ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สู้รบกระทบ 17 รพ.ใน 6 จังหวัด ปิดบริการ-เปิดเฉพาะฉุกเฉิน

สังคม
22:32
692
สู้รบกระทบ 17 รพ.ใน 6 จังหวัด ปิดบริการ-เปิดเฉพาะฉุกเฉิน
สธ.สรุปข้อมูลเหตุสู้รบไทย-กัมพูชา เปิดชื่อ รพ.ปิดบริการ-เปิดเฉพาะฉุกเฉิน อพยพพลเรือนนับแสนคนออกจากพื้นที่เสี่ยง

วันนี้ (26 ก.ค.2568) น.ส.ตรีชฎา ศรีธาดา โฆษกกระทรวงสาธารณสุขฝ่ายการเมือง รายงานข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบชายแดนไทย-กัมพูชาในส่วนของสถานบริการ โดยพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 จำนวน รพ.ได้รับผลกระทบ ได้แก่ อุบลราชธานี 3 แห่ง คือ รพ.นาจะหลวย เปิดเฉพาะฉุกเฉิน, รพ.น้ำขุ่น และ รพ.น้ำยืน ปิดให้บริการ ส่วนที่ จ.ศรีสะเกษ 2 แห่งคือ รพ.กันทรลักษณ์ และ รพ.ภูสิงห์ ปิดให้บริการ

พื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 จำนวน รพ.ได้รับผลกระทบ ได้แก่ จ.สุรินทร์ 5 แห่ง คือ รพ.บัวเชด, รพ.สังขะ และ รพ.ปราสาท เปิดเฉพาะฉุกเฉิน ส่วน รพ.กาบเชิง และ รพ.พนมดงรัก ปิดให้บริการ ขณะที่ จ.บุรีรัมย์ 2 แห่งคือ รพ.ประโคนชัย เปิดเฉพาะฉุกเฉิน และ รพ.บ้านกรวด ปิดให้บริการ

พื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 จำนวน รพ.ได้รับผลกระทบ ได้แก่ จ.ตราด 2 แห่ง คือ รพ.คลองใหญ่ และ รพ.บ่อไร่ เปิดเฉพาะฉุกเฉิน ส่วน จ.สระแก้ว 3 แห่งคือ รพ.ตาพระยา, รพ.โคกสูง และ รพ.คลองหาด เปิดเฉพาะฉุกเฉิน

สำหรับข้อมูลการอพยพผู้ป่วยในและพลเรือน แบ่งเป็นรายจังหวัดตาม รพ.ต่างๆ ที่รับดูแล ดังนี้ จ.อุบลราชธานี อพยพผู้ป่วยใน 22 คน อพยพพลเรือน 13,927 คน, จ.ศรีสะเกษ อพยพผู้ป่วยใน 204 คน อพยพพลเรือน 24,214 คน, จ.สุรินทร์ อพยพผู้ป่วยใน 209 คน อพยพพลเรือน 37,676 คน, จ.บุรีรัมย์ อพยพผู้ป่วยใน 56 คน อพยพพลเรือน 26,205 คน, จ.ตราด อพยพผู้ป่วยใน 15 คน อพยพลเรือน 5,318 คน, จ.สระแก้ว อพยพผู้ป่วยใน 52 คน อพยพพลเรือน 4,076 คน

สรุปผู้ป่วยในที่มีการอพยพ จำนวน 583 คน โดยมี รพ.ที่รับดูแล 28 รพ. และมีพลเรือนที่อพยพ จำนวน 111,416 คน

ข้อมูลศูนย์พักพิงชั่วคราว ได้รับรายงานล่าสุด จ.ศรีสะเกษ จำนวนศูนย์พักพิงมากที่สุด 159 จุด รองรับผู้อพยพยพจำนวน 93,184 คน จำนวนผู้อพยพภายในศูนย์ฯ ปัจจุบัน 24,214 คน, รองลงมา จ.อุบลราชธานี จำนวนศูนย์พักพิง 69 จุด รองรับผู้อพยพ 70,886 คน จำนวนผู้อพยพภายในศูนย์ฯ ปัจจุบัน 13,927 คน ขณะที่ จ.สุรินทร์ ตราดและสระแก้ว จำนวนศูนย์พักพิงและจำนวนผู้อพยพภายในศูนย์ฯ ปัจจุบันลดหลั่นกันลงมา สรุปแล้วใน 3 เขตสุขภาพ มีผู้อพยพภายในศูนย์ฯ ปัจจุบัน 93,006 คน สามารถรองรับผู้อพยพได้มากถึง 353,920 คน

อย่างไรก็ตาม กลุ่มเปราะบางในศูนย์พักพิงชั่วคราว มีผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก 0-5 ปี ผู้ป่วยฟอกไต ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ในเขตสุขภาพที่ 10, 9, 6 รวม 3 เขต ได้แก่ จ.อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์และตราด มีผู้เข้าอยู่ศูนย์พักพิงชั่วคราวทั้งสิ้่น 10,586 คน

ส่วนสถานการณ์เบื้องต้นของ จ.ตราด จากการสู้รบตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา โดย อ.คลองใหญ่ อ.บ่อไร่ และ อ.เมือง เป็นอำเภอเสี่ยงใกล้ชายแดน ห่างจากกัมพูชา 14 กม., 24 กม. และ 34 กม.ตามลำดับ พื้นที่ดังกล่าวมีโอกาสเกิดการปะทะได้ สสจ.ตราด จึงสั่งการให้ย้ายผู้ป่วยในจาก รพ.คลองใหญ่ และ รพ.บ่อไร่ ไปยัง รพ.ที่ปลอดภัย รวมถึงอพยพผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงและประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยง เมื่อวันที่ 25 ก.ค.ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังได้รับรายงานว่า การปะทะเกิดที่ ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด เมื่อช่วงเช้าวันที่ 26 ก.ค. จำนวน 2 ครั้ง ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยมี รพ.หลักคือ รพ.ตราด มีความพร้อมรองรับผู้ป่วย ขณะเดียวกันการตั้งศูนย์พักพิง สสจ.ตราด พร้อมเข้าไปช่วยเหลือดูแลประชาชนได้ทันทีหากจำเป็น

อ่านข่าว

เหตุชายแดนบาดเจ็บเพิ่ม 2 คน - รพ.เปิดเฉพาะฉุกเฉิน 10 แห่ง

ทภ.2 เผยกระสุน BM-21 รวม 28 นัดตกหลายตำบลในบุรีรัมย์

ตร.จับตาอินฟูลฯ ทำคอนเทนต์ปลุกปั่น-เปิดรับบริจาคลวง