วันนี้ (2 พ.ค.2568) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จะเริ่มการทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast System (CBS) ส่งข้อความแจ้งเตือนตรงถึงโทรศัพท์มือถือของประชาชนในพื้นที่ทดสอบ เพื่อสร้างความพร้อมรับมือภัยพิบัติ และประเมินประสิทธิภาพของระบบก่อนขยายผลในระดับประเทศ
การทดสอบครั้งนี้จะเริ่มต้นเวลา 13.00 น. ที่ห้องกองบัญชาการกลาง ด้วยการจำลองสถานการณ์ภัยพิบัติ เช่น น้ำป่าไหลหลาก จากนั้นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการเสนอข้อความแจ้งเตือนเพื่อขออนุมัติจากอธิบดีกรม ปภ. เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จะส่งคำสั่งไปยังผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เพื่อทำการกระจายสัญญาณแจ้งเตือนในรูปแบบ CBS ไปยังโทรศัพท์มือถือของประชาชนในพื้นที่ที่กำหนด
โดยระบบจะส่งข้อความครั้งเดียว พร้อมเสียงเตือนยาว 8 วินาที แสดงข้อความทั้งภาษาไทยและอังกฤษ และจะค้างสัญญาณไว้เป็นเวลา 10 นาที เพื่อให้ผู้ที่เดินเข้าสู่พื้นที่หลังจากการส่งยังสามารถรับข้อความได้ทันที
การทดสอบแจ้งเตือนภัย ครอบคลุม 5 พื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่
- ศาลากลางจังหวัดเชียงราย
- ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี
- ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี
- ศาลากลางจังหวัดสงขลา
- ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ (อาคาร A และ B)

การทดสอบระบบ Cell Broadcast จะดำเนินการ 3 ครั้ง ในวันที่ 2, 7 และ 13 พ.ค.2568 โดยแบ่งการทดสอบเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเล็ก ระดับกลาง และระดับใหญ่ ครอบคลุมจังหวัดใหญ่ในภูมิภาค รวมถึง กทม. ด้วย ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ทดสอบและพื้นที่ใกล้เคียงจะได้รับเสียงเตือนและข้อความบนมือถือ
การทดสอบครั้งนี้ถือว่าเป็นการแจ้งเตือนภัยด้วย Cell Broadcast ครั้งแรกของประเทศนอกห้องปฏิบัติการ และนับเป็นจุดเริ่มต้นของการแจ้งเตือนภัยด้วยระบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
หลังเสร็จสิ้นการทดสอบจะมีการเก็บข้อมูลความพึงพอใจและประสิทธิภาพของระบบผ่านแบบสอบถามออนไลน์ เพื่อสรุปผลและวิเคราะห์ร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายในวันที่ 6 พ.ค.2568 ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงและเตรียมขยายการใช้งานระบบแจ้งเตือนนี้ในวงกว้างทั่วประเทศในลำดับถัดไป
ส่วนการจัดส่งในระบบ SMS แจ้งเตือนหมายเลข 1784 ที่ใช้สำหรับแจ้งภัยกรณีฉุกเฉินให้กับกลุ่มผู้ลงทะเบียนไว้กับหน่วยงาน
อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ย้ำว่า ประชาชนไม่ต้องตื่นตระหนก เพราะเป็นเพียงการซ้อมระบบในสถานการณ์สมมุติ โดยมุ่งหวังให้การแจ้งเตือนภัยสามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างทันท่วงที ตรงจุด และมีประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคต
เช็กพื้นที่ จังหวัด ทดสอบระบบครั้งถัดไป 7 และ 13 พ.ค.
- วันที่พุธที่ 7 พ.ค. เวลา 13.00 น. เป็นการทดสอบ "ระดับกลาง" ครอบคลุม 5 พื้นที่ ได้แก่ อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ อ.เมืองสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี และเขตดินแดง กทม. ซึ่งจะมีการส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปยังประชาชนในทุกหมู่บ้าน ชุมชน และตำบลในพื้นที่อำเภอที่กำหนด
- วันอังคารที่ 13 พ.ค. เวลา 13.00 น. เป็นการทดสอบ "ระดับใหญ่" ทั้งจังหวัดเชียงใหม่ อุดรธานี พระนครศรีอยุธยา นครศรีธรรมราช และกรุงเทพมหานคร
เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองระบบทั้ง 3 ครั้งแล้ว ปภ.จะดำเนินการทดลองระบบในระดับประเทศทั้ง 77 จังหวัดพร้อมกันต่อไป

รู้จัก "Cell Broadcast" เทคโนโลยีแจ้งเตือนภัยพิบัติ
ในยุคที่ภัยพิบัติเกิดถี่ขึ้น "Cell Broadcast" กลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยแจ้งเตือน ปชช. อย่างรวดเร็วและครอบคลุม โดยเฉพาะในญี่ปุ่นและยุโรปที่นำระบบนี้ไปใช้จริง สามารถส่งข้อความถึงโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องในพื้นที่ภัยพิบัติได้ทันที แม้เครือข่ายจะมีปัญหา
ข้อดีที่สำคัญของระบบนี้คือความเร็วในการส่งข้อมูล ความสามารถในการครอบคลุมพื้นที่กว้าง และการทำงานได้แม้ในสภาวะที่โครงข่ายโทรศัพท์มีปัญหา เช่น ระหว่างเกิดภัยพิบัติรุนแรง อีกทั้งยังรองรับการส่งข้อความหลายภาษา และไม่มีปัญหาการแออัดของเครือข่ายเหมือน SMS หรือการโทรศัพท์
อ่านเพิ่ม : รู้ทันที! "Cell Broadcast" เทคโนโลยีแจ้งเตือนภัยพิบัติใช้กันทั่วโลก

ตามข้อมูลจาก GSM Association (GSMA) ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลมาตรฐานโทรคมนาคมทั่วโลก "Cell Broadcast" เป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อการสื่อสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยใช้สถานีฐานโทรศัพท์มือถือส่งข้อความไปยังผู้ใช้ทุกคนในรัศมีที่กำหนด
ข้อดีที่สำคัญของระบบนี้คือความเร็วในการส่งข้อมูล ความสามารถในการครอบคลุมพื้นที่กว้าง และการทำงานได้แม้ในสภาวะที่โครงข่ายโทรศัพท์มีปัญหา เช่น ระหว่างเกิดภัยพิบัติรุนแรง อีกทั้งยังรองรับการส่งข้อความหลายภาษา และไม่มีปัญหาการแออัดของเครือข่ายเหมือน SMS หรือการโทรศัพท์
Cell Broadcast มีจุดเด่น 4 ประการหลัก ได้แก่
- ความรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่กว้าง
- ทำงานได้แม้เครือข่ายโทรศัพท์ขัดข้อง
- ไม่มีปัญหาความหนาแน่นของเครือข่าย
- รองรับการแจ้งเตือนหลายภาษา

Cell Broadcast (CB) และ SMS (Short Message Service) ต่างกันในหลายแง่มุม เนื่องจากทั้ง 2 ถูกออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์และวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน
วิธีการส่งข้อความ
Cell Broadcast : เป็นการส่งข้อความแบบ "หนึ่งต่อหลาย" (one-to-many) โดยส่งไปยังผู้ใช้ทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ครอบคลุมของเสาสัญญาณ โดยไม่ต้องระบุหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รับ เหมือนการกระจายสัญญาณทั่วไปในพื้นที่นั้น ๆ
SMS : เป็นการส่งข้อความแบบ "หนึ่งต่อหนึ่ง" (one-to-one) หรือ "หนึ่งต่อกลุ่ม" โดยต้องระบุหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รับแต่ละคน
จุดประสงค์การใช้งาน
Cell Broadcast : มักใช้ในการแจ้งเตือนฉุกเฉิน เช่น ภัยพิบัติธรรมชาติ (แผ่นดินไหว สึนามิ) หรือประกาศสำคัญจากภาครัฐ เพราะสามารถเข้าถึงคนจำนวนมากในพื้นที่เป้าหมายได้พร้อมกัน
SMS : ใช้สำหรับการสื่อสารส่วนตัว การตลาด หรือแจ้งเตือนส่วนบุคคล (เช่น OTP, ข้อความจากธนาคาร)
การรับข้อความ
Cell Broadcast : ผู้ใช้ไม่ต้องสมัครหรือมีหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้งานอยู่ แค่โทรศัพท์อยู่ในพื้นที่และเปิดรับสัญญาณได้ก็จะได้รับข้อความอัตโนมัติ และแม้จะปิดโทรศัพท์ แต่ CB ก็สามารถดังเตือนผู้ใช้บริการได้
SMS : ผู้รับต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้งานได้ และข้อความจะถูกส่งไปยังบุคคลนั้นโดยเฉพาะ (อ่านเพิ่มได้ที่ คลิก)
อ่านข่าว : แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด บุกถล่ม บิลเบา 3 - 0 จ่อเข้าชิง "ยูโรปา ลีก"
แท็กที่เกี่ยวข้อง: