เตือน "เจาะหู" เสี่ยงเป็น "คีลอยด์" แนะเจาะด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ

สังคม
13 เม.ย. 65
15:51
8,207
Logo Thai PBS
เตือน "เจาะหู" เสี่ยงเป็น "คีลอยด์"  แนะเจาะด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ร่วมกับ สถาบันโรคผิวหนัง ระบุ การเจาะหูอาจทำให้เกิดคีลอยด์ได้ โดยมี 3 ปัจจัย คือ การติดเชื้อ แพ้ตุ้มหู และการเจาะกระดูกอ่อนจะมีความเสี่ยงมากกว่า

วันนี้ (13 เม.ย.2565) ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องใช้ยาสีฟันการเจาะหู เสี่ยงเป็นคีลอยด์และแผลสามารถขยายใหญ่ได้เรื่อย ๆ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าว เป็นข้อมูลจริง

 

การเกิดคีลอยด์จากการเจาะหูโดยประมาณจะน้อยกว่า 2.5% มีการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดคีลอยด์จากการเจาะหูคือ การที่มีการติดเชื้อ การอักเสบเรื้อรังหลังจากการเจาะหู การแพ้ตัวตุ้มหูที่ใส่ และตำแหน่งที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นคือบริเวณใบหูที่กระดูกอ่อนหากเจาะหูบริเวณนี้จะมีโอกาสเกิดการติดเชื้อและการอักเสบได้มากกว่าบริเวณติ่งหู

ดังนั้นในการศึกษานี้จึงแนะนำให้เจาะหูด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ (sterile technique) และเจาะเฉพาะบริเวณติ่งหูเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อและการอักเสบที่จะนำไปสู่การเกิดคีลอยด์หลังการเจาะหู

ข่าวที่เกี่ยวข้อง