พรรณไม้น่ารู้ ! Thai PBS Sci & Tech พาไปยลโฉมและทำความรู้จัก พรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย (endemic) “พรหมมาสตร์” หรือ Paraboea burttii Z. R. Xu วงศ์ Gesneriaceae มีเขตการกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ซึ่งจะมีความน่าสนใจอย่างไร ตามมาชมกันได้เลย
“พรหมมาสตร์” (ชื่อศรของพระพรหมที่พระรามได้ครอบครองและใช้ปราบพวกยักษ์) เป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 20 ซม. ใบเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากแนบชิดกัน รูปไข่ กว้าง 3-8 ยาว 7-15 ซม. ปลายมน โคนรูปลิ่มถึงรูปหัวใจตื้น ๆ ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ด้านบนมีขนสั้นนุ่ม ด้านล่างมีขนสีส้มอมน้ำตาลหนาแน่น ช่อดอกคล้ายช่อซี่ร่ม ออกตามซอกใบ แฉกกลีบเลี้ยงปลายม้วนกลับ กลีบดอกแยกเป็นซีกบน 2 แฉก ซีกล่าง 3 แฉก เกสรเพศผู้ 2 เกสร ฝักตรง เกลี้ยง ไม่บิดเป็นเกลียว
คำระบุชนิด “burttii” ตั้งให้เป็นเกียรติแก่อดีตนักพฤกษศาสตร์สวนพฤกษศาสตร์เอดินบะระ Brian Laurence Burtt (ค.ศ. 1913-2008) หรือ Bill Burtt ชื่อที่นักพฤกษศาสตร์ที่คุ้นเคยชอบเรียก ท่านเป็นผู้เริ่มต้นศึกษาพืชวงศ์ชาฤๅษีของไทยอย่างจริงจัง ข้อมูลที่ท่านตีพิมพ์ไว้เป็นพื้นฐานสำคัญทำให้นักพฤกษศาสตร์รุ่นหลังสานต่องานได้
พรรณไม้น่ารู้ Thai PBS Sci & Tech
📌อ่าน : ชวนรู้จัก “สิงโตนายสนิท” กล้วยไม้ป่าดิบเขาภาคเหนือไทย
📌อ่าน : พรรณไม้น่ารู้ ! “จำปีสิรินธร” พันธุ์ไม้ถิ่นเดียวและหายากของไทย
📌อ่าน : บานสะพรั่งรับลมร้อน “ดอกกุหลาบขาว” พันธุ์ไม้พื้นถิ่นบนเทือกเขาสูง
📌อ่าน : พรรณไม้น่ารู้ ! “หมักม่อ” ไม้ป่าดอกสวย ณ อุทยานแห่งชาติตาดโตน
📌อ่าน : พรรณไม้ไทย “แสมสาร” พฤกษศาสตร์โลกรู้จักมากกว่า 100 ปี
📌อ่าน : ชวนรู้จัก “ม่วงเทพรัตน์” ไม้มงคลพระราชทาน
🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS
ตัวอย่างต้นแบบ Bunnak 710 เก็บจากคีรีวง อุทยานแห่งชาติเขาหลวง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 1957 โดยนายบุญนาค สังขจันทร์ ผู้เก็บตัวอย่าง อาบน้ำยาพรรณไม้ อดีตเจ้าหน้าที่หอพรรณไม้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech