, studyfinds
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech