กระแสบอยคอตไม่ซื้อสินค้าจีน แทบไม่มีการนำเข้าผลไม้จีน ในเมียนมา
Radio Free Asia หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า RFA สื่อที่ได้รับเงินอุดหนุนการดำเนินงานจากรัฐบาลสหรัฐฯ รายงานว่า กระแสความไม่พอใจจีนในหมู่ชาวเมียนมาที่ร่วมชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา เริ่มขยายวงจากเดิมที่แสดงออกด้วยการชุมนุมประท้วงหน้าสถานทูตจีนในนครย่างกุ้ง บานปลายเป็นการบอยคอตไม่ซื้อสินค้าจีน
ท่าทีของรัฐบาลจีนที่ถูกตีความว่าเข้าข้างกองทัพเมียนมา เริ่มจาก สื่อของรัฐบาลจีน รายงานข่าว ผู้นำกองทัพเมียนมาก่อการรัฐประหารสถาปนาตัวเองเป็นผู้ปกครองเมียนมา ปลดคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนางอองซาน ซูจี และแต่งตั้งคนของผู้นำทหารเป็นคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ว่าเป็นการปรับคณะรัฐมนตรี (cabinet reshuffle)
นอกจากนี้ท่าทีของผู้แทนจีนในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก็ชัดเจนว่า ปกป้องมิให้มีการประณามรัฐบาลทหารเมียนมา และยังไม่ให้ใช้คำว่า รัฐประหาร ในร่างมติคณะมนตรีความมั่นคง
RFA รายงานว่า กลุ่มรณรงค์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในเมียนมา ได้ขยายการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา ไปสู่การต่อต้านจีนด้วยมาตรการบอยคอตไม่ซื้อสินค้าจีน
“พวกเราต้องแสดงความเสียใจกับพ่อค้าแม่ค้าที่ขายสินค้าจีน เพราะพวกเราจะไม่ซื้อมันอีกต่อไป” วัยรุ่นชายชาวย่างกุ้งบอก RFA “พ่อค้าแม่ค้าต้องจริงใจกับลูกค้าอย่างพวกเรา ต้องบอกเราว่า สินค้าใดบ้างที่นำเข้าจากจีน”
RFA รายงานว่าพ่อค้าแม่ค้าที่เมือง Muse ในรัฐฉาน ติดพรมแดนจีน บอกว่า ตอนนี้แทบไม่มีการนำเข้าผลไม้จากประเทศจีนเลย
“ปรกติที่นี่ มีรถบรรทุกจากย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ มาซื้อผลไม้จากจีนไปขายมากมาย แต่วันละวันรถวิ่งกันขวักไขว่ แต่ตอนนี้แทบไม่เห็นรถบรรทุกจากเมืองอื่น ๆ เดินทางมาที่เมือง Muse เลย คงเป็นเพราะไม่มีคำสั่งซื้อผลไม้จีน ในช่วงนี้” พ่อค้าขายส่งผักผลไม้ในเมือง Muse บอกผู้สื่อข่าว RFA
ผู้ชายชาวย่างกุ้งอีกคนที่ RFA สัมภาษณ์ บอกว่า ตอนนี้ตัวเขาและเพื่อนไม่ซื้อซอฟต์แวร์จีน เพราะไม่ต้องการสนับสนุนซื้อของคนจีน
RFA รายงานว่า กระแสความไม่พอใจจีน ทำให้มีเสียงข่มขู่ไม่รับรองความปลอดภัยของท่อส่งแก๊สธรรมชาติและน้ำมัน จากท่าเรือน้ำลึก Kyaukpu ชายฝั่งอ่าวเบงกอลในรัฐยะไข่ ที่ทอดยาวไปจนถึงมณฑลยูนนาน ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
ท่อส่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ และท่าเรือน้ำลึก Kyaukpu เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา (CMEC) ซึ่งเป็นหนึ่งในการสานต่อนโยบาย Belt and Road Initiative ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง
หมายเหตุภาพ AFP การชุมนุมประท้วงที่หน้าสถานทูตจีนในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 12 ก.พ.
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
กระแสบอยคอตไม่ซื้อสินค้าจีน แทบไม่มีการนำเข้าผลไม้จีน ในเมียนมา
Radio Free Asia หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า RFA สื่อที่ได้รับเงินอุดหนุนการดำเนินงานจากรัฐบาลสหรัฐฯ รายงานว่า กระแสความไม่พอใจจีนในหมู่ชาวเมียนมาที่ร่วมชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา เริ่มขยายวงจากเดิมที่แสดงออกด้วยการชุมนุมประท้วงหน้าสถานทูตจีนในนครย่างกุ้ง บานปลายเป็นการบอยคอตไม่ซื้อสินค้าจีน
ท่าทีของรัฐบาลจีนที่ถูกตีความว่าเข้าข้างกองทัพเมียนมา เริ่มจาก สื่อของรัฐบาลจีน รายงานข่าว ผู้นำกองทัพเมียนมาก่อการรัฐประหารสถาปนาตัวเองเป็นผู้ปกครองเมียนมา ปลดคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนางอองซาน ซูจี และแต่งตั้งคนของผู้นำทหารเป็นคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ว่าเป็นการปรับคณะรัฐมนตรี (cabinet reshuffle)
นอกจากนี้ท่าทีของผู้แทนจีนในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก็ชัดเจนว่า ปกป้องมิให้มีการประณามรัฐบาลทหารเมียนมา และยังไม่ให้ใช้คำว่า รัฐประหาร ในร่างมติคณะมนตรีความมั่นคง
RFA รายงานว่า กลุ่มรณรงค์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในเมียนมา ได้ขยายการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา ไปสู่การต่อต้านจีนด้วยมาตรการบอยคอตไม่ซื้อสินค้าจีน
“พวกเราต้องแสดงความเสียใจกับพ่อค้าแม่ค้าที่ขายสินค้าจีน เพราะพวกเราจะไม่ซื้อมันอีกต่อไป” วัยรุ่นชายชาวย่างกุ้งบอก RFA “พ่อค้าแม่ค้าต้องจริงใจกับลูกค้าอย่างพวกเรา ต้องบอกเราว่า สินค้าใดบ้างที่นำเข้าจากจีน”
RFA รายงานว่าพ่อค้าแม่ค้าที่เมือง Muse ในรัฐฉาน ติดพรมแดนจีน บอกว่า ตอนนี้แทบไม่มีการนำเข้าผลไม้จากประเทศจีนเลย
“ปรกติที่นี่ มีรถบรรทุกจากย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ มาซื้อผลไม้จากจีนไปขายมากมาย แต่วันละวันรถวิ่งกันขวักไขว่ แต่ตอนนี้แทบไม่เห็นรถบรรทุกจากเมืองอื่น ๆ เดินทางมาที่เมือง Muse เลย คงเป็นเพราะไม่มีคำสั่งซื้อผลไม้จีน ในช่วงนี้” พ่อค้าขายส่งผักผลไม้ในเมือง Muse บอกผู้สื่อข่าว RFA
ผู้ชายชาวย่างกุ้งอีกคนที่ RFA สัมภาษณ์ บอกว่า ตอนนี้ตัวเขาและเพื่อนไม่ซื้อซอฟต์แวร์จีน เพราะไม่ต้องการสนับสนุนซื้อของคนจีน
RFA รายงานว่า กระแสความไม่พอใจจีน ทำให้มีเสียงข่มขู่ไม่รับรองความปลอดภัยของท่อส่งแก๊สธรรมชาติและน้ำมัน จากท่าเรือน้ำลึก Kyaukpu ชายฝั่งอ่าวเบงกอลในรัฐยะไข่ ที่ทอดยาวไปจนถึงมณฑลยูนนาน ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
ท่อส่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ และท่าเรือน้ำลึก Kyaukpu เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา (CMEC) ซึ่งเป็นหนึ่งในการสานต่อนโยบาย Belt and Road Initiative ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง
หมายเหตุภาพ AFP การชุมนุมประท้วงที่หน้าสถานทูตจีนในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 12 ก.พ.
แท็กที่เกี่ยวข้อง: