การจัดการเชิงป้องกันเพื่อสู้โควิด-19พบกับการจัดการชุมชนเพื่อรอดพ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ในภาคเหนือ, อีสาน, ใต้ และพูดคุยกับนายก อบต.ยางขี้นก อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี เกี่ยวกับการจัดการเชิงป้องกันเพื่อสู้กับโควิด-19
การเฝ้าระวังโควิด-19 ของชุมชนบ้านน้ำเค็ม จ.พังงาไปดูการทำงานเชิงรุกของชาวบ้านชุมชนบ้านน้ำเค็ม อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา กับการคัดกรองเฝ้าระวัง ทำให้พังงาเป็น 1 ใน 3 จังหวัดของภาคใต้ที่ยังไม่พบผู้ติดเชื้อ
ชุมชนชาวตลาดสู้โควิด-19การรับมือของ 3 ตลาดในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปากคลองตลาด, ตลาดห้วยขวาง, ตลาดยิ่งเจริญ เมื่อสังคมไทยและตลาดเป็นของคู่กัน ในวันที่ต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 พวกเขาจะทำอย่างไร
สถานการณ์คุมโควิด-19 ที่ 3 ชายแดนไปดูสถานการณ์ใน 3 ชายแดนที่แม่สอด, อรัญประเทศ และด่านนอก หลังจากที่มีการปิดด่านพรมแดนเพื่อบ้าน (เมียนมา – กัมพูชา- มาเลเซีย) เพื่อควบคุมสถานการณ์โควิด-19
สแกนสถานการณ์ชายแดนไทย - กัมพูชาสแกนสถานการณ์ชายแดนหลังจากมีคำสั่งปิดด่าน พูดคุยกับปูเป้ - กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์ ผู้สื่อข่าวที่ลงพื้นที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ชายแดนไทย - กัมพูชา
สร้างพลังใจสู้โควิด-19 ในช่วงสงกรานต์ไปฟังคำให้พรจากพระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต จังหวัดชัยภูมิ เพื่อสร้างพลังใจในการใช้ชีวิตช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ปีนี้มาพร้อมกับโควิด-19
สแกนกลุ่มคนไร้บ้านไปสแกนกลุ่มคนไร้บ้านที่เชียงใหม่, ขอนแก่น และที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากที่สุดกลุ่มหนึ่ง
บทบาทวัดในวันที่เผชิญโควิด-19การปรับบทบาทของวัด พระสงฆ์ และกิจกรรมทางพุทธศาสนาในวันที่ต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 ทั้งจาก จ.เชียงใหม่ จ.ร้อยเอ็ด และ จ.นครศรีธรรมราช
พลังจิตอาสาสู้โควิด-19พบกับจิตอาสาที่หลากหลายตั้งแต่ “จิตอาสารับสาย 1422” อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว อาสาสมัครที่ช่วยสื่อสารกับกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่บ้านจ้อง ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย และอาสากู้ภัยพิชิตโควิด-19 จ.สมุทรสงคราม
ชุมชนมหาวิทยาลัยกับการรับมือโควิด-19พบกับความเคลื่อนไหว นวัตกรรม การจัดการ รวมถึงการเป็นสถาบันวิชาการที่จับมือกับชุมชนในท้องถิ่นทำหน้าที่ช่วยเหลือ สื่อสารกับประชาชนในช่วงโควิด-19 ระบาด จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
วิถี “ปลาแลกข้าว” ในช่วงโควิด-19ติดตามวิถี “ปลาแลกข้าว” หลังข้าวสารจากยโสธรล็อตแรกมาถึงมือชาวเลอันดามัน และพบกับการสนทนาระหว่างกันของผู้แลกเปลี่ยนทรัพยากรจากทั้ง 3 ภาคเพื่อแสวงหาทางรอดจากวิกฤตโควิด-19
ผู้ประกอบการปรับตัวอย่างไร รับมือโควิด-19สแกนสถานการณ์ของผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ - รายย่อย จะปรับตัวให้รอดและจะไปต่ออย่างไร ฟังจากเสียงผู้ประกอบการตั้งแต่ Wongnai , Locall รวมถึงเจ้าของร้านหมูกระทะ - เนื้อย่าง
การปรับตัวสู้โควิด-19 ของแรงงานร่วมสนทนากรณีโรงแรมที่ภูเก็ตปิด 100% แรงงานจะทำอย่างไร ขณะที่เครือข่ายแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการ ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลเพราะมาตรการเยียวยาที่ผ่านมาไม่บรรลุผล
การรับมือโควิด-19 ของคนไทยในต่างแดนไปดูการรับมือกับโควิด-19 ของคนไทยในต่างแดน ทั้งอังกฤษ ออสเตรีย แคนาดา และนิวซีแลนด์ รวมถึงแนวทางการดูแลผู้ลี้ภัยและบุคคลไร้สัญชาติของ UNHCR
มหาวิทยาลัยสู้โควิด-19ติดตามความเคลื่อนไหวของนักศึกษา ม.กรุงเทพ และ ม.เชียงใหม่ ที่ออกมาเรียกร้องลดค่าเทอม และไปดูห้องเรียนออนไลน์ของ ม.ทักษิณ สู้โควิด-19 ด้วยภูมิปัญญาใต้
วิธีคิดข้าวแลกปลาสำรวจมื้อสำคัญของชาวยโสธร หลังได้รับปลาจากพี่น้องชาวเล และไปพูดคุยกับคุณสนิท แซ่ซั่ว ชาวเลอูรักลาโว้ย และ คุณสรศักดิ์ เสนาะพรไพร เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.) ถึงวิธีคิดการจัดการข้าว ไปจนถึงข้อเสนอระยะยาว "พื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ"
ชุมชนเมืองสู้โควิด-19พบกับการเชื่อมต่อ 60 ชุมชนเมืองใน กทม. สู้โควิด-19 และไปรู้จักกลุ่ม “อาสาพาส่ง” กิจกรรมอาสาเชื่อมผู้ให้ - จิตอาสา และชาวชุมชนทองหล่อ
ความมั่นคงทางอาหารยุค New Normalธนาคารข้าวและเงินทุนของบ้านโนนคูณ จ.ขอนแก่น ความมั่นคงที่ชุมชนมอบแด่สมาชิกให้หยิบยืม และ เมนูแบ่งปัน “ปลาสากผัดเครื่องแกงราดข้าว” ของฝากจากชาวประมงพื้นบ้าน “จะนะ” สู่คนเมือง “หาดใหญ่”
วิกฤตแรงงาน ในวิกฤตโควิด-19เปิดหมุดสำรวจแรงงานผ่านแอปพลิเคชัน C-Site กระทบหมด ทั้งแรงงานผลิตรถยนต์ตะวันออก แรงงานในเมืองเชียงใหม่ แรงงานเพื่อนบ้านในตลาดจตุจักร และวิดีโอคอลกับ ดร.นฤมล ทับจุมพล ร่วมด้วย คุณปภพ เสียมหาญ ในประเด็น “ชีวิต เศรษฐกิจ และสิทธิของแรงงานข้ามชาติ”
หลายมหาวิทยาลัยปรับตัวสู้โควิด-19นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ จับมือชุมชนพยุหะคีรี สื่อสารเชิงรุกสู้โควิด-19 และไปรู้จัก “น้องยูงทอง” นวัตกรรมหุ่นยนต์ ลดการสัมผัสและให้บริการผู้ป่วย