IQAir เปิดเผย "ชาด" ขึ้นอันดับ 1 ประเทศคุณภาพอากาศเฉลี่ยแย่ที่สุดในโลกปี 2565

สิ่งแวดล้อม
15 มี.ค. 66
17:31
1,397
Logo Thai PBS
IQAir เปิดเผย "ชาด" ขึ้นอันดับ 1 ประเทศคุณภาพอากาศเฉลี่ยแย่ที่สุดในโลกปี 2565
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
การศึกษาของ IQAir บริษัทติดตามคุณภาพอากาศทั่วโลก พบว่ามีเพียง 13 พื้นที่ของโลกที่มีคุณภาพอากาศ "ดี" ในขณะที่ "ประเทศชาด" ขึ้นอันดับ 1 คุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลกของปี 2565 พร้อมเสนอโลกต้องเรียนรู้การใช้พลังงานธรรมชาติแทนการเผาไหม้เชื้อเพลิง

วันนี้ (15 มี.ค.2566) สำนักข่าว CNN รายงานอ้างอิงข้อมูล IQAir บริษัทติดตามคุณภาพอากาศทั่วโลก พบว่าร้อยละ 90 ของผืนแผ่นดินทั่วโลกมีคุณภาพอากาศเกินเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ถือเป็นมลพิษทางอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน และรัฐบาลต้องกำหนดกฎระเบียบเพื่อป้องกันสุขภาพ

นอกจากนั้น จากการวิเคราะห์คุณภาพอากาศเฉลี่ยทั้งปี 2565 จาก 131 ประเทศและพื้นที่ปกครองอื่นๆ พบว่ามีเพียง 6 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย เอสโตเนีย ฟินแลนด์ เกรเนดา ไอซ์แลนด์ และนิวซีแลนด์ และอีก 7 ดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ที่มีคุณภาพอากาศที่ดีมาก หรือมลพิษทางอากาศไม่เกิน 5 มคก./ลบ.ม.

ส่วนประเทศที่มีคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่เกินกว่าหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก โดยมีค่ามลพิษทางอากาศเฉลี่ยมากกว่า 50 มคก./ลบ.ม. มี 8 ประเทศ ได้แก่ ชาด อิรัก ปากีสถาน บาห์เรน บังกลาเทศ บูร์กินาฟาโซ คูเวต และอินเดีย

การศึกษาของ IQAir พิจารณาเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ซึ่งเป็นสารก่อมลพิษที่เล็กที่สุดและอันตรายที่สุดเช่นกัน เมื่อสูดดม PM 2.5 เข้าร่างกายผ่านเข้าไปยังเนื้อเยื่อปอดและเข้าสู่กระแสเลือดได้

แหล่งที่มาของ PM 2.5 มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง พายุฝุ่น และไฟป่า ซึ่งจะกระทบต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ และโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ

ข้อมูลจากหน่วยงานของสหประชาชาติ ในปี 2559 มีผู้คนหลายล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหามลพิษทางอากาศ ในจำนวนนี้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรกว่า 4,200,000 คนเนื่องจากปัญหาฝุ่นพิษ

Glory Dolphin Hammes CEO ของ IQAir ระบุว่า สิ่งที่น่ากังวลคือหลายประเทศในโลกไม่ยอมลงทุนกับเครื่องมือตรวจวัดฝุ่นละอองที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ข้อมูลที่ได้คลาดเคลื่อนและนำไปสู่การกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อป้องกันสุขภาพประชาชนนั้นไม่ได้ผล

เราเก็บข้อมูลได้เพียง 19 จาก 54 ประเทศในทวีปแอฟริกา นั่นหมายความว่า ยังมีข้อมูลอีกมากที่เรายังไม่สามารถระบุได้อย่างแท้จริงว่า ประเทศหรือเมืองใดที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก

นอกจากนั้น นักวิจัยทั่วโลกระบุตรงกันว่า สาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศในปี 2565 คือ ไฟป่าและการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อการขนส่งและการผลิตพลังงาน แต่ก็ยอมารับว่าหากปราศจากพลังงานเหล่านี้ โลกก็ขับเคลื่อนได้ยาก

เรายังคงต้องพึ่งพาเชื้อเพลิง ทั้งการเผาถ่านหิน การเผาไหม้เชื้อเพลิงอื่นๆ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า เราก็เป็นผู้ก่อมลพิษให้กับโลกใบนี้เอง

CEO ของ IQAir ปิดท้ายว่า สิ่งสำคัญที่ต้องช่วยกันคือ เรียนรู้จากจากประเทศหรือพื้นที่ที่มีคุณภาพอากาศดี ประเทศเหล่านี้มีวิธีจัดการอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษและไปสู่รูปแบบพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และลม

ที่มา : CNN, IQAirฃ

อ่านข่าวรอบวันเพิ่ม :

"นักสืบฝุ่น" เผย DNA ต้นตอฝุ่นใน กทม.

โลกร้อน! ทำซากุระบานเร็วขึ้น ทุบสถิติอีกครั้ง

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง