เรื่องราวชีวิต คนทำงานโรยตัว เช็ดกระจก ทาสีบนตึกสูง กลางกรุงเทพมหานคร ที่หนีความจน จากต่างจังหวัด มาเสี่ยงชีวิตแลกเงิน ด้วยความหวังสร้างครอบครัวให้ดีขึ้น
นพดล ไกรศรี คน จ.ร้อยเอ็ด พลัดถิ่นมาสู่การเป็นคนจนในเมืองใหญ่ ด้วยเรียนจบแค่ ม.6 มีทางเลือกไม่มากนัก ต้องมาขายแรงงานที่ตลาดกีบหมู หรือซอยกีบหมู เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ และซุกหัวนอน เพิงสังกะสีเก่า ๆ ราคาถูก ยึดอาชีพโรยตัว ที่แม้จะเสี่ยงตายแต่เป็นอาชีพที่ได้ค่าแรงสูง วันละ 1,000 – 1,500 บาท เพื่อจะทำให้ครอบครัวมีอยู่มีกินได้เร็วขึ้น ซึ่งเดชา รอดราคี ที่ทำงานเช็ดกระจกบนตก 21 ชั้น ย่านประตูน้ำ ก็เป็นหนึ่งคนที่มีหวังความฝันจากอาชีพนี้ และจากการทำงานมากว่า 9 ปี วันนี้ความฝันของเดชา ใกล้ความจริง มีเงินเก็บมากพอ ที่จะได้กลับบ้าน
นี่คือเรื่องราวที่สะท้อนชีวิตของคนจน ในเมือง ที่จำนวนไม่น้อยเป็นคนจนที่บ้านเกิดและพลัดถิ่นมาหาโอกาสที่ดีกว่า ในเมืองหลวง ร่วมสำรวจสำรวจความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย หลังการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ติดตามได้ในรายการ สามัญชนคนไทย วันพุธที่ 19 เมษายน เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
สามัญชนคนไทย
โรยตัว สร้างฝัน
วัดดาวเรือง วัดกลางใจชุมชนสูงวัย
ชีวิต (ไม่) อิสระของคนพิการ
เลิกเรียนไปเลี้ยงควาย
อาหารเร่ ชลบุรี
สังคมสูงวัย (ไม่) เดียวดาย
Zero Dropout
คนขายหวัง
อาชีพในฝันของคนพิการ
ขาด
คนจนล่องหน
หลุดออกจากระบบการศึกษา
ALONE ชานชราสุดท้าย
สามัญชนคนไทย
โรยตัว สร้างฝัน
วัดดาวเรือง วัดกลางใจชุมชนสูงวัย
ชีวิต (ไม่) อิสระของคนพิการ
เลิกเรียนไปเลี้ยงควาย
อาหารเร่ ชลบุรี
สังคมสูงวัย (ไม่) เดียวดาย
Zero Dropout
คนขายหวัง
อาชีพในฝันของคนพิการ
ขาด
คนจนล่องหน
หลุดออกจากระบบการศึกษา
ALONE ชานชราสุดท้าย